ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ Zoning by Agri-Map

16 ก.ค. 2567 | 14:05 น.
ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ  Zoning by Agri-Map

จ.นครราชสีมา โครงการบริหารจัดการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่การเกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ Zoning by Agri-Map

จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก หรือ Zoning by Agri-Map ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นการผลิตที่เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนการผลิตสถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา

 

โดยกรมพัฒนาที่ดิน เริ่มดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2562 กระจายไปทุกพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map คือพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ  Zoning by Agri-Map

และพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) รวมกว่า 21,800 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,500 ราย โดยคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมต้องอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมน้อยที่จะปลูกพืช เช่น ข้าว อ้อย เป็นต้น ซึ่งจะเป็นเจ้าของที่ดินเอง หรือเป็นของพ่อแม่ที่ยังไม่ได้รับโอน ก็สามารถให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเซ็นยินยอมเพื่อเข้าดำเนินการในพื้นที่

ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ  Zoning by Agri-Map

โดยกรมพัฒนาที่ดินจะดำเนินการสำรวจพื้นที่ปรับโครงสร้าง วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยหมัก และสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นแนวทางพัฒนาที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 

ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ  Zoning by Agri-Map
เกษตรกรต้นแบบโครงการฯ นายชุม ตะสูงเนิน อายุ  53 ปี ชาวตำบลหนองตะไก้ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ทำไร่ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการ Zoning by Agri-Map จำนวน 10 ไร่ จากที่ดินทั้งหมด 70 ไร่ ปี 2560 สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมาได้นำโครงการบ่อจิ๋ว เข้ามาสนับสนุนจากนั้นมีโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่และโครงการ Zoning by Agri-Map มาสนับสนุนเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ได้ให้ความรู้และการสนับสนุน นายชุมจึงทำปุ๋ยหมักจากใบไผ่ น้ำหมักขี้หมูจากหยวกกล้วยไว้ใช้เอง และเริ่มลดการใช้เคมีลงหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นทางใบ จากการสนับสนุนของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ได้เข้าร่วมโครงการ Zoning by Agri-Map ทำให้

  ผลิตสินค้าเกษตรเชิงรุก Agri-Map ถอดบทเรียนเกษตรกรต้นแบบ  Zoning by Agri-Map
นายชุม มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการทำการเกษตร เมื่อมีแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นก็สามารถต่อยอดการทำเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ เช่น ในร่องน้ำได้เลี้ยงปลาและปลูกกล้วยบนคันคู ปลูกผักสวนครัว ข่า ตะไคร้ ปลูกไม้ผล มะม่วง ลิ้นจี่ ท้อ ขนุน ละมุด ซึ่งได้ผลผลิตมาบริโภคในครัวเรือนและแจกจ่ายให้คนในชุมชน ความสำเร็จของนายชุมล้วนมาจากความขยันและความกล้าที่จะทำตามองค์ความรู้ที่ได้รับมาจากคำแนะนำ เมื่อเห็นผลก็ทำต่อ และต่อยอดไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทำให้การเข้าไปส่งเสริมในกิจกรรมพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามโครงการ Agri-Map จนประสบผลสำเร็จและเกิดประโยชน์

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"หวยฮานอยวันนี้" 25/3/68 ผลฮานอยวันนี้ หวยฮานอยวันนี้ออกอะไร

"หวยฮานอยวันนี้" 25/3/68 ผลฮานอยวันนี้ หวยฮานอยวันนี้ออกอะไร

พบคน 2 ราศี ดวงเริ่มมีข่าวดีเกิดขึ้นในช่วงนี้ มีคำแนะนำ

พบคน 2 ราศี ดวงเริ่มมีข่าวดีเกิดขึ้นในช่วงนี้ มีคำแนะนำ

สื่อถึงใคร "เบล บุษยา" ฟาดเดือด เวรกรรมมีจริง ทำอะไรไว้ได้แบบนั้น

สื่อถึงใคร "เบล บุษยา" ฟาดเดือด เวรกรรมมีจริง ทำอะไรไว้ได้แบบนั้น

สีเสื้อต้องเลี่ยง 26 มีนาคม 2568 วันพุธควรเลี่ยงเสื้อสีอะไร

สีเสื้อต้องเลี่ยง 26 มีนาคม 2568 วันพุธควรเลี่ยงเสื้อสีอะไร

บัตรคนจนระบบรัฐยังไม่นิ่ง คนไทยงง รายเก่าได้สิทธิถึงไหน?

บัตรคนจนระบบรัฐยังไม่นิ่ง คนไทยงง รายเก่าได้สิทธิถึงไหน?