วันสุดท้าย ลงทะเบียน "ประกันสังคม" ม.40 www.sso.go.th รับเงินเยียวยา 5,000

30 กรกฎาคม 2564

ประกันสังคม แจกเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน มาตรา 333 39 40 ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด 9 กลุ่มอาชีพ โดยแรงนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้

หลังจากที่มีการประกาศสั่งล็อกดาวน์ ก็ได้มีมาตรการแจกเงินเยียวยา ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในระบบประกันสังคมผู้ประกันตน มาตรา 33 39 40 โดยมีเงื่อนไขการเยียวยาผู้คือ 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม 9 กลุ่มอาชีพ โดยประกันสังคมให้ผู้ที่เป็นแรงงานนอกระบบและผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 โดยรีบสมัครภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ และจ่ายเงินสมทบถายในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ 

โดยสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือช่องทางที่ประกันสังคมกำหนด เช่น บิ๊กซี , 7-11 , ธนาคารธ.ก.ส. เป็นต้น

สมัคร ม.40

 

 

โดยพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดมีดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร
2.นครปฐม
3.นนทบุรี
4.ปทุมธานี
5.สมุทรปราการ
6.สมุทรสาคร
7.นราธิวาส
8.ปัตตานี
9.ยะลา
10.สงขลา
11.อยุธยา
12.ชลบุรี
13.ฉะเชิงเทรา

9 กลุ่มอาชีพมีดังนี้
1.ก่อสร้าง
2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์
8.กิจกรรมทางวิชาการ
9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

 

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบ
- 5% ของเงินเดือนสูงสุไม่เกิน 750 บาท/เดือน
 
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 2500 บาท ในกรณีที่บริษัทได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล รับเพิ่ม 50% ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ไม่เกิน 90 วัน
 
วิธีการสมัคร
- นายจ้างดำเนินการให้

มาตรา 39 คือ คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ แล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

เงินสมทบ
- 432 บาท/เดือน

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำงานไม่มีนายจ้าง
- จ่ายเงินสมทบ

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
 
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

ส่วนวันที่จะได้รับเงินของผู้กระกันตน มาตรา 33 นั้น สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ www.sso.go.th
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 9 กลุ่มอาชีพ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่ถูกล็อกดาวน์ช่วงแรก ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร  นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ได้รับเงิน วันที่ 6 สิงหาคม 2564 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้ที่ www.sso.go.th 
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 3 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ที่ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มเติม คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ได้รับเงินเยียวยาภายในเดือน สิงหาคม 2564

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน

ตรวจสอบสิทธิ ม.33

อ่านข่าวเพิ่มเติม :

- แนะวิธี ผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 www.sso.go.th
- คลายข้อสงสัย ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต่างกันอย่างไร