ไขข้องข้องใจ ความแตกต่าง 3 ทางเลือก ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.40 รีบลงทะเบียน

29 กรกฎาคม 2564

ประกันสังคมแจกเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด 9 กลุ่มอาชีพ

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้วสำหรับการลงทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท สำหรับแรงงานนอกระบบหรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ โดยมีทางเลือกจ่ายเงินสมทบ 3 ทาง โดยแต่ละทางนั้นก็จะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกันดังนี้

 

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครง

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

ม.40

 

โดยผู้ที่สนใจลงทะเบียนประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องเป็นผู้ที่อยู่ใน 13 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม 1.กรุงเทพมหานคร 2.นครปฐม 3.นนทบุรี 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.นราธิวาส 8.ปัตตานี 9.ยะลา 10.สงขลา 11.อยุธยา 12.ชลบุรี 13.ฉะเชิงเทรา และ 9 กลุ่มอาชีพ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ 8.กิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

โดยสมัครได้ทางออนไลน์ www.sso.go.th หรือตามช่องทางต่างๆที่ประกันสังคมกำหนด Big C , 7-11 , ธนาคารธกส. ทุกสาขา เป็นต้น  โดยต้องรีบสมัครภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
-ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย
ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

ทางเลือกที่ 1
จ่าย70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่าย 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่าย300 บาท/เดือน

หลักฐานการสมัคร
ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

อ่านข่าวเพิ่มเติม : 
- ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ประสังคม ผ่าน www.sso.go.th ม.33 ม.39 ม.40
- แนะวิธี ผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 www.sso.go.th
- คลายข้อสงสัย ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต่างกันอย่างไร

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน