อาหาร อาหาร

heading-อาหาร อาหาร

มีดีมากว่าความอร่อย "มะเขือม่วง" ประโยชน์จุกๆ ดีต่อสุขภาพ

08 พ.ค. 2567 | 20:00 น.
มีดีมากว่าความอร่อย "มะเขือม่วง" ประโยชน์จุกๆ ดีต่อสุขภาพ

ทางทำกินรวมประโยชน์ของ "มะเขือม่วง" มีดีมากกว่าความอร่อย ประโยชน์ล้นๆจุกๆดีต่อสุขภาพ ต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

คนชอบมะเขือม่วงต้องรัก ทางทำกินรวมประโยชน์สุดยอดของมะเขือม่วง ผักแสนอร่อยเอาไปทำเมนูอาหารได้หลากหลาย ทั้งทอด ผัด ลวก ย่าง แต่รู้ไหมว่านอกจากความอร่อยแล้วมะเขือม่วงยังมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอีกเยอะมากแถมหลายๆคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

 

มีดีมากว่าความอร่อย มะเขือม่วง ประโยชน์จุกๆ ดีต่อสุขภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของมะเขือม่วง ทำกินก็อร่อยแถมยังดีต่อสุขภาพ

1.อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

มะเขือม่วงอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ อย่างใยอาหาร โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินบี 6 และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เช่น แอนโทไซยานิน ดังนั้น การบริโภคมะเขือม่วง จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของมะเขือม่วงสดและมะเขือม่วงที่ปรุงแล้วต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เผยแพร่ในวารสาร Food & Function ปี พ.ศ. 2554 นักวิจัยให้สัตว์ทดลองบริโภคมะเขือม่วงแช่แข็ง โดยกลุ่มที่หนึ่งบริโภคแบบไม่ผ่านกรรมวิธีทำให้สุกและกลุ่มที่สองบริโภคแบบย่างแล้ว เป็นเวลา 30 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง จึงทดสอบสุขภาพหัวใจของสัตว์ทดลองทั้งสองกลุ่ม พบว่า สารอาหารในมะเขือม่วงช่วยส่งเสริมให้หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายรวมถึงช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายน้อยลงจากภาวะขาดเลือด

ทั้งนี้ นักวิจัยยังเสริมว่าการบริโภคมะเขือม่วงทั้งแบบย่างและแบบไม่ผ่านกรรมวิธีปรุงให้สุก มีประสิทธิภาพต่อการทำงานของหัวใจไม่ต่างกัน แม้ว่าจะมีระดับของสารอาหารบางอย่างที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการทดสอบในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการบริโภคมะเขือม่วงอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจในมนุษย์

 

มีดีมากว่าความอร่อย มะเขือม่วง ประโยชน์จุกๆ ดีต่อสุขภาพ
 

2.อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

มะเขือม่วงมีสารประกอบอย่างโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และส่งเสริมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ดังนั้น การบริโภคมะเขือม่วงจึงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปได้

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารประกอบฟีนอลในมะเขือม่วง ต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตีพิมพ์ในวารสาร Bioresource Technology ปี พ.ศ. 2553 อ้างอิงจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้น ระบุว่า สารสกัดมะเขือม่วง มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา กลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายแป้งในอาหารเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น การบริโภคมะเขือม่วงที่มีสารประกอบฟีนอลจึงอาจช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหลังมื้ออาหารได้

นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอล ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบในระดับเซลล์ด้วย

3.อาจช่วยต้านมะเร็ง

สารแอนโทไซยานินและกรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) ในมะเขือม่วง มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้เสียหายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคมะเร็ง ดังนั้น การบริโภคมะเขือม่วงเป็นประจำจึงอาจช่วยลดโอกาสเกิดเนื้อร้ายรวมถึงลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของมะเขือม่วง ในการป้องกันดีเอ็นเอ (DNA) เสียหายและกลายพันธุ์ เผยแพร่ในวารสาร Mutation Research ปี พ.ศ. 2562 นักวิจัยได้ทดสอบคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมะเขือม่วง 6 ชนิด ในตัวอ่อนแมลงและเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) ของมนุษย์ พบว่า สารสกัดมะเขือม่วงมีคุณสมบัติป้องกันดีเอ็นเอเสียหายจากอนุมูลอิสระ ดังนั้น การบริโภคมะเขือม่วงจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง ได้

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ควรมีการทดสอบในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการบริโภคมะเขือม่วงอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งในมนุษย์ได้

4.อาจช่วยบำรุงสายตา

มะเขือม่วงมีสารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งต่างมีคุณสมบัติช่วยป้องกันดวงตาเสียหายจากคลื่นแสงพลังงานสูงอย่างรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงอาทิตย์ โดยมะเขือม่วงปรุงสุก 100 กรัม มีสารลูทีนและซีแซนทีนอยู่ประมาณ 37 ไมโครกรัม นอกจากนี้ งานวิจัยหลายชิ้นยังสนับสนุนว่า ปริมาณของลูทีนและซีแซนทีนในเนื้อเยื่อดวงตา สัมพันธ์กับคุณภาพสายตา โดยเฉพาะความสามารถในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในที่แสงน้อย


งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของลูทีน ซีแซนทีน และเบตาแคโรทีน (Beta-Carotene) ต่อสุขภาพของดวงตาและโรคเกี่ยวกับดวงตา ตีพิมพ์ในวารสาร Antioxidants ปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า ลูทีนและซีแซนทีน มีคุณสมบัติช่วยรักษาสุขภาพสายตา ป้องกันภาวะเครียดออกซิเดชันที่ก่อให้เกิดภาวะตาอักเสบ ช่วยป้องกันเลนส์ตาและจอรับภาพเสียหายจากการเผชิญกับแสง รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อกระจก โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังระบุว่า เมื่อบริโภคมะเขือม่วงที่มีสารเบตาแคโรทีน ร่างกายจะเปลี่ยนสารดังกล่าวเป็นวิตามินเอ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมระบบการทำงานของดวงตาและอวัยวะต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้ด้วย

 

มีดีมากว่าความอร่อย มะเขือม่วง ประโยชน์จุกๆ ดีต่อสุขภาพ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ดวงวันนี้ 24 ม.ค. 68 การเงิน การงาน ความรัก เป็นอย่างไร

ดวงวันนี้ 24 ม.ค. 68 การเงิน การงาน ความรัก เป็นอย่างไร

เจ้าหมูแดง จากตลาดย่าโมสู่พระเมตตา สุนัขผู้ซื่อสัตย์แห่งโคราช

เจ้าหมูแดง จากตลาดย่าโมสู่พระเมตตา สุนัขผู้ซื่อสัตย์แห่งโคราช

ไม่รอด หนุ่มขับรถเบนซ์หรู G63 โดนรวบกลางถนน หลังมีพิรุธ คนขับสารภาพสิ้น

ไม่รอด หนุ่มขับรถเบนซ์หรู G63 โดนรวบกลางถนน หลังมีพิรุธ คนขับสารภาพสิ้น

พบแล้ว "น้องอัษ" เด็กชายที่หายจากบ้านนาน 5 ปี แม่ร่ำไห้ได้เจอลูกชายอีกครั้ง

พบแล้ว "น้องอัษ" เด็กชายที่หายจากบ้านนาน 5 ปี แม่ร่ำไห้ได้เจอลูกชายอีกครั้ง

เปิดภาพ ลัมโบร์กินี CEO หนุ่ม ซิ่งชนกระบะพังยับ คนขับล่องหนทิ้งเงินเป็นปึก

เปิดภาพ ลัมโบร์กินี CEO หนุ่ม ซิ่งชนกระบะพังยับ คนขับล่องหนทิ้งเงินเป็นปึก