แนวทางการกำจัดวัชพืชในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้แนะวิธีการกำจัดวัชพืชในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ด้านศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้แนะวิธีการกำจัดวัชพืชให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องบอกว่าวัชพืชที่ขึ้นในแปลงข้าวโพดจะมี 2 แบบคือ วัชพืชฤดูเดียวและวัชพืชข้ามปี
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง และหญ้าดอกขาว เป็นต้น
- ประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักบุ้งยาง ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ สะอึก เทียนนา และกะเม็ง เป็นต้น
- ประเภทกก เช่น กกทราย
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนติด หญ้าแพรก และหญ้าชันกาด เป็นต้น
- ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสือ และเถาตอเชือก เป็นต้น
- ประเภทกก เช่น แห้วหมู
การป้องกันกำจัด
– ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
– กำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่อข้าวโพดอายุ 20-25 วันก่อนใส่ปุ๋ย
– ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอควรใช้สารกำจัดวัชพืช ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1/ ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารกำจัดวัชพืช
2/ ใช้น้ำอัตรา 80 ลิตรต่อไร่
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยทิพย์

"ส.ป.ก." ประชุมเตรียมความพร้อม Kick off มอบโฉนดต้นไม้และโฉนดต้นยางพารา

เปิดดวง 3 ราศีสุดปัง! เตรียมรับทรัพย์ โชคลาภวิ่งเข้าหา

เปิดดวง 6 ราศี ราหูย้ายโชคพุ่งเข้า ดวงได้ของใหญ่ พฤษภาคมนี้

ภารกิจยังไม่จบ ตึก สตง. ถล่ม ล่าสุด พบอีก 5 ร่าง ลุยค้นหาไม่หยุด
