ควันหลง APEC ถอดแนวคิดธุรกิจไทย

06 ธันวาคม 2565

ควันหลง APEC ถอดแนวคิดธุรกิจไทย กลุ่ม ปตท. ได้ผนึกกำลังแสดงศักยภาพไทย ชูแนวคิดพลังงานอนาคต ขับเคลื่อนนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม สร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล ภายใต้แนวคิด "Igniting Life’s Potential" จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต

    ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ การประชุม APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาซึ่งในงานนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ พร้อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในการเปิดบ้านต้อนรับผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก


โดยได้มีการรับรองปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสะท้อนผลสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปค2565 ของไทย

   กลุ่ม ปตท. ได้ผนึกกำลังแสดงศักยภาพไทย ในการประชุม APEC 2022 ชูแนวคิดพลังงานอนาคต ขับเคลื่อนนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม สร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล ร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด "Igniting Life’s Potential" จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต 


   ใน 4 แนวคิดหลัก สะท้อนศักยภาพด้านพลังงานแห่งอนาคต และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงชีวิตผู้คนในหลายมิติ พร้อมเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย


แนวคิดที่ 1 Power Innovation and Living Solution  


ทิศทางพลังงานแห่งอนาคต มุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม รับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ผ่านการดำเนินธุรกิจ EV Ecosystem ครบวงจร ภายใต้ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ดำเนินธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้า และสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร อาทิ EVmeแพลตฟอร์มบริการเช่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรรายแรกในประเทศไทย on-ion ผู้ให้บริการธุรกิจสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และ NUOVO PLUS ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออนฟอสเฟต ภายใต้แบรนด์ G-Cell ด้วยนวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่ Semi Solid แห่งแรกของไทยและภูมิภาคอาเซียน รวมถึง Swap and Go แพลตฟอร์มธุรกิจผู้ให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ 


    นอกจากนี้ แสดงความพร้อมส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโครงการ WangChan Valley (วังจันทร์วัลเลย์) จ.ระยอง เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต ในแนวคิด Smart Natural Innovation Platform เมืองอัจฉริยะ ในพื้นที่ยุทธศาสตร์เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อผลักดันประเทศไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ และพัฒนานวัตกรรมเฉพาะด้าน โดย กลุ่ม ปตท. และพันธมิตรด้านนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ วางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสาธารณูปโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงาน และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

แนวคิดที่ 2 Fostering Wellness 

    การดำเนินธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ผ่านการวิจัย พัฒนาสินค้า และบริการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ด้วยธุรกิจใหม่ ภายใต้บริษัท Innobic Asia เพื่อเป็นแกนนำด้าน Life Science ต่อยอดความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ มาสู่ธุรกิจด้านสุขภาพ มุ่งเน้นธุรกิจด้าน Pharmaceutical การวิจัยพัฒนายา วัคซีน และโมเลกุลมณีแดง Nutrition การผลิตพืชสมุนไพรไทยเพื่อต่อยอดในธุรกิจอาหาร การลงทุนในธุรกิจอาหารทางเลือก Plant Based Food ภายใต้แบรนด์ alt. และ Medical Device & Technology การวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น วัสดุปิดแผลภายใต้แบรนด์ Inaquaหรือ ผลิตภัณฑ์ หน้ากากอนามัย IniCare

 

ควันหลง APEC ถอดแนวคิดธุรกิจไทย


นอกจากนี้ นำเสนอแนวคิดการต่อยอดใช้องค์ความรู้สร้างมูลค่าเพิ่มจากพลังงานและวัสดุหมุนเวียน ทั้งการนำความเย็นจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ในการผลิตมาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว สตรอว์เบอร์รี Harumikiการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์จากการแปรรูปเยื่อกาแฟและของเหลือใช้ สู่สินค้าภายใต้แบรนด์ moreสร้างอนาคตวัสดุหมุนเวียนที่ช่วยลดภาระสิ่งแวดล้อมโลก 
 

แนวคิดที่ 3 Innovate Low Carbon Society  


ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างพื้นที่สีเขียว แสดงเจตนารมณ์มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดย กลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าหมายบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ พร้อมผลักดันการดำเนินธุรกิจมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการปลูกป่าเพื่อเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกทางธรรมชาติ โดยในนิทรรศการได้มีกิจกรรมให้ความรู้การปลูกป่า เมล็ดพันธุ์ไม้ พร้อมเรียนรู้เรื่องราวของต้นไม้แต่ละชนิดด้วยตนเอง ผ่านการสแกน QR Code   


แนวคิดที่ 4 Advancing Future Capabilities for All 


    แนะนำโครงการ “นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.” พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน และสร้างความเข้มแข็งชุมชน ส่งเสริมภาคการเกษตรของชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ยกระดับไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรม กลุ่ม ปตท. มาใช้ การเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตผ่านกระบวนการแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาช่องทางตลาด (Smart Marketing) และการส่งเสริมคุณค่าทรัพยากรในท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยวชุมชน (Community-Based Tourism) เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชุมชน ใน 48 ชุมชนนำร่อง รวม 29 จังหวัดทั่วประเทศ


    นอกจากแนวคิดสำคัญที่มุ่งสะท้อนทิศทางพลังงานแห่งอนาคต และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงชีวิตของคนไทย แสดงศักยภาพประเทศไทยในมิติต่างๆที่จัดแสดงแล้ว กลุ่ม ปตท. ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยใช้วัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสามารถหมุนเวียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ รวมถึงการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงสุดอีกด้วย

 

ควันหลง APEC ถอดแนวคิดธุรกิจไทย

 

   นอกจากนี้ทางปตท. ได้เข้าร่วมงาน APEC CEO SUMMIT 2022 แสดงวิสัยทัศน์องค์กร สะท้อนศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน 


   โดยนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ร่วมพิธีเปิดงาน APEC CEO SUMMIT 2022 การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค ภายใต้แนวคิด “EMBRACE ENGAGE ENABLE”

 


    ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 เพื่อเป็นโอกาสให้ภาคเอกชนชั้นแนวหน้าของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคร่วมแสดงวิสัยทัศน์แลกเปลี่ยนความคิด การบูรณาการทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และสังคมในระดับภูมิภาค นำไปสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน 

 


    นายอรรถพล ได้แสดงเจตนารมณ์ถึงการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน สะท้อนทิศทางพลังงานแห่งอนาคต สนับสนุนนโยบายภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้า และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนไทย ด้วยธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงาน มุ่งลงทุนในธุรกิจยา อาหาร โภชนาการ และเครื่องมือทางการแพทย์ 


   ตลอดจนธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี พร้อมตั้งเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2050 เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG อันเป็นแนวคิดสำคัญของการประชุมเอเปคซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้