17 ตุลาคม ปิดตำนาน 72 ปี กับหน้าที่ผู้พิทักษ์บนชานชลา

16 ตุลาคม 2566

ประกาศราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ปิดตำนาน "ตํารวจรถไฟ" 72 ปี กับผู้พิทักษ์บนชานชลา ยุติการปฏิบัติหน้าที่ 17 ตุลาคม นี้

     เพจเฟซบุ๊กสํานักงานตํารวจแห่งชาติได้โพสต์ข้อความระบุว่า วันที่ 17 ตุลาคมนี้ "ตำรวจรถไฟ" จะยุติปฏิบัติหน้าที่ โดยการยุบเลิกตำรวจรถไฟ เพื่อเป็นไปตามแนวทางการปรับโครงสร้างตำรวจ ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565

  17 ตุลาคม ปิดตำนาน 72 ปี กับหน้าที่ผู้พิทักษ์บนชานชลา
   

      กองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และดูแลความปลอดภัยในเขตพื้นเกี่ยวเนื่องกับการรถไฟแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ 

 

    ตำรวจรถไฟ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2437 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อ "กองตระเวนรักษาทางรถไฟ" 

 

17 ตุลาคม ปิดตำนาน 72 ปี กับหน้าที่ผู้พิทักษ์บนชานชลา

  • พ.ศ.2491-2494 ได้มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สินและชีวิต ของประชาชนที่โดยสารรถไฟ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็น "กองตำรวจรถไฟ" ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชน

 

  • พ.ศ.2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองบังคับการตำรวจรถไฟ"  กองบังคับการตำรวจรถไฟ ทำหน้าที่ร่วมกับพนักงานการรถไฟฯ อยู่เคียงข้างในการให้บริการประชาชน ดูแลรักษาความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสถานีทุกแห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีสถานีตำรวจรถไฟตั้งอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ อาทิ สถานีตำรวจรถไฟนพวงศ์ สถานีตำรวจรถไฟมักกะสัน สถานีตำรวจรถไฟหัวหิน สถานีตำรวจรถไฟหาดใหญ่ สถานีตำรวจรถไฟหนองคาย ฯลฯ  

 

  • พ.ศ.2565 วันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีประกาศราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มีผลให้กองบังคับการตำรวจรถไฟจะถูกยุบเลิก โดยข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจรถไฟจะได้รับการแต่งตั้งแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป