ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

09 มกราคม 2566

"ลลิล พร็อพเพอร์ตี้" ประกาศแผนธุรกิจปี 66 มีปัจจัยสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐลดค่าโอน-จำนองที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท ถึงสิ้นปี66 กระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังโควิด-19


   จากการประกาศลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนอง บ้านและคอนโดฯ ราคา ไม่เกิน 3 ล้าน ช่วยลดภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ล่าสุดราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ที่ดิน และคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีผลบังคับใช้ถึง 31 ธ.ค.2566 เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังโควิด -19
 


  ซึ่งทาง“ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” ประกาศแผนธุรกิจปี 66 รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่อง 10 – 12โครงการ มูลค่า 7,000 – 8,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้ายอดขาย8,600 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้6,850 ล้านบาท มุ่งเน้นการบริหารเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหลัก ESG มุ่งสู่การเป็น National Housing Company และผู้นำของตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบของประเทศ

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

  โดยปี2566นี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทถึงสิ้นปี 2566 รวมถึงการฟื้นตัวของลูกค้าที่ทำงานในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง
1.ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 1
2.ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) ในคราวเดียวกัน ร้อยละ 0.01

 

  นอกจากนี้ ยังมีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายห้องชุด เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ.2565


  โดย นายไชยยันต์ ชาครกุลประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) (Mr.ChaiyanChakarakul, Chairman of Executive Board, Lalin Property Plc.) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากว่า 30 ปี กล่าวถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2565ที่ผ่านมาว่าเป็นปีที่ความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ค่อยๆ คลี่คลาย จากการที่คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน ติดเชื้อ จนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ การติดเชื้อมักมีอาการที่ไม่รุนแรง  ทำให้หลายประเทศเริ่มทยอยดำเนินนโยบายผ่อนคลายต่างๆ

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินได้ตามปกติ  อย่างไรก็ตามในปี 2565 ที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์  การแย่งชิงความเป็นผู้นำโลกของประเทศมหาอำนาจ  ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี   นอกจากนี้ยังเป็นปีที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นทั่วโลก ซึ่งสูงที่สุดในรอบหลายสิบปี  จนทำให้หลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  โดย FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 7 ครั้ง รวม 4.25%  มาอยู่ที่ระดับ 4.25%-4.50% ณ สิ้นปี 2565

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

 ซึ่งเป็นการขึ้นที่เร็วและแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน  รวมถึงธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศ ต้องดำเนินนโยบายในรูปแบบเดียวกัน เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  อันนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นที่ทั่วโลกจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

ในแง่ของเศรษฐกิจไทย ในปี 2565 ได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการเปิดประเทศช่วงกลางปี  การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ ของภาครัฐ และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง  

 

สำหรับในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะขยายตัวได้ราว 3.6 – 4.0%  อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง ทั้งความไม่แน่นอนภายในประเทศและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่จะเกิด Recession ของเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ  ความเสี่ยงที่เกิดจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์   ในขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ยังอ่อนแอ  ภาระหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ยความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์  ซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในปี 2566 นี้    

 

อย่างไรก็ดีภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทถึงสิ้นปี 2566รวมถึงการฟื้นตัวของลูกค้าที่ทำงานในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

ทั้งนี้มองว่าแม้สภาวะเศรษฐกิจ และสภาวะอุตสาหกรรมในปี 2566นี้จะยังไม่เอื้ออำนวยมากนัก แต่บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในแผนการดำเนินธุรกิจ  การบริหารงาน และความเชี่ยวชาญของบริษัท  จึงมั่นใจว่าจะสามารถขยายตัวได้  เดินหน้าสู่การเป็น National Property Company โดยตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมอีก 10 – 12 โครงการ มูลค่ารวม 7,000 – 8,000 ล้านบาท  และตั้งเป้าหมายยอดขายสำหรับปี 2566 นี้ไว้ที่ 8,600 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 6,850 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายตัว10% สูงกว่าภาพรวมตลาดที่คาดว่าจะขยายตัวราว 3-5%

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

ด้านนายชูรัชฏ์ ชาครกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) (Mr. ChuratChakarakul, Managing Director, Lalin Plc.)กล่าวว่าลลิลฯ มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีการบริหารงานที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม  สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG)

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

รวมถึงการมุ่งเน้นไปสู่การเป็น Digital Organization อย่างเต็มรูปแบบควบคู่ไปกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของลลิลฯให้เป็นองค์กรที่รู้รอบแบบเจาะลึก มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  เสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนในองค์กร ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ รู้กว้าง คิดไกล อยู่กันด้วยความเข้าใจ เพื่อสร้างความแข็งแรงจากภายใน มุ่งสู่การเป็น National Property Company ตามเป้าหมายที่ได้วางร่วมกัน

 

สำหรับแผนการตลาด ในปี 2566นี้ จะใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้น Customer Centric ผ่านกลยุทธ์ทั้งLifestyle Marketing และ Experience Marketing โดยต่อยอดการทำตลาดผ่านช่องทางDigital ที่เพิ่มมากขึ้น  เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น  โดยนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์หา Customer Insights   ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับตลาดที่อยู่อาศัยในกลุ่มที่เป็น Real Demand   โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในรูปแบบของ New Design และ Smart Function ของตัวบ้าน

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ รุกเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่องปี66 ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐลดค่าโอน-จำนอง

  โดยช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทเป็นรายแรกที่นำรูปแบบความงดงามของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่เรียบหรู มาออกแบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสแบบ French Colonial Styleบนทำเลศักยภาพในราคาที่คุ้มค่า และจับต้องได้


ในส่วนของสถานะการเงินบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งอย่างมาก โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.55เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่1.4 – 1.5 เท่า  โดยในปี 2566นี้ บริษัทฯ ได้จัดเตรียมงบประมาณในการซื้อที่ดินไว้ประมาณ 1,500 – 1,600 ล้านบาท และพร้อมปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจตามแผนงาน และการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ