อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ?

10 พฤศจิกายน 2565

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ? สำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติอุทกภัย สําหรับพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังให้เตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อที่จะสามารถดําเนินการตามขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือได้ทันที

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ? ข้อมูลจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ซึ่งล่าสุด  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติอุทกภัย ตามระเบียบ กระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปล็กย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กําชับและสั่งการให้หน่วยงานเร่งรัดสํารวจความเสียหายทันทีหลังน้ำลด สําหรับพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังให้เตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อที่จะสามารถดําเนินการตามขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือได้ทันที

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ?

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ?

 

ด้านพืช เกษตรกรได้รับผลกระทบ 644,537 ราย พื้นที่ได้ รับผลกระทบ 5,480,553 ไร่ แบ่งเป็น 
- ข้าว 3,598,600 ไร่ 
- พืชไร่และพืชผัก 1,794,655 ไร่ 
- ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่น ๆ 83,298 ไร่ 

สํารวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 2O6,966 ราย พื้นที่ 1899,894 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,389,406 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 500,681 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 9,80% ไร่ คิดเป็นเงิน 2,892.85 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 1,552 ราย พื้นที่ 5,389 ไร่ วงเงิน 9.63 ล้านบาท

ด้านประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 31,153 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ 42,106 ไร่ แบ่งเป็น 
- บ่อปลา 33,662 ไร่ 
- บ่อกุ้ง 4,444 ไร่ กระชัง 53,812 ตร.ม. 

สํารวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 2,400 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ได้รับความเสียหาย 2,637 ไร่กระชัง 164 ตร.ม. คิดเป็นเงิน 13.10 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 461 ราย พื้นที่ 473 ไร่ กระชัง 150 ตร.ม. วงเงิน 2.73 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 83,660 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 8,328,100 ตัว แบ่งเป็น 
- โค 230,712 ตัว 
- กระบือ 56,242 ตัว
- สุกร 60,233 ตัว 
- แพะ/แกะ 25,648 ตัว 
- สัตว์ปีก 3,955,261 ตัว 
- แปลงหญ้า 4,435 ไร่ 

อยู่ระหว่างสํารวจความเสียหาย
 

การให้ความช่วยเหลือ 1. กรมชลประทาน ดําเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 427 เครื่อง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 480 เครื่อง และเครื่องจักรอื่น ๆ 20 เครื่อง 2. กรมปศุสัตว์ ดําเนินการอพยพสัตว์ 2,292,700 ตัว แจกจ่ายหญ้าพระราชทาน 1,183.4% ตัน อาหาร TMR 6.50 ตัน ชุดส่งเสริมสุขภาพสัตว์ 32,903 ชุด รักษาสัตว์ 2,858 ตัว และสนับสนุนถุงยังชีพสัตว์ 3,161 ชุด 3. กรมประมง สนับสนุนเรือตรวจการ 45 ลํา รถยนต์ 2 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ 395 นาย 4. กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 จํานวน 129,356 ลิตร 5. กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนเชื้อไตรโคเดอร์มาพร้อมใช้ 2,152 กิโลกรัม นําไปใช้ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 17,152 ไร่

คุณสมบัติเกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือ 
1. เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่การผลิตเสียหายสิ้นเชิงอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 
2. เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนเกิดภัย

หลักเกณฑ์/เงื่อนไข การได้รับเงินช่วยเหลือ
ด้านปศุสัตว์ • โค ตัวละ 13,000-35,000 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ตัว) 
• ควาย ตัวละ 15,000-39,000 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ตัว) 
• สุกร ตัวละ 1,500-3,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว) 
• แพะ/แกะ ตัวละ 1,500-3,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว) 
• ไก่พื้นเมือง/ไก่งวง ตัวละ 30-80 บาท (ไม่เกินรายละ 300 ตัว) 
• ไก่ไข่/เป็ดไข่ ตัวละ 30-100 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว) 
• ไก่เนื้อ ตัวละ 20-50 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว)
 • เป็ดเนื้อ/เป็ดเทศ ตัวละ 30-80 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว) 
• ห่าน ตัวละ 100 บาท (ไม่เกินรายละ 300 ตัว) 
• นกกระทา ตัวละ 10-30 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว) 
• นกกระจอกเทศ ตัวละ 2,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว)

ด้านพืช ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ 
• ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท 
• พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท 
• ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท

ด้านสัตว์น้ำ (ประมง) 
• ปลาทุกชนิด/สัตว์น้ำอื่น ไร่ละ 4,682 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ไร่)
 • กุ้ง/หอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ไร่) 
• กระชัง/บ่อซีเมนต์ ตร.ม. ละ 368 บาท (ไม่เกินรายละ 80 ตร.ม.),

ด้านอื่น ๆ
• ช่วยเหลือค่าขนย้ายดินโคลน ไม่เกิน 35,000 บาท/ราย 
• ช่วยเหลือค่าปรับเกลี่ยพื้นที่ เหมาจ่าย 800 บาท/ไร่ 
• ช่วยเหลือค่าปรับพื้นที่ทํานาเกลือ ไร่ละ 1,220 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ 
• ช่วยเหลือค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกิน 11,400 บาท/ครัวเรือน 
• ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมคอกสัตว์/โรงเรียน/กุ้งข้าว ครัวเรือนละไม่เกิน 5,900 บาท

สามารถติดตามเงินเยียวยาและสอบถามรายละเอียดความคืบหน้าการช่วยเหลือ ได้ที่สํานักงานเกษตรจังหวัด สํานักงานประมงจังหวัด สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดฯในพื้นที่ ทั่วประเทศ โทรศัพท์ 02-2819401

ที่มา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ?

อัปเดตล่าสุด "เงินช่วยเหลือเกษตรกร" เช็กรายละเอียดได้ที่นี่ ?