ชุมชนยั่งยืน

heading-ชุมชนยั่งยืน

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

27 ก.พ. 2567 | 13:56 น.
ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

เปิดเเล้ว! ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้ ให้บริการแบบครบวงจร ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ การประกอบ การซ่อม และการให้บริการการบินโดรนเพื่อการเกษตร ตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จ.ชุมพร และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ร่วมเปิด"ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตรต้นแบบแห่งแรก" ณ จังหวัดชุมพร โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ วัชรินทร์พร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน  นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน และนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวนให้การต้อนรับ ณ วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จ.ชุมพร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

วช. สนับสนุนยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตร

     ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร มาใช้ยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยใช้กลไกการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษต เป็นต้นแบบ ณ วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จ.ชุมพร

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

ความร่วมมือสร้างต้นแบบศูนย์แห่งแรกของภาคใต้ 

     การดำเนินงานในครั้งนี้  วช.ได้สนับสนุนให้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับและวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ที่วิทยาลัย จะเป็นต้นแบบศูนย์แห่งแรกของภาคใต้ ที่ให้บริการแบบครบวงจร อาทิ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การประกอบ การซ่อม และการให้บริการการบินโดรนเพื่อการเกษตร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร 

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

โครงการศึกษาประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชุมพร

     อาจารย์พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล กล่าวว่า โครงการศึกษาประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชุมพร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อนำเทคโนโลยีโดรนไปใช้ประโยชน์กับเกษตรกร ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ภูเขาสูงและมีพืชสวนที่มีต้นไม้สูง โดยเฉพาะทุเรียน ที่มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมากกว่า 24000 ราย 

     การพัฒนาเทคโนโลยีโดรนมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาภาคการเกษตรในภาคใต้ จึงเป็นการบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วนในการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบ ณ วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จ.ชุมพร

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

ดำเนินการครบวงจรมีการพัฒนาจัดทำเป็นหลักสูตรในการอบรม

      ศูนย์แห่งนี้ดำเนินการครบวงจร  มีการพัฒนาจัดทำเป็นหลักสูตรในการอบรม  ประกอบด้วย

  • การประกอบการบินโดรน
  • การฝึกบินโดรน
  • การลงพื้นที่จริงเพื่อฝึกให้สามารถบินโดรนในพื้นที่จริง
  • ใช้โดรนขนาดใหญ่ที่มีเรดาร์ป้องกันการชน
  • เพิ่มฟังก์ชันใส่ถังในการหวานเมล็ดและยาฆ่าแมลงต่าง ๆ  
  • การบริการให้กับเกษตรกรในการพ่นสารเคมียาฆ่าแมลงโดยใช้โดรน

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน

      มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างยั่งยืน มีนักศึกษาหมุนเวียนต่อยอดอย่างต่อเนื่อง  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การอบรมเชิงปฏิบัติด้านการประกอบอากาศยานโร้คนขับเพื่อการเกษตรกรรม   สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรกรรมในหลายด้านทั้งการลดระยะเวลาในการฉีดพันสารชีวภาพให้แก่พืช ทำให้เทคโนโลยีโดรนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแบ่งเบาภาระในการทำงานของเกษตรกรได้

ศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อเกษตร ต้นแบบแห่งแรกของภาคใต้

จ.ชุมพร พื้นที่ต้นแบบช่วยเหลือเกษตรกร ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต

     นายจีรศักดิ์ แสงหอย นายอำเภอหลังสวน กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ โดรนเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชุมพร เป็นการบูรณาการงานในพื้นที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้  เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการนำโดรนมาใช้ในการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การหว่านเมล็ดพันธุ์พืช การใส่ปุ๋ย เป็นต้น ช่วยลดเวลาในการทำงานและลดปัญหาการจ้างแรงงานลงไปได้ ซึ่งถือเป็นความยั่งยืนในการทำการเกษตรต่อไป

 คณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และคณะนักวิจัย ได้ลงพื้นที่ชมการสาธิตการใช้งานโดรนระบบอัตโนมัติเพื่อการเกษตร ณ แปลงปลูกในสวนทุเรียน  ซึ่งพบว่าโดรนเพื่อการเกษตรสามารถใช้งานได้อย่างดี ทั้งนี มุ่งหวังว่าโครงการนี้จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชุมพร และพื้นที่ใกล้เคียงในเขตภาคใต้  โดยการนำเทคโนโลยีโดรนมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุน ลดปัญหาการจ้างแรงงาน และเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ให้ยั่งยืนต่อไป
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อก สะเดา ข่า ตะไคร้หอม พ้นบัญชีวัตถุอันตราย

ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อก สะเดา ข่า ตะไคร้หอม พ้นบัญชีวัตถุอันตราย

รวบหนุ่มสุพรรณฯ ถูกลวงให้ขนต่างด้าวก่อนบังคับขนยาบ้า

รวบหนุ่มสุพรรณฯ ถูกลวงให้ขนต่างด้าวก่อนบังคับขนยาบ้า

ทรายแมวแบบไหนดีที่สุด? รวมประเภททรายแมวยอดนิยมและวิธีเลือก

ทรายแมวแบบไหนดีที่สุด? รวมประเภททรายแมวยอดนิยมและวิธีเลือก

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

ออกหมายจับ ก๊กอาน คนสนิท ฮุนเซน พัวพันองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

ออกหมายจับ ก๊กอาน คนสนิท ฮุนเซน พัวพันองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ