ข่าว

heading-ข่าว

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

08 ก.ค. 2568 | 09:41 น.
รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

ทีมแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ นำเทคนิคใหม่ ผ่าตัดแก้ไขผู้ป่วย โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) สำเร็จ! แห่งแรกในประเทศไทย และแห่งที่สี่ในเอเชีย

7 ก.ค.68 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยทีมแพทย์ ศูนย์นิทราเวช ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ (หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต) ฝ่ายการพยาบาล และฝ่ายวิสัญญีวิทยา ได้ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) ด้วยเทคนิคใหม่ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งที่สี่ในเอเชีย ช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน หัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และนายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โรคความผิดปกติจากการนอนหลับส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบ ดังนั้นศูนย์นิทราเวช และทีมแพทย์ทุกสหสาขาวิชาชีพ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับ จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์ในทุกปี เปิดให้บริการการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับในทุกรูปแบบ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) พบได้ถึงประมาณร้อยละ 14 ในประชากรทั่วไป โดยผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการกรน ตื่นบ่อยระหว่างคืน ง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน เป็นต้น โดยโรคนี้สามารถเพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด การรักษาหลักคือการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถทนต่อการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ ทีมแพทย์จึงหาวิธีการใหม่มาช่วยในการรักษา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และมีความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย โดยล่าสุดนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคพิเศษผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรง ระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก ด้วยวิธีการกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (HGNS) โดยเป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง แผลผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 4 ในเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง ที่ขณะนี้มีการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จะเปิดการรักษาด้วยวิธี HGNS ในอนาคตอันใกล้ ผู้ป่วยที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าของการรักษาด้วยนวัตกรรมนี้ได้จากข่าวสารของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์”

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

ทางด้าน ผศ. (พิเศษ) พญ. นทมณฑ์ ชรากร หัวหน้าหน่วยโสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีศักยภาพสูงในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคจากการนอนหลับทุกประเภท ทุกสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โดยผู้ป่วยที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแบบ HGNS ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ โดยต้องมีระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ไม่สามารถทนการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้ และมีข้อบ่งชี้ตามเกณฑ์กำหนด

การผ่าตัดแบบ HGNS จัดว่าเป็นเทคนิคการผ่าตัดทางเดินหายใจใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง แผลผ่าตัดเล็ก ความเจ็บหลังผ่าตัดน้อย และการฟื้นตัวเร็ว ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อ.ย.) เมื่อปี พ.ศ. 2567 หลักการของการผ่าตัดคือ การฝังเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (Hypoglossal Nerve) เป็นกล่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฝังลงไปในร่างกาย (Implantable Device) ที่บริเวณเหนือกล้ามเนื้อหน้าอก เพื่อส่งสัญญาณกระตุ้นไฟฟ้าที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 ทางฝั่งขวา เฉพาะแขนงที่ทำให้กล้ามเนื้อลิ้น (Genioglossus Muscle) เคลื่อนตัวไปข้างหน้า ขณะที่มีอุปกรณ์จับสัญญาณการเคลื่อนไหวของทรวงอกว่ากำลังหายใจเข้า บริเวณชายโครงด้านขวา ทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง อุปกรณ์จะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในขนาดที่เหมาะสม โดยการปรับสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยสามารถเปิด ปิดอุปกรณ์ ผ่านทางรีโมทคอนโทรลที่ใช้งานง่าย เพียงกดปุ่มเดียว เพื่อเปิดใช้งานก่อนเข้านอนและปิดเมื่อตื่นนอน วิธีนี้เป็นการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีมาแล้วมากกว่า 10 ปี ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) เมื่อปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ.2014) มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิภาพการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและผลลัพธ์ดี ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการทำหัตถการนี้เกิดขึ้นภายในประเทศไทย”

รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวสรุปว่า “นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถนำเทคนิคนี้มารักษาผู้ป่วยได้สำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่สี่ของเอเชีย เป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีความประสงค์จะรักษาด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่นี้ จำเป็นต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีข้อบ่งชี้ตามเกณฑ์ เพื่อความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด”

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผ่าตัดรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ สำเร็จแห่งแรก

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

มะแขว่น  เครื่องเทศพื้นบ้านสุดเผ็ดร้อน สรรพคุณทางยามีมากกว่าความจัดจ้าน

มะแขว่น เครื่องเทศพื้นบ้านสุดเผ็ดร้อน สรรพคุณทางยามีมากกว่าความจัดจ้าน

กรมทางหลวงเปิดวิ่งฟรี มอเตอร์เวย์ M81  ขยายเวลาช่วงวันหยุดยาวนี้

กรมทางหลวงเปิดวิ่งฟรี มอเตอร์เวย์ M81 ขยายเวลาช่วงวันหยุดยาวนี้

เครื่องใช้ไฟฟ้า 7 ชนิด  กินไฟหนักกว่าแอร์แต่หลายคนไม่เคยปิด

เครื่องใช้ไฟฟ้า 7 ชนิด กินไฟหนักกว่าแอร์แต่หลายคนไม่เคยปิด

งูเหลือมกินคนได้จริงหรือ? รวมเหตุการณ์จริงจากอินโดนีเซีย

งูเหลือมกินคนได้จริงหรือ? รวมเหตุการณ์จริงจากอินโดนีเซีย

ราคาทองวันนี้ 8 กรกฎาคม 2568 ราคาทองปรับตัวอีก ครั้งที่ 4

ราคาทองวันนี้ 8 กรกฎาคม 2568 ราคาทองปรับตัวอีก ครั้งที่ 4