ข่าว

heading-ข่าว

เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก”อาการหนัก หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

14 ก.ค. 2568 | 10:30 น.
เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก”อาการหนัก  หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

เคสหายาก! เด็กชายวัย 8 ขวบ ป่วย “บาดทะยัก” อาการหนัก ปวดกราม-เดินตัวแข็ง พบฉีดวัคซีนไม่ครบ แพทย์เตือนพ่อแม่อย่าละเลย ควรพาลูกฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ป้องกันโรคร้ายถึงชีวิต

พบเคสหายาก เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก” หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ! อาการหนัก ปวดกราม กลืนน้ำลายไม่ได้ เดินตัวแข็ง

แพทย์โพสต์เตือนผ่านโซเชียล หลังพบเคสเด็กชายวัย 8 ขวบ ป่วยโรคบาดทะยัก (Tetanus) อาการเริ่มจากปวดกราม กลืนน้ำลายไม่ได้ เดินลำบาก ตัวแข็งเกร็งนานกว่า 4 วัน ก่อนถูกส่งตัวเข้ารักษาในวอร์ดเด็ก โรงพยาบาลปัตตานี ตรวจพบผล Spatula Test ให้ผลบวก ยืนยันติดเชื้อบาดทะยัก ชี้ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เสี่ยงสูงถึงชีวิต

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Sulkiflee Saei แพทย์ในโรงพยาบาลปัตตานี โพสต์แชร์ประสบการณ์ตรง ระบุว่า ระหว่างเข้าเวรกับเพื่อนที่วอร์ดเด็ก พบเคสเด็กชายวัย 8 ปี มีอาการปวดกราม อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ เดินตัวแข็งเกร็ง และปวดหลังมานาน 4 วัน ซึ่งเป็นอาการคลาสสิกของโรคบาดทะยัก
เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก”อาการหนัก  หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก”อาการหนัก  หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อแพทย์ทำการตรวจร่างกาย พบว่าเด็กยังรู้สึกตัวดี ไม่มีปัญหาการหายใจ แต่มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งรุนแรง ตรวจ Spatula Test ให้ผลบวก ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก จึงวินิจฉัยได้ว่าเป็น “โรคบาดทะยัก” จากการซักประวัติพบว่าเด็กได้รับวัคซีนป้องกันไม่ครบ โดยฉีดครั้งสุดท้ายตั้งแต่แรกเกิด

บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani มักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลสกปรก หรือในบางกรณีพบในคนที่มีฟันผุโดยไม่ปรากฏแผลภายนอก อาการเริ่มจากกล้ามเนื้อใบหน้าเกร็ง (lock jaw) อ้าปากลำบาก (trismus) และลามไปทั่วตัว ทำให้หลังแอ่น (opisthotonus) ซึ่งหากไม่รักษา อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

แนวทางการรักษาคือให้ Human Tetanus Immunoglobulin (HTIG) ควบคู่กับยาปฏิชีวนะ เช่น Penicillin หรือ Metronidazole และยาคลายกล้ามเนื้อในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Diazepam รวมถึง Baclofen เพื่อควบคุมอาการเกร็ง

เด็ก 8 ขวบป่วย “บาดทะยัก”อาการหนัก  หลังฉีดวัคซีนไม่ครบ

เด็กไทยควรได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามเกณฑ์ ได้แก่

- อายุ 2, 4, 6 เดือน

- กระตุ้นเข็มที่ 1 ตอน 18 เดือน

- กระตุ้นเข็มที่ 2 ช่วง 4–6 ปี

- และควรกระตุ้นซ้ำทุก 10 ปีตลอดชีวิต

 

แพทย์ฝากเตือน ผู้ปกครองทุกคนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุตรหลานได้รับวัคซีนครบถ้วนตามช่วงอายุ เพื่อป้องกันโรคอันตรายอย่างบาดทะยัก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ แม้ในเด็กที่ดูแข็งแรง และอาจส่งผลถึงชีวิตหากไม่ได้รับการป้องกันและรักษาทันท่วงที 

 

ขอบคุณที่มา FB:Sulkiflee Saei 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

อย่ามองข้าม  เทคนิคสอนเด็ก  กฎ 5 นิ้วมือ  ป้องกันถูกล่วงละเมิด

อย่ามองข้าม เทคนิคสอนเด็ก กฎ 5 นิ้วมือ ป้องกันถูกล่วงละเมิด

คุณยายให้เช่า  เทรนด์ใหม่ญี่ปุ่น ดูแลครบเครื่องทุกบริการ

คุณยายให้เช่า เทรนด์ใหม่ญี่ปุ่น ดูแลครบเครื่องทุกบริการ

ผู้เชี่ยวชาญเตือน  อย่าดื่มน้ำส้มคั้นตอนเช้า  เสี่ยงทำลายระบบลำไส้

ผู้เชี่ยวชาญเตือน อย่าดื่มน้ำส้มคั้นตอนเช้า เสี่ยงทำลายระบบลำไส้

ถอดปลั๊ก ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ? เผยข้อควรระวังที่ควรรู้

ถอดปลั๊ก ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ? เผยข้อควรระวังที่ควรรู้

ชายสุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ป่วยมะเร็งปอด หมอชี้  จากภรรยาขี้บ่น

ชายสุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ป่วยมะเร็งปอด หมอชี้ จากภรรยาขี้บ่น