ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ2 พายุดีเปรสชัน 30 มิ.ย.-2 ก.ค. เช็กพื้นที่ได้รับผลกระทบ

29 มิถุนายน 2565

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.-2 ก.ค. 65 เช็กพื้นที่ได้รับผลกระทบ

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2565

เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (29 มิ.ย. 65) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 15.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนืออย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2–3 ก.ค. 65

ประกอบกับในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่อาจเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 30 มิถุนายน 2565

        ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

        ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

 

        วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลกและเพชรบูรณ์

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

        ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี

        ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

       

        วันที่ 2 กรกฎาคม 2565

        ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก

        พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ

        และอุบลราชธานี

        ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี

        ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

        ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

        ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

        จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

        ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.

        กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

        (ลงชื่อ) ชมภารี ชมภูรัตน์

        (นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

        อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

 

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ2 พายุดีเปรสชัน 30 มิ.ย.-2 ก.ค. เช็กพื้นที่ได้รับผลกระทบ

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ2 พายุดีเปรสชัน 30 มิ.ย.-2 ก.ค. เช็กพื้นที่ได้รับผลกระทบ