อุทาหรณ์ชั้นดี "วิศวกร" ก่อผนังสุดชุ่ย ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง

28 มิถุนายน 2565

เพจดังเตือนอุทาหรณ์ชั้นดี "วิศวกร" ก่อผนังสุดชุ่ย ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลายปัญหาตามมา ถึงขั้นทุบทิ้งกันเลยทีเดียว

เชื่อว่าการมีบ้านดีๆสักหลังนั้นเป็นความฝันของใครหลายๆคน แต่การสร้างบ้านสักหลังขึ้นมานั้นต้องศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้แต่การเลือกช่างหรือวิศวกรที่ต้องไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนเรื่องราวดังต่อไปนี้ซึ่งถือเป็นอุทาหรณ์ชั้นดีเลยทีเดียว 

 โดยเพจเฟซบุ๊ก ฉิบหายแล้วบ้านกู ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องงานช่าง ได้ออกมาโพสต์เล่าเรื่องราวหลังได้พบเจอกันผนังบ้านหลังหนึ่ง ที่พบว่าเป็นการก่อสร้างผนังไม่ถูกต้อง และเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายและมีปัญหาต่างๆตามมา โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า 

REJECT ทั้งหมด

ทุบให้เกลี้ยง แล้วขึ้นใหม่

ปัญหาของ ผนังก่ออิฐ ฉาบปูน ที่จุกจิกและกวนใจสุดคือ อาการแตกร้าว เพราะการแตกร้าวหลายๆชนิด มันไม่สามารถแก้ให้หายขาดได้ คือแก้แล้ว เดี๋ยวก็กลับมาแตกที่เดิม แล้วเมื่อผนังมีการแตกร้าว จะมีปัญหาอีกหลายอย่างตามมา เช่นเกิดการรั่วซึม เกิดความชื้น เกิดรา มีเห็ดขึ้น และอาจจะลามไปถึงขั้น เกิดการระเบิด หรือแตกร้าวขนาดใหญ่






-หลวงพี่แจ้ นำพานพุ่มกราบขอขมา พระพยอม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปมท้าดร.สักยันต์
-นร.หญิงตอบคำถามสุดพีค เหลือเวลา 1 ชั่วโมงบนโลกจะทำอะไร จนชาวเน็ตต้องมอบมง
-เพจดัง เเฉขรก.จัดทริปเฉพาะงบค่ารถ 490,000 พร้อมโพสต์แคปชั่นเด็ด

 

จนทำให้เกิดปัญหาบ้านเสียหายรุนแรงปัญหาผนังแตกร้าว จะมี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

1. แตกร้าวจากการทรุดตัว และ การทำงานไม่ได้มาตรฐาน

2. การยึดหดตัวของวัสดุ จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

อุทาหรณ์ชั้นดี วิศวกร ก่อผนังสุดชุ่ย ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง

ซึ่งจากรูป ที่ต้อง REJECT ผนังตามที่เห็น ( และเกือบทั้งบ้านนี้ )

มันเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาข้อที่ 2

ลองสังเกตุดีๆ จะเห็นว่า ในผนัง 1 แผงนี้เอง

มีการใช้อิฐ 3 ชนิดมาก่อเป็นผนัง

คืออิฐเซรามิค ( อิฐพันปี )

อิฐมอญชนิดมีรู

และอิฐมอญโบราณ ชนิดตัน

 

ซึ่ง อิฐทั้งสามชนิดนี้ มีขนาดก้อนที่ต่างกันมากๆและมีอัตราการสะสมความร้อนที่ต่างกันด้วย

ที่สำคัญอิฐทั้งสาม มีอัตราการยืด หด ตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากันและ 3 อย่างนี้ นี่คือเหตุผลของต้นเหตุปัญหาผนังแตกร้าวจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพราะเมื่อผนังโดนความร้อน จะเกิดการสะสมความร้อนเข้ามาในอิฐขนาดก้อนที่ต่างกัน จะทำให้ความสามารถในการสะสมความร้อนต่างกันก้อนใหญ่ ก็มีความร้อนได้มากกว่า ก้อนที่เล็กก็สะสมน้อย และ เมื่อสะสมความร้อนแล้ว วัสดุทุกชนิดจะเกิดการขยายตัว ทีนี้ ด้วยความที่วัสดุแต่ละชนิด ก็จะมีอัตราการขยายตัวได้ต่างกันอีก

มันจึงเกิดมีอิฐที่ขยายตัวมาก และ อิฐที่ขยายตัวน้อย ในแผงเดียวกัน ปัญหาเลยเกิดขึ้นจากตรงนี้ เพราะการที่ขยายตัวไม่สม่ำเสมอมันจะทำให้แต่ละจุดของผนัง มีการยืด หด ที่ไม่เท่ากัน และทำให้เกิดการแตกร้าว กระจายไปทั่ว และไอ้การแตกร้าวนี้ แม้จะทำการแก้ไข ด้วยการสกัดผิวฉาบออก ฉาบใหม่ทั้งหมดแล้วลงทับด้วยสกิมโค้ทอย่างดีที่สุด จากนั้นก็ใช้สียืดหยุ่น 7 แสนเท่าเข้ามาทาปิดรอย สุดท้าย ผนังก็จะแตกอีกอยู่ดี เพราะ ต้นเหตุของปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไขไปด้วย

การแก้ไขต้นเหตุนี้ ทำได้อย่างเดียวคือ

พังแม่งทิ้งให้หมด แล้วก่อผนังใหม่ทั้งหมด ด้วยอิฐชนิดเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา การยืดหดที่ไม่เท่ากันของวัสดุก่อ ดังนั้น จุดนี้จึงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องทุบทิ้งทำใหม่หมด และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ต้องรีจอยซ์งานนี้ไปน่าตลกคือ โครงการนี้ ออกแบบควบคุม และ รับเหมาก่อสร้างโดยวิศวกร ( คนเดียวทั้งระบบ ) แต่ข้อแก้ตัวของวิศวกรคนนี้ในการใช้อิฐผสมเป็นรวมมิตร คือ การสั่งอิฐพันปี ต้องสั่งจำนวนมาก ไม่งั้นจะมีค่าส่ง และ ไม่ได้คำนวณจำนวนที่ใช้ก่อนสั่ง จึงทำให้ล๊อตสองมีจำนวนไม่พอได้ส่งฟรี ถ้าสั่งก็จะเสียเงินค่าขนส่งเยอะทำให้อาจจะขาดทุนกำไรเลยสั่งเอาอิฐแถวนั้นมาใช้งาน ซึ่ง "ขอเจ้าบ้านแล้ว" ถามหน่อยซิครับ คุณเจ้าบ้าถ้าวิศวกร มาบอกว่า จะขอเปลี่ยนอิฐก่อ ถ้าเค้าบอกว่าราคาไม่ต่างกัน ความแข็งแรงมากกว่าเดิม ฃโครงสร้างก็รับน้ำหนักได้ คุณจะให้เค้าเปลี่ยนมั้ย ? ถ้าคำตอบคือ ให้เปลี่ยน ผมแนะนำว่าคุณต้องมีที่ปรึกษาการก่อสร้างแล้วแหละ ตอนนี้วิศวกรคนดังกล่าว งอลและแกล้งบอกเลิกทำงานไปแล้ว

เพราะไม่พอใจคอนเซาท์ ซึ่ง คอนเซาท์ก็ต้องบอกว่าเรื่องของมึงแหลงานห่วยเกินอภัย เลิกทำอาชีพนี้ไปเลยได้ "ยิ่งดี" เดี๋ยวเอาความห่วยของวิศวกรคนนี้มาให้ดูกันอีก จะได้ระวังกันไว้ว่า วิศวกร ก็ไมใช่จะเชื่อใจได้ไปทุกคน ยังไงก็ต้องระวังนะจ๊ะ

อุทาหรณ์ชั้นดี วิศวกร ก่อผนังสุดชุ่ย ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง

อุทาหรณ์ชั้นดี วิศวกร ก่อผนังสุดชุ่ย ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง