ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนขาดรายได้

17 มีนาคม 2565

สำนักงานประกันสังคม เผยพร้อมจ่ายชดเชย ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ยอดผู้ติดเชื้อยังคงสูง และสายพันธุ์โอมิครอนที่การแพร่เชื้อเร็วขึ้น สำนักงานประกันสังคม เผย พร้อมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

 

ผู้ประกันตน มาตรา 33

กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัว เกิน 30 วันสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

***ยื่นแบบคำขอร์บประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)***

ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนขาดรายได้

ผู้ประกันตน มาตรา 39

รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50
โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

***ยื่นแบบคำขอร์บประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)***

*** ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

ผู้ประกันตน มาตรา 40

รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

***ยื่นแบบคำขอร์บประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)***

ข้อมูลเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย มาตรา 40 คลิกเลย >>> https://bit.ly/SSO40Health

ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนขาดรายได้

 

ทั้งนี้ น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เผยว่า เรื่องการขาดรายได้ที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จะเบิกจากประกันสังคม สามารถยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี โดยไปที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th กรอบแบบฟอร์มแล้วส่งทางไปรษณีย์พร้อมแนบสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ ทางประกันสังคมจะดำเนินการให้แล้วโอนเงินเข้าบัญชีให้

 

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)

ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนขาดรายได้

 

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

ประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 เช็กวิธียื่นรับเงินทดแทนขาดรายได้

 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ คือ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) / (สปส. 2-01/ม.40)
  • ใบรับรองแพทย์
  • หนังสือรับรองจากนายจ้าง
  • สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ - เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่เว็บไซต์ประกันสังคม https://www.sso.go.th กรอบแบบฟอร์มแล้วส่งทางไปรษณีย์