ไขข้อข้องใจ "กินเต้าหู้ถั่วเหลือง" ทำลายสมองจริงหรือไม่!?

24 สิงหาคม 2564

อย. ช่วยไขข้อสงสัย มีผู้แชร์ข้อมูลว่ากินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน นั้นจริงหรือไม่ และทำความเข้าใจเกี่ยบกับโรคพาร์กินสัน

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวในโซเชียลกันว่า กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องจริงเลย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคพาร์กินสันก่อนก่อน โรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของสมอง และระบบประสาท ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติไป

กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำลายสมองจริงหรือไม่

 

มักมีอาการดังต่อไปนี้

1. เกิดอาการสั่นบริเวณนิ้ว มือ แขน หรือขา ขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
2. เคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ได้ช้ากว่าปกติ
3. กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทำให้ควบคุมการทรงตัวของร่างกายลำบาก ควบคุมกล้ามเนื้อมือและแขนไม่ได้ ทำให้เขียนหนังสือลำบาก

มีผู้แชร์ข้อมูลว่ากินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงแล้วนั้นการกินเต้าหู้ถั่วเหลืองนั้นให้ประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเต้าหู้นั้นทำมาจากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองมีโปรตีนในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ในถั่วเหลืองยังพบสารกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย

กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำลายสมองจริงหรือไม่

ดังนั้นการรับประทานถั่วเหลืองจึงทำให้ร่างกายได้รับโปรตีน และยังมีส่วนช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากกินในปริมาณที่มากไปอาจทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินความจำเป็นได้

กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำลายสมองจริงหรือไม่

ขอบคุณ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ , อย.