เปิดพิกัดเตือน 15 จังหวัด เสี่ยงดินถล่ม–น้ำป่าไหลหลาก

กรมทรัพยากรธรณีเตือน 15 จังหวัด เสี่ยงดินถล่ม–น้ำป่าไหลหลาก หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ตามรายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยประจำวัน วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568
ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี รายงานสถานการณ์ประจำวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 พบ แผ่นดินไหว 1 ครั้งในจังหวัดเชียงราย พร้อมออกประกาศเตือนภัย 15 จังหวัดเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่
จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่:
ภาคเหนือ: กำแพงเพชร, เชียงใหม่, เชียงราย, ตาก, นครสวรรค์
ภาคกลาง: ลพบุรี, สุพรรณบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: นครราชสีมา, ศรีสะเกษ, หนองคาย
ภาคตะวันออก: ระยอง, สระแก้ว
ภาคใต้: ชุมพร, พังงา, ภูเก็ต
ศูนย์ฯ ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประสานงานกับอาสาสมัครในพื้นที่เสี่ยงภัย และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมเข้าตรวจสอบหากเกิดเหตุการณ์ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนทันที
กรมอุตุนิยมวิทยาเผย ไทยเข้าสู่ฤดูฝน 15 พ.ค.นี้ - ฝนปีนี้น้อยกว่าปีก่อน
ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 โดยปีนี้คาดว่าฝนจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แม้ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 5%
ช่วงต้นฤดูฝนถึง กลางเดือนกรกฎาคม ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น 5–10% ก่อนจะเข้าสู่ช่วง ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนถึงกลางกรกฎาคม ซึ่งอาจกระทบพื้นที่เกษตรโดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน
สิงหาคมถึงตุลาคม จะเป็นช่วงฝนตกชุกที่สุดของปี และมีความเสี่ยงเกิด พายุหมุนเขตร้อน 1–2 ลูก ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้
เกณฑ์เข้าสู่ฤดูฝน ปี 2568:
- ฝนตกเกิน 60% ของพื้นที่ประเทศไทยตอนบนต่อเนื่อง
- ลมระดับประมาณ 1.5 กม. เปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้
- ลมระดับ 10 กม. เปลี่ยนเป็นลมตะวันออก
ดร. สุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แนะนำให้ประชาชนวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก พร้อมติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัย

ชีวิตใหม่ น้องน้ำปั่น เผยอาการล่าสุด หลังสู้โรคตุ่มน้ำพองนาน 6 ปี

สาวสุดซวย อุตส่าห์แต่งหน้าสวย แต่ต้องลบเครื่องสำอางจนเกลี้ยง

ประกันสังคม ม.33, 39, 40 จ่ายเท่าไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง!

การเลี้ยงแมว ระบบปิด และ ระบบเปิด แบบไหนเหมาะกับแมวของคุณ?
