แพทย์หญิง ร่ายยาว หลังต้องเผชิญหน้ากับ โควิด-19 ยาวนานเกือบ 4 เดือน

13 เมษายน 2564

บุคลากรทางการแพทย์ท่านหนึ่ง ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิปด้วยหัวข้อ "เมื่อฉันต้องทำงานต่อสู้กับ covid-19 เกือบ 4 เดือน" บอกเล่าถึง สถานการณ์ที่ต้องพบเจอมาเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน หลังต้องสู้กับเชื้อ โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงเวลานี้

แพทย์หญิงโพสต์ข้อความระบุว่า.. นี่ถือเป็นกระทู้แรกของเรา ที่จะมาบอกเล่าถึงวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ต้องต่อสู้กับ โควิด-19 มาเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน เราคือพยาบาลคนหนึ่งที่ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่นี้ เราจำได้ดี วันแรกที่มา 22 ธ.ค.63 หลังเกิดสถานการณ์โควิดระบาดรอบที่สอง 21 ธ.ค. 63

โรงพยาบาลของเราเปิดคลีนิคเฉพาะนี้อย่างเร่งด่วน เพียงแค่หนึ่งวันหลังมีการระบาด หัวหน้าแจ้งให้เรามาทำหน้าที่นี้ เรารับมันมาด้วยความเต็มใจ เราพร้อมน้องๆในทีม ที่มาจาก แผนกอื่น รวม 4 คน มาพร้อมกัน โดยที่น้องๆ ก็รับคัดเลือกมาเช่นกัน น้องๆที่มาเป็นเด็กจบใหม่เพียง6เดือน เรากลายเป็นพี่ของเด็กๆในทีมทันที วันแรกของการเปิดแผนก เพียงแค่เจ็ดโมงเช้า คนไข้ก็เริ่มทยอยมา เราและเด็กๆ ต้องลงมือทำงานกัน โดยมีแผนกหลักนำทีมมาช่วยด้วย มันเหมือนเป็นการเริ่มต้นครั้งแรกของทุกคน ทั้งเสี่ยง ทั้งกังวล แต่เมื่อต้องมาทำหน้าที่ เราต้องทำให้ดีที่สุด ยังคงจำความรู้สึกได้ดี เด็กๆในทีม ต่างก็กลัวโรคนี้กันอย่างชัดเจน เพราะเราไม่รู้กันเลย มันจะจบลงที่เดือนไหน พวกเราจะรับเชื้อคนไข้กันตอนไหน
 

เราและเด็กๆรับคำสั่งว่าต้องอยู่กันจนแผนกนี้ปิดเราทำงานกันมาเรื่อยๆ ผ่านไปครบสองเดือน เด็กๆเริ่มไม่ไหว องกลับแผนกเดิมกันหมด เริ่มปรึกษากัน เราสนับสนุนการตัดสินใจเด็กๆ น้องๆคงเหนื่อยล้ากันมามาก จากนั้นจึงเหลือเพียงเรา และคนในทีมหลักๆไม่กี่คน พอเด็กๆหายไป การระบาดที่บางแค กลายเป็นจุดพีค ที่ทุกคนตกใจอีกครั้งพอเจอการระบาดที่บางแค คนไข้หลั่งไหลมาหาเราอีกครั้ง พยาบาลไม่พอ เราต้องลุยงานกันไปเองเท่าที่ทำได้ ทำงานโดยที่แทบไม่ได้หยุด เวลาพักกินข้าว ไม่เคยเต็มเวลาอีกต่อไป ทำงานแข่งกับเวลา แข่งกับปริมาณคนไข้

เวลาวันหยุดเราไม่เคยกล้าไปไหน นอกจากที่ทำงานและบ้าน ต้องดูแลตัวเองตลอดเวลาท่องเอาไว้ ห้ามป่วยเด็ดขาด!!! 

ครบสามเดือน พ่อแม่เริ่มถาม เราจะเสี่ยงพอรึยังสามเดือนละนะ ที่เราต้องทำต่อไป ให้คนอื่นมาเสี่ยงแทนบ้างดีมั้ย ถ้าเราเกิดไม่ไหว จะทำยังไง เราตอบพ่อแม่ ว่า ยังไหว พ่อแม่คอยให้กำลังใจ ไม่มีคำถามแบบนั้นอีก แม่ต้องรอเรากลับบ้านตลอดเวลา ไม่เคยนอนก่อน แม้เราจะกลับดึกแค่ไหน แม่จะทำกับข้าวทิ้งไว้เสมอ เพราะเราเลิกงานดึก และเข้างานเช้าเวลาเดิมๆตลอดเวลา 

พอบางแคจบลง คิดว่าอะไรคงดีขึ้น แต่เปล่าเลย คลัสเตอร์ทองหล่อ น่ากลัวที่สุดเพียงแค่วันแรก คนไข้ก็ล้นทะลักกันมา คนไข้วิตกกังวลมาก คนไข้นั่งรอเยอะกว่าเดิม พยาบาลเท่าเดิม แต่ปริมาณคนไข้เยอะกว่าเดิม 2-3 เท่า ต้องยอมรับ.รอบนี้คนไข้ที่มา เฉลี่ยอายุ 20-40 ปี จำนวนมาก เมื่อเทียบอายุอื่น อาจเพราะทองหล่อ เที่ยวได้ คือต้องมีเงินระดับหนึ่ง เพราะแต่ละสถานที่ ต้องจ่ายเงินค่อนข้างสูง และยิ่งมามากขึ้น เพราะการระบาดค่อนข้างมากพอติด คนในครอบครัวรีบมาตรวจ สังเกตว่า ส่วนมากมักมีผู้สูงอายุมาด้วย นั่งรถนั่งมา ถือไม้เท้าเดินมา บอกว่าลูกหลานไปเที่ยวมา ติดโควิด ไปรักษาแล้ว จึงต้องมาตรวจ ครอบครัวนึง อยู่กันหลายคน ก็มาทั้งครอบครัว เราเข้าใจดี แต่สิ่งที้เราไม่เข้าใจคือ หลังจากที่เราสนุก เรามีความสุขจากการเที่ยวพอเราป่วย พอเราติดโควิด เราก็มักจะมานั่งเสียใจทีหลัง เพราะทำให้คนที่รักต้องมาไม่สบายไปด้วย

คุณเคยทำงานแข่งกับเวลามั้ย เคยพักกินข้าวแค่ 5 นาที 10 นาที และรู้ว่าต้องรีบกิน รีบทำงานมั้ย เราทำแบบนั้นทั้งทีม เพือคนในทีมได้พักต่อ เราทุกคนเข้าใจและรับรู้ดีว่า ไม่มีใครสามารถพัก 1 ชม. แบบงานทั่วไปได้ เพราะรู้ว่าเวลานั้น ต้องทำเพือใครสักคนรึเปล่า มันเหนื่อยกายมาก มันมีความล้าทางกาย แต่เรารู้ดีคนไข้ทุกคน ณ เวลานั้น ต้องการ การบริการอย่างรวดเร็ว บางทีเราก็ทำงานยาว 8 ชม.แบบไม่ได้พัก

พอคนไข้เริ่มลดลง ก็ต้องวิ่งไปกินข้าว และกลับมาทำงานต่อในทันที เราไม่มีเวลาพักอย่างแท้จริงเลยสักวัน

นั่นเพราะทีมเรามีแค่พยาบาล 3-4 คน ผู้ช่วยพยาบาล 2-3คน หมอ 1 คน ทำงานกับคนไข้ที่มาวันนึงไม่ต่ำกว่า 60 คน มันคือชีวิตเราในปัจจุบัน สัปดาห์กว่าแล้ว ตั้งแต่คลัสเตอร์ทองหล่อยอดคนไข้พุ่งสูงขึ้น มันไม่มีทีท่าจะหยุดเลย

แต่คิดอีกมุม ถ้าเรารู้ว่า สถานการณ์เหล่านี้จะไม่หายไป มันต้องอยู่อีกนาน และเราดูแลตัวเองมากขึ้นอย่างจริงจัง ไม่ใช่ชีวิตประมาท มันจะดีกว่านี้มั้ย?? 

คนต้องการตรวจมากขึ้น คนกลัวมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการตรวจยิ่งสูง น้ำยาที่ใช้ตรวจที่ขาดแคลน เพียงแค่คลัสเตอร์ทองหล่อมาเพียงไม่กี่วัน ยอดคนไข้ติด เพิ่มขึ้นจนน่าใจหาย ส่งผลให้หลาย รพ.ประกาศเริ่มประกาศไม่รับคนไข้เพิ่ม เพราะเราหาเตียงให้ไม่ไหว ถ้าไม่แสดงอาการ เรากักตัวที่บ้านได้ แยกกักตัวเอง และแยกตัวเองจากครอบครัวได้ ถ้ามีอาการ เราค่อยมา รพ. คนไทยต้องทำความเข้าใจอาการเหล่านี้มากขึ้น ถ้าเราไข้ต่ำๆ เรากินพาราประคองไปได้ แต่ถ้าอาการรุนแรงเช่น ไข้สูง หายใจเหนื่อยมากขึ้น เราไปรพ.ได้ทันที แต่ถ้าเรายังคงคิดว่าการ admit เข้า รพ. เท่านั้น คือ สิ่งที่จำเป็น ก็จะส่งผลให้ คนไข้ overload มากขึ้น และบุคลากรการแพทย์เริ่มอ่อนล้า แต่มันคงไม่แปลก เพราะเราไม่เคยคาดการณ์กันมากก่อน ว่าเราจะเจอกับวิกฤตที่หนักกว่าเดิมเรื่อยๆ 

แต่ถ้าเราลองมองดีดี มันไม่ใช่เพราะเรา?  ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เราต่างก็มองเห็นไม่ใช่หรอ ว่าถ้าเราใช้ชีวิต โดยไม่แคร์อะไรเลย มันจะลงเอยแบบนี้ 

ป.ล. เราคือบุคลากรทางการแพทย์ ที่กล้าพูดว่า เราไม่เคยไปไหนตั้งแต่ระบาดรอบ 2 เราป้องกันตัวเอง เราไม่ไปพื้นที่เสี่ยง  เพราะเรารู้ดีว่า ถ้าเราเกิดติดโควิด หรือ ไม่สบาย มันจะเกิดอะไรขึ้นกับคนรอบข้าง มันคือความอดทนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เราทำมันเพื่อตัวเราและคนอื่นได้ดีที่สุด ณ เวลานี้

กระทู้นี้เขียนเพื่อ หวังว่าทุกคนคงกลับมารักตัวเองให้มากกว่านี้ และเข้าใจบุคลากรทางการแพทย์มากกว่านี้ หวังว่าเราจะผ่านมันไปด้วยกันได้ดีกว่านี้ มีสติกว่านี้ และ support กันมากกว่านี้ 

ในขณะที่คุณใช้ชีวิตสนุกสนาน อาชีพเราไม่มีใครนึกถึง และพอคุณเจ็บป่วย เราคืออาชีพที่คุณนึกคิด มันคงเป็นแบบนี้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในวันที่คุณป่วย โปรดเข้าใจเรา และเห็นใจเราว่าทุกอย่างเรากำลังทำเพื่อคุณ มันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามอบให้ อย่าใจร้ายกับบุคลากรทางการแพทย์นักเลย อย่าดุด่า ว่ากล่าว แต่เปลี่ยนเป็นการเข้าใจ ให้กำลังใจเรา คงทำให้เรามีกำลังใจต่อสู้มากขึ้น

และขอแนะนำวิธีการป้องกันตัวเองของบุคลากรการแพทย์ เมื่อทุกคนมีความเสี่ยงนะคะ สามารถใช้ได้กับทุกคนเลย

1. บุคลาการการแพทย์ จะใส่ทั้งface shield + mask นั่นเรียกพื้นฐานการใส่ดูแลผู้ป่วย 

2. รบกวนยืนห่างอย่างน้อย2 ม. เรียก social distance แบบทั่วไปที่รู้กัน และ สำหรับข้อนี้ต้องพูดคุยกันไม่เกิน 5 นาที หากมากกว่า 5 นาที และ ท่านมีความเสี่ยงสูง และเมื่อพบว่าคนที่ได้พูดคุยเป็น covid-19 + คนๆนั้น จะปรับลำดับ เป็น "ความเสี่ยงสูงในทันที" และเมื่อเป็นแบบนั้น  ขอแนะนำต้องกักตัวนะคะ 

ที่มา Pantip