ล่าสุด! ไทยลดเงินอุดหนุนรถยนต์ EV เหลือ 100,000 บาท หลังยอดขายเพิ่มต่อเนื่อง

04 พฤศจิกายน 2566

ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) เคาะ ปรับลดเงินอุดหนุนรถยนต์ EV จากคันละไม่เกิน 150,000 บาท เหลือ 100,000 บาท จากการรายงานของรอยเตอร์

 ล่าสุด! ไทยลดเงินอุดหนุนรถยนต์ EV เหลือ 100,000 บาท หลังยอดขายเพิ่มต่อเนื่อง

ล่าสุด! ไทยลดเงินอุดหนุนรถยนต์ EV เหลือ 100,000 บาท หลังยอดขายเพิ่มต่อเนื่อง

 

ด้วยกระเเสรถยนต์ไฟฟ้า Ev มียอดขายที่เพิ่มขึ้นมาก ในเเต่ล่ะวัน ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งทางด้าน นาย นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5) ใหม่ จะเริ่มต้นในปีหน้า ไปจนถึงปี 2027 ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนด้านอื่น ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่นลดอากรนำเข้าและภาษีสรรพสามิต

นาย นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

 

ข้อมูลจากแถลงข่าวของ BOI ระบุว่า อัตราของเงินอุดหนุนขึ้นอยู่กับราคาของยานพาหนะถูกกำหนดโดยราคาและขนาดของแบตเตอรี่ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือกันเพื่อกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสม และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

ล่าสุด! ไทยลดเงินอุดหนุนรถยนต์ EV เหลือ 100,000 บาท หลังยอดขายเพิ่มต่อเนื่อง

รอยเตอร์รายงานว่า การสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ยอดขายรถ EV ในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของยอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดในไตรมาสที่สองของปีนี้ นอกจากนั้น แผนของรัฐบาลยังตั้งเป้าปรับให้ 30% ของยอดการผลิตยานพาหนะในประเทศกลายเป็นการผลิตรถ EV ด้วย

นฤตม์กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลังจากการสนับสนุนของรัฐบาล อัตราการใช้รถ EV ในไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก” และกล่าวด้วยว่า “ดังนั้น การสนับสนุนของรัฐบาลจะค่อย ๆ ลดลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อที่จะไม่สร้างภาระกับงบประมาณมากเกินไป”

การลดหย่อนภาษีและเงินอุดหนุนที่ผ่านมา ได้ดึงดูดความสนใจจากผู้ผลิตรถยนต์ EV สัญชาติจีน รวมถึง BYD และ Great Wall Motor ที่ได้ตัดสินใจที่จะลงทุนเป็นเงิน 1,440 ล้านดอลลาร์ (ราว 52,000 ล้านบาท)

นอกจากด้านการผลิต ไทยยังมีแผนที่จะลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ผลิตรถ EV ที่จะตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนารถ EV ด้วย

ข้อมูลจากบริษัทวิจัย BMI ประเมินว่ามาตรการชุดใหม่นี้จะใช้งบประมาณราว 3 พันล้านบาท

นฤตม์กล่าวว่า “รัฐบาลเห็นความจำเป็นของการสนับสนุนอุตสาหกรรม EV ต่อไป และคงไว้ซึ่งการเติบโตของ EV เพื่อทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตเบอร์หนึ่งในภูมิภาค”

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกของบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น เช่นโตโยต้า มอเตอร์และฮอนด้า มอเตอร์ ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ติดอันดับที่ 10 ของโลก