เปิด 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเทศไทย

24 มกราคม 2565

เปิด 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเทศไทย ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ รวมทั้งความมั่งคั่ง ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

1.ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 69 ล้านคน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศเหนือและตะวันตก ประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออก ประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก และประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ 
 

ประเทศไทย

2. จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด  ซึ่งไม่รวม กรุงเทพมหานคร เพราะไม่เป็นจังหวัด เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด  จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

3.การเมืองการปกครอง
ราชธานีของคนไทยแต่โบราณล้วนปกครองระบอบราชาธิปไตยตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา มีการรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นการสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบตะวันตก ครั้นวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา(โดยนิตินัย) ในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง โดยมีรัฐประหารครั้งล่าสุดในปี 2557

4.ลำดับเหตุการณ์ ยุบ- จัดตั้งจังหวัด
พ.ศ. 2469
ยุบเลิกจังหวัดกระบินทร์บุรี รวมเข้ากับจังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. 2474
ยุบเลิกจังหวัดสุโขทัย รวมเข้ากับจังหวัดสวรรคโลก
ยุบเลิกจังหวัดหล่มศักดิ์ รวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์
ยุบเลิกจังหวัดธัญญบุรี รวมเข้ากับจังหวัดปทุมธานี
ยุบเลิกจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมเข้ากับจังหวัดมหาสารคาม
ยุบเลิกจังหวัดหลังสวน รวมเข้ากับจังหวัดชุมพร
ยุบเลิกจังหวัดตะกั่วป่า รวมเข้ากับจังหวัดพังงา
ยุบเลิกจังหวัดสายบุรี รวมเข้ากับจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส
ยุบเลิกจังหวัดพระประแดง รวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการและธนบุรี
ยุบเลิกจังหวัดมีนบุรี รวมเข้ากับจังหวัดพระนครและฉะเชิงเทรา
พ.ศ. 2489
จัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ โดยแยกจากจังหวัดพระนคร
จัดตั้งจังหวัดนนทบุรี โดยแยกจากจังหวัดธนบุรี
จัดตั้งจังหวัดสมุทรสาคร โดยแยกจากจังหวัดธนบุรี
จัดตั้งจังหวัดนครนายก โดยแยกจากจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี
พ.ศ. 2490
จัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยแยกจากจังหวัดมหาสารคาม
พ.ศ. 2514
ยุบเลิกจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี โดยจัดตั้งเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร)
พ.ศ. 2515
จัดตั้งจังหวัดยโสธร โดยแยกจากจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2520
จัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยแยกจากจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2525
จัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร โดยแยกจากจังหวัดนครพนม
พ.ศ. 2536
จัดตั้งจังหวัดสระแก้ว โดยแยกจากจังหวัดปราจีนบุรี
จัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ โดยแยกจากจังหวัดอุบลราชธานี
จัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู โดยแยกจากจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. 2554
จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยแยกจากจังหวัดหนองคาย


5.การตั้งจังหวัดใหม่
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยให้พิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้
1.เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ตร.ก.ม. จังหวัดตั้งใหม่ควรมีเนื้อที่ 5,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป
2.จำนวนอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครอง จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีอำเภอในเขตการปกครองจำนวนไม่น้อยกว่า 12 อำเภอ และกิ่งอำเภอ และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้ว จังหวัดเดิมควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครองไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ ส่วนจังหวัดที่ตั้งใหม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ
3.จำนวนประชากร จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 600,000 คน และเมื่อแยกไปแล้ว จังหวัดเดิมควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน จังหวัดตั้งใหม่ควรมีประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน
4.ลักษณะพิเศษของจังหวัด
5.ผลดีในการให้บริการประชาชน
6.ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ราชการที่มีอยู่แล้วและความพร้อมในด้านอื่น
7.ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
8.ความคิดเห็นของประชาชนและจังหวัด
9.รายได้ของจังหวัดเดิม เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสรรพากร เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท และเมื่อแยกไปจัดตั้งจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีรายได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ส่วนรายได้ของจังหวัดใหม่ก็ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาทเช่นกัน
10หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

ประเทศไทย
6.ความมั่งคั่ง ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ในประเทศไทย
 ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีความมั่งคั่งมัธยฐานต่อผู้ใหญ่หนึ่งคน 1,469 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพิ่มจากปี 2543 อยู่ที่ 605 ดอลลาร์สหรัฐ 
ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 55 ของดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลกในปี 2560 หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ ภาคครัวเรือนยังมีสภาพคล่องดี และมีความสามารถในการดำรงการบริโภคได้ แม้มีรายได้สุทธิต่อค่าใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549 แต่การบริโภคไม่ได้ลดลง 
ในปี 2559 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยอยู่ในอันดับที่ 87 และดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ปรับความเหลื่อมล้ำแล้วอยู่อันดับที่ 70
 
แต่....วิกฤติโควิดที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องสาธารณสุขและเศรษฐกิจ กระทบคนในสังคมไม่เท่ากัน เพราะความสามารถในการหารายได้และรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นของคนในสังคมแตกต่างกัน ที่ถูกกระทบมากคือ คนจนที่มีช่องทางหารายได้จำกัดแต่มีจำนวนมาก เมื่อถูกกระทบจากโควิด รายได้คนส่วนใหญ่จึงหายไปหรือไม่เพิ่ม ซึ่งต่างจากคนรวยที่มีจำนวนน้อยกว่า แต่รายได้ขยายตัวแม้ถูกกระทบจากโควิด เพราะมีรายได้ทั้งจากการทำงานและสินทรัพย์ ความแตกต่างนี้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศยิ่งเพิ่มมากขึ้น


ซึ่งทาง กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยถึงความเหลื่อมล้ำ เป็นความเสี่ยงต่อประเทศ ถ้าไม่แก้ไข จากวิกฤติโควิด
วิกฤติโควิดกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและความเหลื่อมล้ำในสามช่องทาง
1) กระทบรายได้จากเศรษฐกิจที่ไม่ขยายตัว 
2) ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการระบาด
3) ความสามารถในการปรับตัวเมื่อวิกฤติเกิดขึ้น 
สำหรับประเทศไทย มีอีกสามเรื่องเกี่ยวกับโควิดและความเหลื่อมล้ำที่เราต้องตระหนัก 
    หนึ่ง ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลจากโครงสร้างการกระจายรายได้ที่ประเทศมี ที่มีความเหลื่อมล้ำมาก ทำให้ผลกระทบและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิดจึงออกมาแบบตัวอักษร K ที่ให้ประโยชน์คนในสังคมต่างกัน

กล่าวคือ คนส่วนน้อยที่เป็นเหมือนเส้นลาดขึ้นของตัวอักษร K มีการขยายตัวของรายได้ แม้ประเทศจะประสบวิกฤติโควิด เป็นกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การขนส่ง เกษตร อาหาร เครื่องดื่มและการธนาคาร ที่ธุรกิจเหล่านี้ขยายตัวในช่วงโควิด  ขณะที่ธุรกิจกลุ่มบริการ การค้าและภาคท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และเป็นฐานจ้างงานของคนรายได้น้อยจำนวนมากถูกกระทบมากจากวิกฤติโควิดและฟื้นตัวช้า เหมือนเส้นลาดลงของตัวอักษร Kความแตกต่างนี้ส่งผลต่อรายได้ของคนสองกลุ่มที่ต่างกัน กระทบการกระจายรายได้ของประเทศ 

สอง ความเหลื่อมล้ำที่เศรษฐกิจมีจะไม่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องมาจากการแก้ไขปัญหาที่จริงจัง นี่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ และการแก้ไขต้องทำในสองระดับ คือ ระดับก่อนการเกิดขึ้นของรายได้และระดับหลังการเกิดขึ้นของรายได้

    ระดับก่อนการเกิดขึ้นของรายได้ หมายถึง ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีโครงสร้างที่กระจายรายได้จากการผลิตให้แก่กลุ่มคนต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งโครงสร้างนี้จะมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างโอกาสให้คนในประเทศมีความสามารถในการหารายได้เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว

ตัวอย่างเช่น การปฏิรูปที่ดิน ที่ทำให้เกษตรกรมีโอกาสหาเลี้ยงชีพเพราะมีที่ดินเป็นของตนเอง โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข โอกาสในการได้รับการศึกษาที่ดี โอกาสในการมีงานทำ โอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อและบริการทางการเงินเพื่อเริ่มธุรกิจ และโอกาสที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งหมดก็เพื่อให้ประชาชนสามารถยกระดับความสามารถในการหารายได้และความเป็นอยู่ของตนให้สูงขึ้นตามกลไกตลาด การแข่งขัน และตามสิทธิที่พึงได้ในฐานะประชาชน 

    ระดับหลังการเกิดขึ้นของรายได้ หมายถึงนโยบายที่จะทำให้การกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตเป็นธรรมมากขึ้น ผ่านนโยบายภาษีและ มาตรการใช้จ่ายของภาครัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือ มีมากจ่ายมาก

ระบบภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน เช่น ภาษีที่ดินและ ภาษีที่เก็บจากการถ่ายเทความเป็นเจ้าของทรัพย์สินระหว่างรุ่น เช่น ภาษีมรดก ด้านการใช้จ่ายก็คือระบบการช่วยเหลือโดยภาครัฐเมื่อประชาชนชราภาพ เจ็บป่วยหรือตกงาน คือระบบสวัสดิการสังคม

มาตรการเหล่านี้ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ และเป็นกลไกที่สร้างแรงจูงใจให้คนในประเทศทำงาน เพราะมั่นใจว่าการช่วยเหลือทางสังคมที่รัฐจัดให้จะทำให้ความเป็นอยู่ของตนมีการดูแลตามควรตลอดช่วงชีวิต

    ระบบภาษีและมาตรการช่วยเหลือทั้งสองระดับนี้ อยู่ในวิสัยที่สังคมที่มีขนาดเศรษฐกิจอย่างประเทศเราสามารถจัดให้มีได้ เพื่อเป็นกลไกที่สร้างพลัง สร้างความหวังและความมั่นคงให้กับประชาชนของประเทศ แต่ข้อเท็จจริงคือ เรายังไม่ได้ทำอะไรมากในทั้งสองระดับนี้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศจึงมีมาก

    สาม ความเหลื่อมล้ำถ้าไม่มีการแก้ไขก็จะรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นความเสี่ยงต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคม เพราะความเหลื่อมล้ำมีผลโดยตรงต่อความสมานฉันท์และความไว้วางใจระหว่างคนในสังคม ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ กล่าวคือ 

    ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงจะทำให้คนในสังคมอยู่กันอย่างไม่อบอุ่น ไม่สมานฉันท์ เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่จริงใจและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลคือสังคมจะเป็นเหมือนสองสังคมซ้อนกัน คือ สังคมคนมีและสังคมคนไม่มี ทำให้คนในสังคมมีโอกาสขัดแย้งกันสูง

เกิดเป็นความเสี่ยงต่อการทำธุรกิจและกระทบการลงทุน เมื่อธุรกิจไม่ลงทุน เศรษฐกิจก็จะขยายตัวในอัตราต่ำ ไม่มีการจ้างงาน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ความเหลื่อมล้ำก็ยิ่งรุนแรง ส่งผลให้ความไม่สมานฉันท์และความขัดแย้งยิ่งมีมาก นี่คือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

    ประเทศที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนจำเป็นที่ต้องมีความสมานฉันท์ของคนในสังคมเป็นเงื่อนไขสำคัญ คือ ไม่มีความแตกแยกหรือขัดแย้งรุนแรง ซึ่งสาเหตุหลักของความขัดแย้งมักมาจากความรู้สึกไม่เป็นธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากความเหลื่อมล้ำที่ประเทศมี ทั้งในการหารายได้ โอกาสและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้น ประเทศควรต้องมีนโยบายที่ให้ความสำคัญในการดูแลเรื่องเหล่านี้ แต่สำคัญสุดคือคนในประเทศต้องตระหนักในปัญหาที่มี เข้าใจถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นถ้าปัญหาไม่มีการแก้ไข และร่วมกันสนับสนุนการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้น.

ประเทศไทย

7.ความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทยเพิ่มโอกาสให้เด็กยากจน 
เราต้องยอมรับให้ได้ว่า ข้อเท็จจริงแล้วยังมีเด็ไทยอยู่นอกการศึกษาอีกจำนวนมาก แม้นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังเป็นปัญหาที่น่ากังวล
7.1
ประเทศไทยมีเด็กเยาวชนวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อายุ 3-17 ปี) นอกระบบการศึกษามากกว่า 670,000 คนทั่วประเทศ เพราะปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสทางสังคม ความพิการและปัญหาครอบครัว
*อ้างอิง: รายงานเรื่องความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)
7.2
การศึกษาไทยไม่ได้ฟรีทั้งหมด
แม้ประเทศไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,267 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีจำนวนมากกว่าเกือบสองเท่า คือ 6,378 บาทต่อคนต่อปี 

*อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558
นอกจากนี้ยังมีค่าเดินทางและค่าเครื่องแบบเป็นภาระมากกว่าที่คิด ครัวเรือนยากจนมีภาระค่าเดินทางไปกลับโรงเรียนมากกว่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมด  เมื่อรวมกับค่าเครื่องแบบจะคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมด
*อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558
ข้อมูลจาก : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world

ประเทศไทย

8. การท่องเที่ยว
ในปี 2560 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 35.38 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่มีชาวต่างชาติ 336,000 ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายในปี 2510[151] ประเทศที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและลาว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศตั้งขึ้นในปี 2522 นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 6 แหล่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และกลุ่มป่าแก่งกระจาน

ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2559 รายงานความสามารถแข่งขันการเดินทางและการท่องเที่ยวปี 2558 จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศ โดยประเทศไทยมีคะแนนสูงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและโครงสร้างพื้นฐานบริการนักท่องเที่ยว แต่มีคะแนนต่ำในด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยและความมั่นคง

การค้าประเวณีและการท่องเที่ยวทางเพศถือเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ ประมาณการในปี 2546 ระบุมูลค่าไว้ 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณร้อยละ 3 ของเศรษฐกิจ เชื่อว่าเงินนักท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 10 ใช้ค้าประเวณี ดั่งคำคมที่ว่า มาเมื่องไทยไม่เจอกระหรี่ ก็เหมือนเข้า KFC ไม่เจอไก่ทอด,กระหรี่ก็เหมือนผี รู้ว่ามีแต่ไม่เคยเจอ

ประเทศไทย

9.อาหาร
ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องอาหารข้างถนน อาหารข้างถนนมีลักษณะเป็นอาหารตามสั่งที่ประกอบได้รวดเร็ว เช่น ผัดกะเพรา ผัดคะน้า ส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น เมื่อปี 2554 เว็บไซต์ CNNgo ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก

อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
อาหารไทยหลายชนิดใส่กะทิและขมิ้นสดคล้ายกับอาหารอินเดีย มาเลเซียและอินโดนีเซีย
อาหารไทยหลายชนิดเดิมเป็นอาหารจีน เช่น โจ๊ก ซาลาเปา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าและข้าวขาหมู เต้าเจี้ยว ซอสถั่วเหลืองและเต้าหู้
อาหารไทยกินกับน้ำจิ้มและเครื่องปรุงหลายชนิด เช่น พริกน้ำปลา พริกป่น น้ำจิ้มไก่ พริกน้ำส้ม ด้านเดวิด ทอมป์สัน พ่อครัวชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า อาหารไทยไม่เรียบง่าย แต่เน้น "การจัดเรียงส่วนที่ไม่เข้ากันให้เกิดอาหารที่กลมกล่อม"


10. 10อันดับ ของฝากชึ้นชื่อจากประเทศไทย 
    1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
    2. ทุเรียนทอด
    3. ยาหม่อง ยาดม
    4. กางเกงเล
    5. ผงเครื่องปรุง / เครื่องแกง
    6. ผงชาไทย
    7. สบู่ แชมพูสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย
    8. น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว กะทิ
    9. เพรทซ์ รสลาบ
    10. กางเกงมวยไทย

ประเทศไทย
ภาพจาก : .freepik