วันอาสาฬหบูชา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

13 กรกฎาคม 2565

วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พร้อมประวัติวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันใด มีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง

วันอาสาฬหบูชา 

วันอาสาฬหบูชา เป็น วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็น วันหยุดราชการ เป็นวันที่ชาวพุทธทุกคนควรตระหนักถึง ร่วมน้อมรำลีกถึงคำสอนดีๆ ของพระพุทธเจ้า คำสอนส่วนใหญ่กล่าวถึงการทำความดี เว้นสิ่งชั่วร้าย ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ รวมไปถึงความคิด ชาวพุทธควรยึดถือและควรปฏิบัติตามเพื่อเป็นการสืบทอดพุทธประเพณีสืบไป

วันอาสาฬหบูชา 2565 

วันอาสาฬหบูชาในปี 2565 นี้ ตรงกับ วันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม 2565 เป็น วันสำคัญเดือนกรกฎาคม เป็นวันหยุดราชการ เป็น วันพระใหญ่เดือนกรกฎาคม ให้ชาวพุทธได้ทำบุญและร่วม กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า

วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันพระใหญ่ ทำบุญ วันอาสาฬหบูชา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันใด

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 

วันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

วันอาสาฬหบูชา สมัยก่อนนั้นในเดือนแปด(8) ไม่มีการประกอบพิธีการบูชาวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย ประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2501 พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา จึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะสังฆมนตรี ได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 กำหนดให้มี พิธีอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ โดยคณะสังฆมนตรี โดยมีพิธีปฏิบัติเหมือนกับวันวิสาขบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นกัน

วันที่ใช้จัดงานวันอาสาฬหบูชา

วันที่ใช้จัดงานวันอาสาฬหบูชา จะไม่ตรงกันทุกปีตามปฏิทินสากล จะใช้ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด(8) (หากปีใดมีเดือนแปด(8)สองหน (ปีอธิกมาส) ให้เลื่อนไปเดือนแปดหลัง(88) จัดพิธี

วันอาสาฬหบูชา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง

ประวัติวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องมาจาก เหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด(8)คือ วันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ ซึ่ง เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก เป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้ โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรม คือ การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน จึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะ กลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล เป็นคนแรก หรือ เป็น พระสงฆ์องค์แรก นั่นเอง ทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้ง พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร คือเป็นวันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาให้ชาวโลกได้รับรู้ ว่ามีศาสนาพุทธเกิดขึ้นแล้ว เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดงพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ คือ พระพุทธเจ้าเป็นผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตามได้ ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"

ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวพุทธต่างระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า และยึดมั่นในหลักความดี

วันอาสาฬหบูชา กิจกรรม

ทำบุญตักบาตร

วันอาสาฬหบูชา กิจกรรม คือ ให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตลอดทั้งวัน จะมีการบำเพ็ญกุศลทำความดีต่างๆ เช่น การตักบาตรตอนเช้า การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา การฟังธรรม การกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ การรักษาศีล เว้นการทำบาปทั้งปวง ถือเป็นกิจกรรมที่ดีกับตัวเอง

เข้าวัดในฟังธรรม เวียนเทียน

วันอาสาฬหบูชา กิจกรรม คือ การทำบุญตักบาตรตอนเช้าแล้ว ก็เข้าวัดฟังธรรม การจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร การเจริญภาวนา ตอนเย็นก็เวียนเทียนที่วัด เป็นกิจกรรมที่ดีกับตัวเอง การนำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

กิจกรรมในวันวันอาสาฬหบูชา สิ่งที่ร่วมกันทำส่วนใหญ่มักจะเป็นการความสะอาดวัด หรือสถานที่สาธารณะการร่วมบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมในกลุ่มใหญ่ การปลูกต้นไม้ รวมทั้งควรศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอน และ ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ประวัติ และ เหตุการณ์สำคัญ มีอะไรบ้าง เข้าพรรษา เวียนเทียน อาสาฬหบูชา 2565

ขอบคุณ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ