AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ผนึก สกมช. สู่ภาคปชช. สร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์

27 เมษายน 2566

AISขยายผลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ สู่ภาคประชาชน ผนึกกำลัง สกมช. เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เสริมทักษะสร้างพลเมืองดิจิทัล ให้คนไทยทุกกลุ่ม ผ่านหน่วยงานเครือข่ายด้านความมั่นคงทั่วประเทศ

    AIS ยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทุกภาคส่วนเพื่อขยายผล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” หลักสูตรการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัลที่ได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาไทย ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกับAIS และภาครัฐ  ทั้งกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีโดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับทักษะดิจิทัลสร้างสังคมการใช้ดิจิทัลที่ถูกต้อง ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้คนไทย

 

   โดยที่ผ่านมาได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงมหาดไทยนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ส่งต่อไปยังบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ที่เริ่มแล้วกว่า29,000 โรงเรียนในเครือ สพฐ. ทั่วประเทศ

   ล่าสุดวันนี้ AIS ได้ลงนามความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์โดยตรงอย่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.ที่จะมาร่วมกันส่งต่อองค์ความรู้เนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ผ่านเครือข่ายและหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ ไปยังภาคประชาชน ทั้งเด็ก เยาวชน กลุ่มคนทำงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์

AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์  ผนึก สกมช.  สู่ภาคปชช. สร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์


เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันการใช้งานออนไลน์ มีทักษะดิจิทัล สามารถรับมือและใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์

 


   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ(สกมช.) กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจหลักของ สกมช.คือการมุ่งมั่นลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อยกระดับประเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

   ดังนั้นเราจึงเพิ่มความเข้มข้นของการทำงานโดยบูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการทำงานเพื่อวางรากฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์  โดยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของประเทศให้แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

    “สำหรับความร่วมมือกับ AIS  รวมถึง กรมสุขภาพจิต และ มจธ. ในครั้งนี้ นับเป็นอีกมิติหนึ่งขององค์กรที่จะนำความรู้ด้านทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เข้าไปบูรณาการในภารกิจหลักของสกมช.ที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับ ทั้งเด็ก เยาวชน คนทำงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการผ่านเครือข่ายการทำงานของสกมช.

AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์  ผนึก สกมช.  สู่ภาคปชช. สร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์


  ในรูปแบบของการทำงานเชิงรุกด้วยการสอดแทรกเนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ผ่านการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องภัยไซเบอร์ในระดับภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และวัดผลด้วยการทดลองทำแบบทดสอบจริง พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งหลักสูตรอุ่นไจไซเบอร์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของสกมช.เป็นรูปแบบของการทำงานที่เปิดกว้างให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย ได้ศึกษาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อสร้างการตระหนักรู้และให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย”  

 


    นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์  AISกล่าวว่า “นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารอัจฉริยะให้มีความพร้อมรองรับการใช้งานของลูกค้าและคนไทยแล้วภารกิจของ AIS ยังคงมุ่งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยเป็นแกนกลางของสังคมในการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ทั้งในมุมของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และในมุมของการสร้างภูมิปัญญา เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์จนนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุข

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์  AIS

     โดยกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่ร่วมกันออกแบบเนื้อหาให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรด้านการศึกษาไทยเพื่อเป็นสื่อกลางปลูกฝังและเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัลผ่าน 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะ คือ

1. Practice ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. Personality แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกอออนไลน์

3. Protection เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์

4. Participation รู้จักการปฏิสัมพันธ์ ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมโดยที่ผ่านมาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เข้าถึงคนไทยไปแล้วกว่า 224,886คน และมีโรงเรียนในสังกัดของสพฐ.นำไปเป็นบทเรียนให้แก่นักเรียนแล้วกว่า29,000 โรงเรียนทั่วประเทศไทย”


   “วันนี้เรายังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือเพื่อให้เนื้อหาเข้าถึงคนไทยในวงกว้างมากขึ้น โดยครั้งนี้เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันภัยไซเบอร์ระดับประเทศ อย่างสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ที่จะมาร่วมกันขยายผลการเรียนรู้หลักสูตร


    อุ่นใจไซเบอร์ให้เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ และครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่เด็ก เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุและคนพิการ ผ่านกลไกการทำงานของ สกมช.ที่มีหน่วยงานเครือข่ายการทำงานครอบคลุมในระดับตำบล อำเภอทั่วประเทศ ทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของจัดกิจกรรม การลงพื้นที่ หรือแม้แต่การร่วมกันสื่อสารสร้างองค์ความรู้ในช่องทางต่างๆ  ร่วมกัน”


    นางสายชล กล่าวต่อในช่วงท้ายว่า “โดยเราเชื่อว่าการทำงานร่วมกันอย่างสอดประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประชาชนอย่าง สกมช. ในครั้งนี้จะช่วยทำให้เป้าหมายการทำงานที่ทั้งสององค์กรมีร่วมกันคือมุ่งลดการเกิดปัญหาภัยไซเบอร์ สร้างทักษะทางดิจิทัล  ทั้งความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย ได้อย่างแน่นอน”

เกี่ยวกับ AIS


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1460 MHz (นับรวมคลื่นความถี่ที่ร่วมมือกับพันธมิตรรวมถึง NT ซึ่งอยู่ระหว่างการอนุมัติจาก กสทช.) และมีจำนวนผู้ใช้งานสุดกว่า 46 ล้านเลขหมาย (ณ ธันวาคม 2565) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibreและบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่

 

  วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ AIS eSports, AIS Insurance Service ทั้งหมดนี้เพื่อเดินหน้าตามวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ที่พร้อมนำศักยภาพเข้าสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน พบกับเราได้ที่ www.ais.th