หมอยกเคสน่าสนใจ ผู้ป่วยวัย 70 ปี มีอาการไอเรื้อรัง ตรวจพบหลอดลมดำ

17 ธันวาคม 2566

"หมอเบียร์" แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ ยกเคสน่าสนใจ ผู้ป่วยวัย 70 ปี มีอาการไอเรื้อรัง ตรวจพบหลอดลมดำ เสี่ยงมะเร็ง วัณโรค

เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจ จากกรณีที่ "พญ.ณัฐกานต์ ชื่นชม" หรือ "หมอเบียร์" แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก โพสต์เฟซบุ๊ก Nuttagarn Chuenchom ยกเคสผู้ป่วยน่าสนใจ ระบุว่า

หมอยกเคสน่าสนใจ ผู้ป่วยวัย 70 ปี มีอาการไอเรื้อรัง ตรวจพบหลอดลมดำ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

 

ซึ่งทางด้าน คุณหมอณัฐกานต์ อธิบายเกี่ยวกับเคสดังกล่าวว่า ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 70 ปี มาด้วยอาการไอเรื้อรังมีเสมหะปนเลือด หอบเหนื่อยจนเดินไม่ค่อยไหว ผอมน้ำหนักลด CXR มีคล้ายปอดอักเสบที่ด้านขวาล่าง แต่ก็คล้ายก้อน 

เมื่อ CT ปอด พบลักษณะคล้ายก้อนที่ปอดขวาล่าง X - ray ให้ความเห็นว่าเหมือนก้อนมะเร็ง น้องๆที่วอร์ดจึงคอนซัลเบียร์ไปทำ bronchoscope ส่องเข้าไปเจอหลอดลมเป็นสีดำทั่วๆ กระจายเป็นหย่อมๆ คุณหมอตกใจเลยเพราะไม่เคยเจอ 

"ไอ้เราก็เป็นหมอ ID ซะด้วย เคสปอดที่ล้ำๆ และยากก็ต้องค่อยๆ ศึกษาไป ตอนนี้รู้แล้วค่ะว่าเขาเรียกว่า Bronchial anthracosis หรือ Bronchial anthracofibrosis (BAF) ผู้ป่วยรายนี้หยุดสูบบุหรี่ไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่มีอาชีพทำไร่ทำสวนสัมผัสฝุ่นควันและมลภาวะเป็นเวลายาวนาน 

ฝุ่นถ่านดำที่เข้ามาในหลอดลมของเราก็จะทำให้เกิดพังผืดมากและเกิดการตีบ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดปอดติดเชื้อปอดอักเสบเนื่องจากการอุดกั้น เกิดปอดแฟบ (atelectasis) ที่เห็นในฟิล์มเป็นลักษณะคล้ายก้อนนั่นล่ะค่ะ

หมอยกเคสน่าสนใจ ผู้ป่วยวัย 70 ปี มีอาการไอเรื้อรัง ตรวจพบหลอดลมดำ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ผู้ป่วยจึงมีอาการไอเรื้อรัง อาการหอบเหนื่อยเพราะหลอดลมและเนื้อปอดผิดปกติ ถ้าเป็นหนักมากๆคือโดนเนื้อปอดด้วยเรียก black lung disease หรือโรคปอดถ่านหินเช่นที่เกิดในคนงานเหมืองถ่านหิน นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการเป็นวัณโรคได้ 20 % 

และเป็นโรคมะเร็งได้ 10% ตอนนี้ก็รอผลตรวจน้ำล้างปอดของคนไข้ก่อน แต่ไม่ได้ตัดชิ้นเนื้อเพราะหาก้อนไม่เจอ ระหว่างนี้รักษาปอดอักเสบ (Obstructive pneumonia) ไปก่อนค่ะ

จึงขอบันทึกไว้ว่าครั้งหนึ่งได้ตรวจพบภาวะนี้ Bronchial anthracosis or Bronchial anthracofibrosis รักษาปอดกันไว้ให้ดีนะคะ สัมผัสมลพิษ ฝุ่นควันดำขนาดใหญ่มากๆเข้าอาจเกิดหลอดลมหรือปอดพังได้เพราะสิ่งนี้ค่ะ"