ไทยอ่วม ดีเปรสชันทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน โมคา จ่อขึ้นฝั่ง ทำฝนฟ้าคะนองหนัก

11 พฤษภาคม 2566

เตือนไทยอ่วมแน่ พายุเปรสชันทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน ใช้ชื่อว่าพายุไซโคลน "โมคา" จ่อขึ้นฝั่งเมียนมา กระทบไทยมีฝนตกหนัก 11-14 พ.ค. 66

กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่พยากรณ์อากาศ เตือนประเทศไทยมีฝนตกหลายพื้นที่ ทั้งนี้มีผลจากอิทธิพลของพายุไซโคลนโมคา ที่ทวีกำลังมาจากพายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ระบุ

ลักษณะอากาศทั่วไป 11 พฤษภาคม 2566  เวลา 12.00 น. พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย 

สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่ง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

 

ไทยอ่วม ดีเปรสชันทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน โมคา จ่อขึ้นฝั่ง ทำฝนฟ้าคะนองหนัก

 

อนึ่ง เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (11 พฤษภาคม 2566) พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนโมคา” (MOCHA) แล้ว คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 11-16 พ.ค. 66 

ออกประกาศ 11 พฤษภาคม 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 12:00 น. วันนี้ ถึง 12:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส 
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม 
มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส 
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
บริเวณจังหวัดเพชรบุรี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2  เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 
ออกประกาศ 11 พฤษภาคม 2566

นอกจากนี้ยังได้เผยภาพถ่ายดาวเทียมแบบเคลื่อนไหวถึงใกล้เที่ยงวันนี้ (11/5/66) : RSMC New Delhi  ได้อัพเดทพายุบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน เป็นพายุไซโคลน แล้ว ชื่อ พายุไซโคลน "MOCHA" ให้ชื่อโดยประเทศเยเมน มีความหมาย เป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องกาแฟ บางครั้งอ่านออกเสียง "MOKHA (ม๊อกค่า/มูคา)" พายุนี้มีศูนย์กลางบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ คาดว่าจะแรงขึ้นได้อีก (เนื่องจากพายุยังก่อตัวอยู่ในทะเล) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนหรือ ชายแดนประเทศบังคลาเทศ ในช่วงบ่ายวันที่ 14 พ.ค.66

 

ไทยอ่วม ดีเปรสชันทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน โมคา จ่อขึ้นฝั่ง ทำฝนฟ้าคะนองหนัก

 

ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา