"พายุฤดูร้อน" ถล่มแรงที่สุด 38 จังหวัด 20-23 เม.ย. ล่าสุดชี้แจงชัด

21 เมษายน 2566

จากกรณีข่าวเตือนภัยพายุฤดูร้อนถล่มแรงที่สุด 38 จังหวัด 4 วันเต็ม ตั้งแต่ 20-23 เมษายน 2566 เพจ Anti-Fake News Center Thailand ตรวจสอบและชี้แจงล่าสุด

วันที่ 21 เมษายน 2566 จากกรณีข่าวเตือนภัยพายุฤดูร้อน เผยประเทศไทยพายุเข้าเป็นพายุฤดูร้อนถล่มแรงที่สุด 20-23 เมษายน 2566 มี 38 จังหวัดได้รับผลกระทบเต็มๆ จากพายุถล่มหนักฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ล่าสุดเพจ Anti-Fake News Center Thailand ตรวจสอบและชี้แจงล่าสุด

ทางเพจ โพสต์ชี้แจงหลังตรวจสอบข่าวลือ ดังนี้ ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในประเด็นกรมอุตุฯ เตือน 38 จังหวัดพายุฤดูร้อนถล่มหนักช่วงวันที่ 20 - 23 เม.ย. 66 แรงที่สุด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

พายุฤดูร้อน ถล่มแรงที่สุด 38 จังหวัด  20-23 เม.ย. ล่าสุดชี้แจงชัด



จากกรณีมีโพสต์เตือนภัยโดยระบุว่า กรมอุตุฯ เตือน 38 จังหวัดพายุฤดูร้อนถล่มหนักช่วงวันที่ 20 - 23 เม.ย. 66 แรงที่สุดนั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลประกาศดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาแต่อย่างใด โดยจากการพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 20 - 23 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ 

โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสน และตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th โทรสายด่วน 1182

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการพยากรณ์อากาศช่วงวันที่ 20 - 23 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

พายุฤดูร้อน ถล่มแรงที่สุด 38 จังหวัด  20-23 เม.ย. ล่าสุดชี้แจงชัด

 

ขอบคุณ Anti-Fake News Center Thailand