“เชียงคานโมเดล” Soft Power เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

20 กุมภาพันธ์ 2567

เดินหน้านโยบาย Soft Power หนุน "เชียงคานโมเดล" เสริมสร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนและสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

     นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ เปิดวัดสักการะสิ่งศักดิ์ยามค่ำคืน” และกิจกรรม “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ลอยผาสาด ใส่บาตรข้าวเหนียว”  พร้อมด้วยนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพจน์ จรูญพงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ระหว่างวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2567 ณ วัดศรีคุนเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

     นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft Power ของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนรอบวัดและศาสนาสถาน ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนจะได้มีโอกาสร่วมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนอำเภอเชียงคาน เป็นการเพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าวัดทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเพลิดเพลินไปกับความวิจิตรงดงามของวัดยามค่ำคืน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา สืบสานวิถีพุทธ เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนรอบวัด เปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ผ่านการชมทัศนียภาพของวัด โบราณสถาน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่มีความงดงาม 

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

กิจกรรม “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ เปิดวัดสักการะสิ่งศักดิ์ยามค่ำคืน”

     กิจกรรม 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ “เชียงคานโมเดล ของชุมชนคุณธรรม 1000 อาชีพ” ของอำเภอเชียงคานเป็นต้นแบบในการนำร่อง ซึ่งชุมชนคุณธรรมพลังบวรในมิติศาสนา มีจำนวน 3,000 แห่ง  ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีจำนวน 2,845 แห่ง ทั่วประเทศ 

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม
เพื่อพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ของดีชุมชน ได้แก่ 

  •  ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ซ่าปลา กุ้งเสียบ หอยเสียบแม่น้ำโขง มะขามกวน เมี่ยงคำ
  • ผลิตภัณฑ์จากผ้า เช่น ผ้าห่มนวม กระเป๋าผ้าฝ้าย ผ้าพันคอ 
  • ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เช่น โคมไฟ ดอกไม้จากเกล็ดปลา พวงกุญแจ เป็นต้น 

     โดยใช้ชุมชนคุณธรรมพลังบวรและศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้คู่คุณธรรม เสริมสร้างทักษะใหม่ สร้างสรรค์สินค้าและบริการ และผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อและตลาด เพื่อส่งเสริมอาชีพกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มพูนรายได้ให้กับครัวเรือน เดือนละประมาณ 17,000 บาท หรือ 200,000 บาทต่อปี ตามนโยบายของรัฐบาล  ทั้งยังส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญเพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและมีการเปิดวัดสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ท่องเที่ยวยามค่ำคืน 

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

ฟื้นฟูวิถีชีวิตและประเพณี “ผาสาดลอยเคราะห์” 
     พิธีกรรมโบราณสืบทอดกันมากว่า 100 ปี ตามความเชื่อว่า หากผู้ใดเห็นสิ่งไม่ดี สิ่งไม่เป็นมงคล หรือมีการเจ็บไข้ ประสบเคราะห์กรรม ให้ทำการลอยผาสาด เพื่อเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดีออกไป จะทำให้ชีวิตดีขึ้น มีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิต 

  • เป็นการขับเคลื่อน Soft Power ด้านเฟสติวัลและด้านท่องเที่ยว ด้วยมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม 
  • ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ไหว้พระเสริมสิริมงคลแก่ตนและครอบครัวเข้าวัดใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นแล้ว 
  • กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเรียนรู้ผ่านมุมมองของการถ่ายภาพ ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มโอกาสให้เยาวชนได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยในมุมมองใหม่ ด้วยการผนวกเทรนด์ของสังคมปัจจุบันเข้ากับการท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา 
  • กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนโดยรอบวัด ทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ เช่น ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึกโดยรอบวัด ร้านอาหาร คาเฟ่ ตลอดจนรถโดยสารสาธารณะ 

“เชียงคานโมเดล” Soft Power  เมืองเลย กระตุ้นเศรษฐกิจ-อนุรักษ์วัฒนธรรม

กิจกรรม “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ลอยผาสาด ใส่บาตรข้าวเหนียว”

  • ส่งเสริมให้ประชาชนสืบสานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยในอดีต ด้วยการเข้าวัดในวันธรรมสวนะเพื่อทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ สมาทานรักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระ ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตตภาวนา 
  • สนับสนุนสินค้าของชุมชนบริเวณรอบวัด เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับประชาชนและชุมชน