สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย "รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ"

01 กุมภาพันธ์ 2567

รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ Level 3 รองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน เตรียมความรู้และบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านอีกขั้น ทดลองให้บริการ 31 มกราคม 2567 - 1 กรกฎาคม 2567 รอบบึงพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

     ปัจจุบันทั่วโลกเริ่มปรับตัวรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คาดว่าในอีก 10 - 20 ปีข้างหน้า จะเข้ามาแทนรถยนต์สันดาป  รวมทั้งความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ก็คือการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคของ “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ” (Connected and Autonomous Vehicle :CAV) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ยานยนต์อัตโนมัติ”  ที่ตัวยานยนต์จะมีระบบอัตโนมัติในการขับขี่และสามารถสื่อสารกับยานยนต์คันอื่นได้ โดยมีการกำหนดระดับขั้นของการพัฒนาระบบอัตโนมัติของยานยนต์ไว้ 5 ระดับ ตั้งแต่ในระดับที่มีระบบช่วยเหลือการขับขี่บางส่วน เช่น Cruise control (Level 1) ไปจนถึงระบบที่รถยนต์ทำงานอย่างอิสระเต็มรูปแบบโดยไม่จำเป็นต้องมีคนขับ  (Level 5) และหนึ่งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ก้าวทันต่อการปรับตัวสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับ ที่จะมาถึงในอนาคอันใกล้คือ การสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนา “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

คุณศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานพิธีเปิดตัว 31 มกราคม 2567

     “โครงการสร้างรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 5G เพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน” ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มอบหมายให้ ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนารถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ร่วมกับ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (TKC) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เดือน (พ.ย. 65 - ก.ค. 67) 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

     รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน และหัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะ หัวหน้าโครงการฯ  กล่าวว่า ในส่วนของการพัฒนารถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ต้นแบบคันนี้ ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนาในหลายส่วน ทั้งการพัฒนาและติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเข้าไปในรถบัสไฟฟ้าซึ่งถูกผลิตในประเทศไทย.

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

ระบบควบคุมรถจากข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากเซนเซอร์ ได้แก่ 

  • ไลดาร์ จำนวน 6 ตัว 
  • เรดาห์ จำนวน 1 ตัว 
  • การทำแผนที่ความละเอียดสูงในเส้นทางวิ่งที่กำหนด และการเขียนโปรแกรมในการควบคุมและสั่งการรถบัส 
  • โดยรถบัสมีความสามารถการขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3 ซึ่งจะขับเคลื่อนได้เองตามเส้นทางวิ่งที่กำหนดไว้แต่ยังมีความจำเป็นต้องมีพนักงานขับขี่นั่งอยู่หลังพ่วงมาลัยเพื่อความปลอดภัยและการตัดสินใจในบางสถานการณ์ 
  • มีการจัดทำระบบสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย 5G ที่จะทำให้รถสามารถสื่อสารกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่จองที่นั่งผ่านแอปพลิเคชันได้ 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"
สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

การออกแบบระบบ Drive by wire ประกอบด้วย 

  1. ระบบบังคับพวงมาลัยด้วยสัญญาณไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ที่ติดตั้งบริเวณก้านพวงมาลัยเพื่อควบคุมการหมุนของพวงมาลัย 
  2. ระบบเบรกด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ที่ติดตั้งบริเวณแป้นเบรก 
  3. ระบบสั่งการคันเร่งด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าที่จะควบคุมการเปลี่ยนความเร็วของรถ ที่สำคัญคือระบบย่อยทั้ง 3 ระบบข้างต้น จะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่เก็บสัมภาระหลังคนขับ ที่จะมีฟังก์ชันสั่งการในการทำงาน 7 อย่าง คือ  การเร่ง การเบรก การหมุนของพวงมาลัย การสตาร์ทรถ การเปลี่ยนเกียร์การเปิดปิดไฟเลี้ยว เเละการทำงานของแตร 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

การออกแบบระบบเซนเซอร์บนรถ

  • มีเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุและวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ หรือไลดาร์  (Light Detection and Ranging System – LiDAR)   ที่สามารถตรวจจับวัตถุในระยะไกลสุด 100 เมตร จำนวน 4 ตัว  ตรวจจับวัตถุที่ระยะไกลสุด 200 เมตรอีก 2 ตัว 
  • ทำงานร่วมกับเซนเซอร์เรดาห์ 1 ตัว ที่ติดตั้งบริเวณด้านหน้ารถเพื่อเพิ่มเติมการตรวจจับวัตถุในระยะไกล 

       โดยทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูล ณ เวลาและตำแหน่งปัจจุบัน ที่จะถูกนำไปประมวลผลร่วมกับแผนที่ความละเอียดสูงที่อยู่ในฐานข้อมูล เพื่อให้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติทำการตัดสินใจและสั่งการบังคับรถผ่านระบบ Drive by wire ในแต่ละฟังก์ชันต่อไป

การชาร์จรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ
     ได้รับการสนับสนุนพื้นที่จากเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรงขนาดกำลังไฟ 40 kW รวมทั้งเป็นพื้นที่จอดรถระหว่างการทดลองวิ่งให้บริการ

เทคโนโลยี 5G  เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
     ดร.ภาณุภัทร์ ภู่เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคม จาก บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รองหัวโครงการฯ ให้ข้อมูลว่า ได้นำระบบ 5G มาผสานกับเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็น “ต้นแบบ” ของเทคโนโลยี C-V2X  (Cellular Vehicle-to-Everything)  ซึ่งเป็นระบบสื่อสารที่นำโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นพื้นฐานให้รถคันนี้สื่อสารกับสิ่งที่ต้องการเชื่อมต่อได้  ดังนั้น การสื่อสารผ่านเครือข่าย 5G กับแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว สามารถเรียกรถและจองที่นั่ง รวมทั้งดูตำแหน่งปัจจุบัน และเวลาที่รถจะมาถึงได้ 
     โดยระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมต่อยานยนต์กับการใช้งานด้านอื่นอีกมากมายในอนาคต ได้แก่ การเชื่อมต่อข้อมูลกับผู้โดยสารหรือผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อกับคนเดินเท้าหรือยานยนต์คันอื่น รวมถึงป้ายสัญญาณไฟจราจร ตลอดจนการรายงานอุบัติเหตุบนเส้นทาง ที่ทำให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา “ยานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  

  • ต้นแบบรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ที่จะมีการนำไปทดลองวิ่งบริการนักท่องเที่ยวในพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ 31 มกราคม 2567 เป็นต้นไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 แล้ว 
  •  เตรียมความรู้และบุคลากรเพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านอีกขั้นจาก “ยานยนต์ไฟฟ้า” สู่ “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  
  • ต่อยอดการวิจัยและพัฒนายานยนต์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย  
  • การทำโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้เห็นทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ในด้านนโยบาย ด้านมาตรฐาน และด้านอื่นๆ ของประเทศไทยในการพัฒนา “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  ซึ่งถือเป็นยานพาหนะเพื่อการเดินทางสมัยใหม่ 
  • ผลักดันให้ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ได้หันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างจริงจังยกระดับการท่องเที่ยวไร้มลพิษไปอีกขั้นอย่างแท้จริง

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"  

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

ทดลองวิ่งให้บริการรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา

     31 มกราคม 2567 -   1 กรกฎาคม 2567 จะมีการทดลองวิ่งให้บริการรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในเส้นทางรอบบึงพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วันศุกร์ - วันอังคาร เวลา 09.00 – 17.00 น. 
เรียกรับบริการ ผ่านแอปพลิเคชัน “5G Auto Bus” ได้ ณ ป้ายจอดรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ 4 แห่ง รอบบึงพระราม ได้แก่ 

  1. ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองพระนครศรีอยุธยา 
  2. วัดมหาธาตุ 
  3. วัดธรรมิกราช 
  4. วัดพระราม    

     สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  โทรศัพท์ 02-470-9637 หรือ 092-465-8936 อีเมล์ [email protected]  https://move.kmutt.ac.th