อย่าสับสน ไข้ VS ฮีตสโตรก อันตรายถึงชีวิต แพทย์ชี้ความต่างที่ต้องรู้

ไข้ VS ฮีตสโตรก แพทย์ชี้ความต่างที่ต้องรู้ ซึ่งหากไม่สังเกตและแยกแยะอาการให้ดี อาจนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่คาดคิด
อย่าสับสน ไข้ VS ฮีตสโตรก อันตรายถึงชีวิต แพทย์ชี้ความต่างที่ต้องรู้ ฤดูร้อนเมืองไทย...อันตรายกว่าที่คิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยง "ล้ม" วูบจากอุณหภูมิสูงโดยไม่รู้ตัว
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง มช. ชี้ชัด: หัวใจสำคัญคือ "แยก 'ไข้' ออกจาก 'ฮีตสโตรก'" เพราะการดูแลรักษาแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
ไข้ (Fever) VS ฮีตสโตรก (Heat Stroke) สัญญาณเตือนที่ไม่เหมือนกัน
ลักษณะอาการ ไข้ (Fever)
- สาเหตุ : ร่างกายสู้เชื้อโรค จึงเพิ่มอุณหภูมิ
- การควบคุมอุณหภูมิ : ควบคุมได้: เหงื่อออก, หนาวสั่น
- กลไกอุณหภูมิเพิ่ม : จากภายในร่างกาย
- ความอันตราย : โดยทั่วไปไม่อันตรายถึงชีวิต
ลักษณะอาการ ฮีตสโตรก (Heat Stroke)
- สาเหตุ : ร้อนจัด + ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน
- การควบคุมอุณหภูมิ : ควบคุมไม่ได้: เหงื่อหยุด, ตัวแห้ง, สมองเริ่มสับสน
- กลไกอุณหภูมิเพิ่ม : จากภายนอก (ความร้อน)
- ความอันตราย : อันตรายถึงชีวิต! อุณหภูมิสูงทะลุ 40°C คุมไม่อยู่
อุณหภูมิเท่าไหร่? ถึงเริ่ม "อันตราย"
- 30–35°C: เหนื่อยง่าย, เหงื่อออกมาก
- 35–40°C: เสี่ยงเป็นลม, ตะคริว, ความดันต่ำ
- 40–45°C: เสี่ยงฮีตสโตรก! สมอง, หัวใจ, ไต อาจเสียหาย
- >45°C: ช็อก หรือเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที
- >50°C: ร่างกายรับไม่ไหว, เซลล์เสียหายทันที
ทำไมสัตว์บางชนิดทนร้อนได้?
- สัตว์เลือดอุ่น (คน, สุนัข): ควบคุมอุณหภูมิเองได้ ต้องดื่มน้ำและกินอาหารบ่อย ๆ
- สัตว์เลือดเย็น (งู, กิ้งก่า): อุณหภูมิเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อม เคลื่อนไหวช้า เสี่ยงตายถ้าร้อนจัดเกินไป
สรุปสำคัญ: อย่าชะล่าใจ ถ้าตัวร้อนแต่ ไม่มีเหงื่อ, ตัวแห้ง, สับสน ให้สงสัย "ฮีตสโตรก" รีบนำส่งแพทย์ด่วน ภาวะนี้คร่าชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง