ไขข้อข้องใจ "ทำไมบางคนใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด" แต่ไม่ติดเชื้อ

20 พฤษภาคม 2565

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

 จากกรณีสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อเนื่อง ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดน้อยลงแล้ว แต่ยังคงสร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนอยู่ เพราะว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย มีลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็แพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว 

 ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

ขณะที่ทางด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ไขข้อสงสัยว่า ทำไมบางคนไม่ว่าจะเป็น "เด็ก คนหนุ่มสาว หรือผู้สูงวัย" แม้จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 นานเท่าใดก็ไม่ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด (resistant)? ทำไมบางคนเมื่อติดเชื้อโควิด-19 กลับมีอาการรุนแรง และบางรายถึงขั้นเสียชีวิตทั้งที่อายุน้อยกว่า 50 ปีและไม่มีโรคประจำตัว (life-threatening)

-
สธ. "เฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง" ห่วงคนเกิดหลังปี 2523 ยังไม่เคยฉีดวัคซีน
-ฟังชัดๆคลิปสัมภาษณ์ "นักตบเบอร์ 10 เวียดนาม" หลังเเฟนลูกยางไทยแห่จับพิรุธ
-เปิดเงื่อนไขนักดื่มต้องรู้ "ศบค.เคาะเปิดผับ-บาร์ คาราโอเกะ" 1 มิ.ย. นี้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ร่วมมือกับ "นักวิจัยนานาชาติ" ถอดรหัสพันธุกรรมผู้ติดเชื้อทั้งจีโนม (โครโมโซม 23 คู่ อันประกอบด้วย 25,000 ยีนจาก 3,000 ล้านเบส) เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ร่วมไปกับการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 (30,000 เบส) จากงานวิจัยในอดีตจนถึงปัจจุบันบ่งชี้ว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสแทบทุกประเภทรวมทั้งไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ (asymtomatic) หรือมีอาการไม่รุนแรง (mild) เป็นเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงและบางรายถึงขั้นเสียชีวิต (life-threatening) เมื่อไวรัสรุกรานเข้าไปในร่างกายของผู้ติดเชื้อส่วน "จีโนมของไวรัส" จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผู้ติดเชื้อ เช่นเซลล์ปอดให้สร้างสารโปรตีนขึ้นมาต่อต้านในทันทีอย่างไม่จำเพาะ (ต่อต้านไวรัสทุกสายพันธุ์) ซึ่งเรียกกันว่า "อินเตอร์เฟียรอน (Interferon: IFN)" โดยมีฤทธิ์ขัดขวางการเพิ่มจำนวนของไวรัส อินเตอร์เฟียรอนจะเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาก่อนแอนติบอดีเพื่อจัดการกับไวรัสทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง  ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

งานวิจัยล่าสุดพบว่ากว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง พบว่าในร่างกายกลับมีการสร้าง "แอนติบอดีต่อร่างกายตนเอง (Auto-antibodies) " เข้าทำลาย "อินเตอร์เฟียรอน" และปริมาณของ Auto-antibodies จะถูกสร้างเพิ่มขึ้นตามอายุและจะพบมากในผู้มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนอีกประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์พบว่าเป็นผู้ติดเชื้อที่มียีนกลายพันธุ์มาแต่กำเนิด (inborn errors) ทำให้ร่างกายสร้างอินเตอร์เฟียรอนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับคนปกติ หรือไม่สร้างเลย ซึ่งในทั้งสองกรณีส่งผลให้ร่างกายผู้ติดเชื้อผลิตอินเตอร์เฟียรอนลดลง ทำให้ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีอะไรมายับยั้งก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่รุนแรง (ภาพ 3-4) ในอนาคตหากมีงานวิจัยออกมายืนยันเป็นจำนวนมาก อาจมีการให้อินเตอร์เฟียรอนแก่ผู้ที่มีภาวะ "อินเตอร์เฟียรอนบกพร่อง" ก็เป็นได้

 ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

ขณะนี้ทีมวิจัยจีโนมผู้ติดเชื้อทั่วโลกกำลังประเมินว่าการฉีดวัคซีนรวมเข็มกระตุ้นที่ช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่ป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจะสามารถชดเชย (compensate) การกลายพันธุ์ตั้งแต่เกิดของผู้ติดเชื้อที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน (primary immunodeficiency) และการสร้าง Auto-antibodies ต่อต้านอินเตอร์เฟียรอนในผู้สูงวัยอันส่งผลให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างรุนแรงได้หรือไม่


นอกจาก 20 + 3.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรงที่เราทราบสาเหตุแล้ว (ภาพ 5) นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังพยายามหาสาเหตุอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อต้องมีอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นเรายังพบว่ามีคนจำนวนหนึ่งไม่ว่าจะเป็น "เด็ก คนหนุ่มสาว หรือผู้สูงวัย" สามารถต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Resistant to COVID-19 infection) แม้จะอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไอจามอย่างรุนแรงและอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลานาน ทั้งที่ไม่ได้ฉีดหรือฉีดวัคซีนก็ตาม จึงทำให้เกิดมีโครงการ "COVID Human Genetic Effort" ขึ้นมา ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติที่ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทุกยีน (25,000 ยีน) หรือทั้งจีโนม (3 พันล้านเบส) เน้นในสองกลุ่มหลักคือ กลุ่มแรกเป็นผู้ที่สามารถต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่มีการติดเชื้อรุนแรง ว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนใดเข้ามาเกี่ยวข้อง

 ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

โดยตรวจสอบเปรียบเทียบในประชากรแต่ละเชื้อชาติว่ามีการกลายพันธุ์ "ที่ยีนเดียวกัน" และ "บนตำแหน่งเดียวกันของยีนดังกล่าว" หรือไม่อย่างไร เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาในการสร้างยาใหม่หรือใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจะติดเชื้อรุนแรงให้ได้รับยาหรือเวชภัณฑ์ต้านไวรัสอย่างรวดเร็วทันต่อการรักษาที่จะให้ประสิทธิภาพสูงสุด


สรุปได้ว่า "Auto-antibodies" เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่สองที่ทำให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตรองลงมาจาก "อายุ" แต่สูงกว่าอันดับสามและสี่คือ "เพศ" และ "การกลายพันธุ์แต่กำเนิด (inborn error)" ที่ส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง (primary immunodeficiency)

   ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

โครงการ "COVID Human Genetic Effort" มีศูนย์ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Genome sequencing center) มากกว่า 50 แห่ง และโรงพยาบาลหลายร้อยแห่งทั่วโลกเข้าร่วม นำโดย ศ.ฌอง-โลรองต์ คาสโนว่า (Prof. Jean-Laurent Casanova) จากมหาวิทยาลัยร็อคกี้เฟลเลอร์ และ ศ.เฮเลน ซู (Prof. Helen Su) จากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) มีผู้เข้าร่วมในโครงการมาจากหลายประเทศ หลายเชื้อชาติ อาทิ เอเชีย ยุโรป ลาตินอเมริกา และตะวันออกกลาง รวมทั้งศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี จากประเทศไทย

 ไขข้อสงสัย ทำไมบางคนอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แต่ไม่ติดเชื้อ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ร่วมมือกับโครงการ "COVID Human Genetic Effort" ในการเฟ้นหาตำแหน่งสำคัญบนจีโนมของประชากรไทยและประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รุนแรงรวมทั้งยีนกลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อที่สามารถต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คาดว่าจะมีข่าวดีมารายงานให้ทราบเร็วๆ นี้ การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ได้พัฒนามาใช้เทคโนโลยี long-read human genome sequencing เพื่อให้สามารถตรวจจับรูปแบบการกลายพันธุ์บนจีโนมมนุษย์ได้ดีขึ้น

 

ขอบคุณ FB : Center for Medical Genomics