ต้นกำเนิด "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2 จากเอเชีย รุนแรง - อันตรายแค่ไหนไปดู!

26 มกราคม 2565

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา ล่าสุดพบป่วยแล้วเกือบ 10,000 ราย ในเวลาอันสั้น

จากกรณีการแพร่ระบาดอย่างหนัก ของ โควิดโอไมครอน รหัสพันธุกรรม B.1.1.529 แม้อาการโอไมครอนโควิดจะไม่ค่อยรุนแรงจนถึงขั้นคร่าชีวิตมนุษย์ให้เสียชีวิตเป็นใบไม้ร่วงก็ตาม แต่เมื่อขึ้นชื่อว่า โควิด ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใด ก็ไม่มีใครอยากติดทั้งนั้น เพราะรับประกันไม่ได้ว่า คุณจะรอดพ้นจากการติดเชื้อหรือไม่ ยิ่งผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนยิ่งน่าเป็นห่วงที่สุด 

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา พบป่วยเกือบหมื่นแล้วในเวลาอันสั้น

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับความน่ากลัวของ โอไมครอนสำหรับผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีนว่า "ความรู้เรื่อง COVID-19 ตอนที่ 1098 ผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิด ป่วยหนักจนต้องเข้าไอซียู มากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนสูงมากถึง 4 - 15 เท่าตัว นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงในการป่วยหนักจากโควิด"

 

- หมอเฉลิมชัย เตือนประเภทบุคคลเสี่ยงเข้าไอซียูหากติดโอไมครอน

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา พบป่วยเกือบหมื่นแล้วในเวลาอันสั้น


ล่าสุดมีรายงานว่า โลกกำลังจับตา โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 อย่างหนัก หลังพบแล้ว 8,000 รายใน 40 ประเทศ ซึ่งเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์ พบข้อมูลว่า อาจติดต่อง่ายกว่าสายพันธุ์หลัก อีกทั้ง สำนักงานความมั่นคงสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) จัดให้ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกจัดให้เป็น สายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การสืบสวน แล้ว หลังจากพบผู้ติดเชื้อตัวนี้แล้ว 426 ราย นับตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา

 

โดย ​UKHSA กำลังตรวจสอบลักษณะพิเศษของเชื้อดังกล่าว และทำความเข้าใจว่า มันจะส่งผลต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษอย่างไรในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า อัตราส่วนผู้ติดเชื้อ BA.2 ในอังกฤษเริ่มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเมื่อเทียบกับสายพันธุ์หลักอย่าง BA.1 แต่ยังคงเป็นส่วนน้อย

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา พบป่วยเกือบหมื่นแล้วในเวลาอันสั้น


นอกจากนี้ การแพร่กระจายของเชื้อ โอไมครอนสายพันธุ์ BA.2 กำลังได้รับการจับตามองจากทั่วโลก หลังการวิเคราะห์เบื้องต้นของเหล่านักวิทยาศาสตร์อังกฤษพบว่า เชื้อตัวนี้ อาจติดต่อง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์หลัก แต่ยังไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 สายพันธุ์มากนักโดยเฉพาะในเรื่องความรุนแรงของอาการป่วย


ตามรายงานระบุว่า  BA.2 ถูกพบแล้วในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก มีการส่งตัวอย่างลำดับพันธุกรรมเข้าสู่ฐานข้อมูลของ จีเสด (Gisaid) ถึง 8,040 ราย นับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา พบป่วยเกือบหมื่นแล้วในเวลาอันสั้น


"โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2"  มันกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในอินเดีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นชาติแรกที่พบเชื้อสายพันธุ์นี้ ขณะที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราส่วนผู้ติดเชื้อโควิด BA.2 ในเยอรมนีกับเดนมาร์กกำลังเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายหลังพบส่งตัวอย่างลำดับพันธุกรรมถึง 6,411 ราย ขณะที่​ประเทศอื่นๆ ที่ส่งตัวอย่างลำดับพันธุกรรมเข้าสู่ฐานข้อมูลของจีเสด มากกว่า 100 รายการได้แก่ อินเดีย, สวีเดน และสิงคโปร์ ส่วนที่สหรัฐฯ เริ่มมีรายงานพบผู้ติดเชื้อแล้วหลายราย

ทำความเข้าใจ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 รุนแรง - อันตรายแค่ไหนจนทั่วโลกต้องจับตา พบป่วยเกือบหมื่นแล้วในเวลาอันสั้น