ค่าครองชีพพุ่งทะยาน รวมสินค้าขึ้นราคา และเพิ่มการจัดเก็บภาษี

10 มกราคม 2565

เรียกได้ว่ารับผลกระทบทุกหย่อมหญ้า หลังค่าครองชีพพุ่งทะยาน หลังสินค้าหลายรายการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มการจัดเก็บภาษี อีกมากมายโดยรัฐบาลไม่คำนึงถึงผลกระทบ

วันนี้ทีมงานไทยนิวส์ รวมรวมสินค้าขึ้นราคา และจ่อขึ้นราคา รวมทั้งการเพิ่มการจัดเก็บภาษี ที่ส่งรับผลกระทบต่อคนไทย ทุกหย่อมหญ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาก ค่าครองชีพพุ่งทะยานนี้ รัฐบาลเพิ่มการจัดเก็บภาษีอีกมากมายโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ หรือไม่ 

โดยค่าแรงขั้นต่ำประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างยังคงยึดตามค่าแรงขั้นต่ำของปี 2563 (อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับที่ 10) ตามเดิม ไม่มีเพิ่มเติมใดๆ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา อยู่ที่ 313 บาท/วัน หรือ 9,390 วัน

ส่วนรายได้คนไทย ในประเทศ ปี 2563 มีรายได้ต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 225,846 บาท/คน หรือเดือนละ 18,820.5 บาท/คน ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานในปี 2564 ระบุว่าค่าจ้างรายวันขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันจะอยู่ที่วันละ 331 บาท ส่วนเงินเดือนเริ่มต้นของปริญญาตรีจบใหม่ จะเริ่มที่ 15,000 บาท 

ซึ่งต้องบอกเลยว่า "รายได้" สวน...กระแส  กับ"ค่าครองชีพ"ที่พุ่งทะยานขึ้นรอบตัว โดยสินค้าขึ้นราคา และจ่อขึ้นราคา รวมทั้งการเพิ่มการจัดเก็บภาษี ที่ส่งรับผลกระทบต่อคนไทยจะมีอะไรบ้างไปรับชมพร้อมๆกันเลย
 

ไข่ไก่ขึ้นราคา 6 บาท/แผง

ไข่ไก่ขึ้นราคา 6 บาท/แผง

จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ แจ้งราคาแนะนำไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ส่งผลให้วันที่ 10 ม.ค. 2565 ราคาแนะนำไข่ไก่คละอยู่ที่ฟองละ 3 บาท และจากการปรับราคาขึ้นมาใหม่ นั้น ล่าสุดสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย เปิดเผยว่า ไข่ไก่ปรับราคาขึ้น 20 สตางค์/ฟอง (6 บาท/แผง) จะมีผลในวันจันทร์ที่ 10 ม.ค. 2565 นั้น ได้มีการสำรวจการรับซื้อไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ รับซื้อ 3 บาท/ฟอง  ส่วน สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด ราคา 3 บาท/ฟอง ส่วน ร่วมมิตร (สุทธิสาร) รับซื้อ 2.90 บาทต่อฟอง


เนื้อไก่ขึ้นราคา 13 บาท/กิโลกรัม

เนื้อไก่ขึ้นราคา 13 บาท/กิโลกรัม
วันที่ 10 ม.ค.64 นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน  ความต้องการเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย โดยราคาเฉลี่ยหน้าฟาร์มปรับมาอยู่ที่ 37-39 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่คนเลี้ยงมีต้นทุนอยู่ที่ 36-38 บาทต่อกิโลกรัม แม้จะปรับไม่มาก และเป็นราคาทรงตัวตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่ก็ดีขึ้นกว่าช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดีกว่าเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วที่ราคาเฉลี่ยประมาณ 34-35 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาไก่ทั้งตัว เฉลี่ยต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 80 บาท อกไก่ 75 บาท น่องไก่ 65 บาท ซึ่งคาดว่าราคาน่าจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการในตลาด ในระหว่างรอผลผลิตเนื้อหมูจากการเลี้ยงรอบใหม่อีกระยะหนึ่ง

เนื้อหมูขึ้นราคา 50 บาท/กิโลกรัม

เนื้อหมูขึ้นราคา 50 บาท/กิโลกรัม

จากกรณีที่เป็นประเด็นบนโลกโซเชี่ยลที่ปรากฏราคาหมูแพงพุ่งขึ้นไปถึง กก.ละ 200 บาท ขณะที่ราคาหมูในห้างค้าปลีกปรับขึ้นราคาทะลุเกินกว่า 200 บาท/กก.ไปแล้ว ด้านนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงหมูขณะนี้มีปริมาณผลผลิตหมูในตลาดปรับลดลง 50% จากปริมาณการบริโภคเฉลี่ยวันละ 40,000 ตัว สาเหตุหลักที่ปริมาณหมูลดลงมาจากปัญหาโรคระบาดในหมูหลายโรคได้สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตหมูมา 2 ปีแล้ว ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงจากราคาอาหารสัตว์ได้ปรับสูงขึ้นกว่า 30% ทั้งวัตถุดิบข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลังปรับสูงขึ้นหมด ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเฉพาะค่าอาหารเฉลี่ย 8,000 บาทต่อ กก. และยังมีต้นทุนแฝงจากการป้องกันโรคระบาดหมูเพิ่มขึ้นมาอีกเฉลี่ย 500 บาทต่อตัว ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูต้องหยุดการเลี้ยงไปกว่า 80-90% คิดเป็นสัดส่วนการเลี้ยงของรายย่อย 20% ของทั้งประเทศ ขณะที่รายใหญ่เลี้ยงอยู่ประมาณ 80%  ” ภาพรวมราคาหมูตอนนี้หน้าเขียง กก.ละ 200 บาท หากคิดย้อนกลับมาเป็นราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มตกประมาณ กก.ละ 100 บาท บวกลบ 2-3 บาท ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ปัญหาหลัก ๆ มาจากโรคระบาดรุนแรงมากกว่าปัจจัยเรื่องราคาอาหารสัตว์เพราะต้นทุนอาหารควบคุมได้ ถามว่าราคาหมูจะปรับขึ้นไปเกินกว่านี้ไหมในช่วงตรุษจีน ผมเองก็แทบไม่อยากเชื่อว่า ราคาหมูจะขยับขึ้นไปมากขนาดนี้” 


ขึ้นค่าทางด่วน 15 - 35 บาท

ขึ้นค่าทางด่วน 15 - 35 บาท

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.64  ราชกิจจาฯ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ พ.ศ. 2564

คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ได้พิจารณาตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานการลงทุน ออกแบบก่อสร้าง บริหารจัดการ ให้บริการและบำรุงรักษาโครงการทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระหว่าง บริษัทคู่สัญญาและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว จึงกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ ศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอบกรุงเทพมหานคร เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษประเภทของรถที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ พ.ศ. 2564"
ข้อ 2 ประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ข้อ 4  ให้ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ
ข้อ 5 ให้รถตามบัญชีประเภทของรถที่ต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษท้ายประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ เป็นรถที่ต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ
ข้อ 6 ให้รถตามบัญชีประเภทของรถที่ได้รับการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษท้ายประกาศ กระทรวงคมนาคมนี้ เป็นรถที่ได้รับการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ
ข้อ 7 ค่าผ่านทางพิเศษไม่เกินอัตราค่าผ่านทางพิเศษท้ายประกาศกระทรวงคมนาคมนี้
ข้อ 8 ผู้ใช้ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ที่จะเข้าใช้ทางพิเศษศรีรัช (ทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์) และทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางพิเศษสายดินแดง - ท่าเรือ สายบางนา - ท่าเรือ และสายดาวคะนอง - ท่าเรือ) ต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ณ สถานที่จัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางซื่อ 2 ตามอัตราที่ประกาศกระทรวงคมนาคม  กำหนดให้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถ ที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ
ข้อ 9 ผู้ใช้รถบนทางพิเศษต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษตามอัตราที่ประกาศโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ณ สถานที่จัดเก็บตามที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

น้ำมันทุกชนิดขึ้น 7.9 บาท/ลิตร เว้น E85 ปรับขึ้น 4.85 บาท/ลิตร

น้ำมันทุกชนิดขึ้น 7.9 บาท/ลิตร เว้น E85 ปรับขึ้น 4.85 บาท/ลิตร

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 โออาร์และบางจากฯ แจ้งปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดขึ้น 0.40 บาทต่อลิตร เว้น E85 ปรับขึ้น 0.20 บาทต่อลิตร มีผล 11 มกราคม 2565 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้ ULG = 39.56, GSH95 = 32.15, E20 = 30.64, GSH91 = 31.88, E85 = 24.34, HSD-B7= 29.84, HSD-B10 = 29.84, HSD-B20 = 29.84,ดีเซลพรีเมียม B7 = 35.86 บาทต่อลิตร

ซึ่งราคาน้ำมันต้นปี 2564 (31 ม.ค.64) อยู่ที่  แก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 24.25 บาท,แก๊สโซฮอล์ 91 ลิตรละ 23.98 บาท,แก๊สโซฮอล์ E20 ลิตรละ 22.74 บาท,แก๊สโซฮอล์ E85 ลิตรละ 19.49 บาท,ดีเซล B7 ลิตรละ 25.09 บาท,ดีเซล B10 ลิตรละ 22.09 บาท,ดีเซล B20 ลิตรละ 21.84 บาท และดีเซลพรีเมี่ยม ลิตรละ 29.56 บาท
สรุปได้ว่าน้ำมันทุกชนิดขึ้น 7.9 บาท/ลิตร เว้น E85 ปรับขึ้น 4.85 บาท/ลิตร


ก๊าซหุงต้ม จ่อปรับขึ้น 70-80 บาท แบบขั้นบันได 1 ก.พ.65 นี้

ก๊าซหุงต้ม จ่อปรับขึ้น 70-80 บาท แบบขั้นบันได 1 ก.พ.65 นี้

ปลัดกระทรวงพลังงาน กุลิศ สมบัติศิริ ระบุ ได้เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาวงเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท จำนวน 2,000 ล้านบาทแล้ว เพื่อคงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มสำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัม ให้อยู่ที่ 318 บาทต่อถังได้ถึงประมาณวันที่ 31 ม.ค.2565 ซึ่งการขอกู้เงินแยกบัญชีจะไม่รวมค่าขนส่ง แต่จะช่วยเฉพาะก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน และต้องมีการสร้างกลไกว่าภาคครัวเรือนจะดูแลอย่างไร

ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงผันผวน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนต.ค. 2564 เหลือเงินกองทุนอยู่ 7,144 ล้านบาท และไม่เพียงพอที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ใช้ก๊าซ แอลพีจีภาครัวเรือนอีกต่อไป โดยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ เพื่อพยุงราคาก๊าซหุงต้มแอลพีจี ภาคครัวเรือน (ไม่รวมค่าขนส่ง) ไปแล้วประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) จึงเห็นสมควรที่จะแยกบัญชีระหว่างเงินช่วยเหลือน้ำมันกับก๊าซแอลพีจีออกจากกัน

อย่างไรก็ตาม หากจำนวนเงินที่กู้มาหมด และราคาก๊าซยังมีราคาที่สูงอยู่ จะต้องมาเริ่มพิจารณาว่าจะขยับราคาขึ้นอย่างไร โดยจะค่อยๆ ขยับขึ้นเป็นขั้นบันได เพราะช่วยมา 2 ปีกว่าแล้ว ยืนยันว่าจะไม่ขึ้นทีเดียว 70-80 บาทแน่นอน แต่จะค่อยๆ ขยับให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม เพื่อไม่กระทบต่อประชาชนภาคครัวเรือน

ค่าไฟเพิ่มขึ้น 16.71 สตางค์/หน่วย  หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63

ค่าไฟเพิ่มขึ้น 16.71 สตางค์/หน่วย  หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63

จากกรณีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ด้านนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 กกพ. มีมติให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 จากงวดปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง การนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศในส่วนของพลังน้ำลดลงตามฤดูกาลและการผลิตไฟฟ้าจากถ่านลิกไนต์ลดลงตามแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส่งผลให้สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนราคาถูกลดลง นอกจากนั้นราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากตามภาวะราคาน้ำมันขาขึ้นในตลาดโลก และปริมาณนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มากขึ้น เพื่อทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงปลายสัมปทาน

“หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กกพ. ได้ดำเนินนโยบายบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพให้กับประชาชนผู้ใช้พลังงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการการลดค่าไฟฟ้า และตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรหรือเอฟทีอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เบาบางลง ทำให้เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับสถานการณ์วิกฤตพลังงานในต่างประเทศ ซึ่งเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวส่งผลให้เกิดภาวะพลังงานตึงตัว (Energy Crisis) เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้พลังงานทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงนี้ จึงเป็นเหตุทำให้ค่าเอฟทีในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2565 (ที่ใช้ค่าจริงเดือนกันยายน 2564 ในการประมาณการ) เพิ่มสูงขึ้นเป็น 48.01 สตางค์”

เรือด่วนคลองแสนแสบ จ่อขึ้นราคา 1 บาท

เรือด่วนคลองแสนแสบ จ่อขึ้นราคา 1 บาท

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่เรือด่วนคลองแสนแสบจะขึ้นราคาอีก 1 บาท ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 2565 นั้น กรมเจ้าท่าได้ชี้แจงรายละเอียด โดยระบุว่า เดิมในสถานการณ์ปกติจะมีประกาศ คกก. เรือประจำทาง ปี 2559 กำหนดให้ค่าโดยสาร สามารถปรับขึ้นลงตามอัตราราคาน้ำมัน ซึ่งในเดือน มี.ค.2563 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 24 บาท และมีอัตราค่าโดยสารของเส้นทางคลองแสนแสบ เริ่มต้นที่ 8 บาท รวมทั้งสถานการณ์ที่มีจำนวนคนโดยสาร ลดลงมากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารลดลงเหลือ 10% ทำให้การเดินเรือประจำทางประสบภาวะขาดทุนหนักมาก และไม่สามารถคงการเดินเรือให้บริการได้

ทั้งนี้กรมเจ้าท่าจึงอาศัยอำนาจตาม พรบ. ฉุกเฉิน ออกประกาศกรมเจ้าท่าที่ 68/2563 ในการกำหนดราคาค่าโดยสารแบบคงที่ เพื่อให้สามารถผู้ประกอบการเดินเรือ รักษาการให้บริการได้ต่อไป โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารที่ระดับราคาน้ำมันเกิน 25 บาท เป็นกรอบในการจัดเก็บ ซึ่งในเส้นทางคลองแสนแสบจะเริ่มต้นที่ 9 บาท เบื้องต้นในช่วงของการประกาศดังกล่าว ผู้ประกอบการเดินเรือ ได้รักษาราคาค่าโดยสารตามประกาศ ยกเว้น บ. ครอบครัวขนส่ง ที่เก็บเพียง 8 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ประกาศที่ 68/2563 กำหนดไว้ที่ 9 บาท เนื่องจากในขณะนั้น บ. ครอบครัวขนส่งได้เก็บค่าโดยสารตามหลักเกณฑ์ที่ราคาน้ำมัน ต่ำกว่า 25 บาท และให้ความร่วมมือในการไม่ขึ้นราคา เพื่อช่วยลดภาระผู้โดยสาร


ภาษี คริปโทเคอร์เรนซี 15% 

ภาษี คริปโทเคอร์เรนซี 15% 

สิ่งที่ถูกจับตามองไม่แพ้สิ่งอื่นๆคือเรื่องของภาษี คริปโทเคอร์เรนซี  หลัง กรมสรรพากร ออกหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนต่อกรณีที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้กรมสรรพากร เร่งสร้างความชัดเจนในเรื่องของหลักเกณฑ์การคิดคำนวณภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซีให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป โดยนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า "ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังเร่งดำเนินการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหาแนวทางในเรื่องของหลักเกณฑ์การคิดภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซี ให้มีความเหมาะสมและเป็นปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือนม.ค.2565"

ส่วนในเรื่องของการเสียภาษีที่มาจากกำไรในการลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น นักลงทุนที่มีกำไรจากการซื้อขายเหรียญคริปโตฯ หรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะถือเป็น เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) เงินได้จากผลประโยชน์/กำไร ที่ได้รับจากการโอนคริปโตฯ หรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งนักลงทุนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%   

และแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณรวมกับเงินได้อื่นๆ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี ตามปีที่ได้กำไรด้วย


ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า

ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมศุลกากรเร่งศึกษารายละเอียดการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวีทั้งระบบ เพราะขณะนี้ภาษีนำเข้ารถยนต์ของแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกันอยู่ เช่น จีนได้รับสิทธิความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากผลิตในบางประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ยังคงเสียภาษีในอัตราสูงอยู่ เนื่องจากไม่มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย ดังนั้น จึงต้องทำให้การแข่งขันเกิดความเป็นธรรม และทำให้คนไทยได้ใช้รถในราคายุติธรรมด้วย 

“การปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า จะต้องจูงใจให้มีการใช้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์ในประเทศ เพราะรัฐบาลมุ่งหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์รถไฟฟ้าเพื่อการส่งออก ดังนั้นการปรับภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าต้องสมดุลกัน ทั้งสองขา ทั้งคนใช้และผู้ผลิต และภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละประเทศคงไม่จำเป็นต้องเท่ากัน แต่จะมีความสมดุลกันมากขึ้น ซึ่งในอนาคตราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงอย่างแน่นอน”

แต่อย่างไรก็ตามนายสันติ  ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ที่ยังไม่เสนอเข้า ครม.ในช่วงนี้ เนื่องจากต้องรอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) พิจารณาออกมาเป็นแพ็คเกจโดยรวม ซึ่งนอกจากเรื่องภาษีของคลังแล้ว ก็ยังมีมาตรการด้านการลงทุน มาตรการของกระทรวงพลังงาน และ กระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่นเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย แม้ขณะนี้ในส่วนของเรื่องภาษี กระทรวงการคลังจะทำเสร็จแล้วก็ตาม

ค่าครองชีพพุ่งทะยาน ร่วมสินค้าขึ้นราคา และเพิ่มการจัดเก็บภาษี