โฆษก ดีอีเอส. เผยถิติ คนแจ้ง "ตรวจสอบข่าวปลอม" มากกว่า 11 ล้านข้อความ

10 ธันวาคม 2564

โฆษก ดีอีเอส.เผยสถิติคนแจ้งให้ตรวจสอบข่าวปลอมรอบสัปดาห์กว่า 11 ล้านข้อความ พบว่าเป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพมากที่สุด

จากกรณี ข่าววันนี้ 10 ธ.ค.64 โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายข้าราชการการเมือง "อ้อแอ้" น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบ การรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (เฟคนิวส์) ระหว่างวันที่ 3-9 ธ.ค.2564 ที่ผ่านมา 

เปิดสถิติ คนแจ้งตรวจสอบข่าวปลอมกว่า 11 ล้านข้อความ ในรอบสัปดาห์

พบว่าจำนวนข้อความที่ต้องดำเนินการคัดกรองมีจำนวนสูงถึง 11,589,321 ข้อความ และมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 188 ข้อความ

โดยเป็นจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 101 เรื่อง จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้แก่

- กลุ่มนโยบายรัฐบาล / ข่าวสารทางราชการ จำนวน 41 เรื่อง 
- กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น 51 เรื่อง 
- กลุ่มภัยพิบัติ 6 เรื่อง 
- กลุ่มเศรษฐกิจ 3 เรื่อง 

ทั้งนี้เมื่อโฟกัสประเด็นข่าวที่เกี่ยวกับโควิด-19 พบจำนวน 26 เรื่อง

เปิดสถิติ คนแจ้งตรวจสอบข่าวปลอมกว่า 11 ล้านข้อความ ในรอบสัปดาห์

 

โฆษก ดีอีเอส.กล่าวต่อ อย่างไรก็ตามข่าวปลอมที่มีคนให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่

อันดับ 1 สารกันบูดที่อยู่บนผิวปลาทูนึ่ง หากสัมผัสโดนทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง 

อันดับ 2 การ Swab ลึกถึงเพดานจมูก ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้ม Olfactory Nerve เสียหาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ 

อันดับ 3 ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน ได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาท 

อันดับ 4 ผู้ว่าจังหวัดภูเก็ต อนุมัติงบสร้างมัสยิด 56 ล้านบาท และขนชาวมุสลิมเดินทางเข้าภูเก็ต 

อันดับ 5 น้ำแข็งยูนิคใส่สารฟอร์มาลีน ทำให้คนไทยเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1

เปิดสถิติ คนแจ้งตรวจสอบข่าวปลอมกว่า 11 ล้านข้อความ ในรอบสัปดาห์

กระทรวงดีอีเอส. และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เห็นถึงความสำคัญของประชาชนที่จะเป็นภาคส่วนสำคัญในการช่วยกันแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ 

-ไลน์ @antifakenewscenter
-เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/
-ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand

และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87” น.ส.นพวรรณ กล่าว

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews