กราบถวายอาลัย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) มรณภาพแล้ว

09 ธันวาคม 2564

ศิษยานุศิษย์กราบถวายอาลัย เพจดังแจ้งข่าวร้าย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) มรณภาพแล้ว สิริอายุเกือบร้อยปี

จากกรณี วันนี้ 9 ธ.ค.2564 สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้ศิษย์อย่างมาก เมื่อเพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้แจ้งข่าวร้ายว่า สมเด็จช่วงมรณภาพ ด้วยการระบุข้อความว่า "ขอกราบถวายอาลัย เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง ได้มรณภาพด้วยอาการอย่างสงบ สิริอายุ 96 ปี" 

สมเด็จช่วงมรณภาพ

สำหรับประวัติของ สมเด็จช่วง นั้นถูกระบุจารึกเอาไว้ว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลา เกิดเมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู บ้านเลขที่ 32 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ  โยมบิดาและโยมมารดาชื่อนายมิ่งและนางสำเภา สุดประเสริฐ  เมื่อเติบใหญ่ถึงเกณฑ์ จึงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดสังฆราชา จบประถมปีที่ 4 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสังฆราชา

สมเด็จช่วงมรณภาพ

เมื่อ ท่านสมเด็จพระมหารัชมังคลา อายุได้ 14 ปี จึงได้บรรพชาเมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ณ วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีพระครูศีลาภิรัต (ทอง) วัดลาดกระบัง เป็นอุปัชฌาย์  ด้วยความที่เป็นผู้ใฝ่ใจในการเรียน จึงมาเรียนบาลีที่วัดปากน้ำ สอบ ป.ธ.3 ได้ขณะเป็นสามเณร เมื่อสอบได้ชั้น ป.ธ.7 หลวงพ่อสด เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ หวังจะให้เป็นทายาทปกครองวัดปากน้ำต่อไป และต้องการให้เรียนสูงๆ จึงนำมาฝากกับเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร หรือสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 14 พร้อมทั้งพยากรณ์ว่า ต่อไปจะได้เป็นสมเด็จฯ

 

ก่อนที่จะ อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร)  เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า "วรปุญฺโญ"

สมเด็จช่วงมรณภาพ

เนื่องด้วยคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์ของชาวพุทธนานาชาติเช่นนี้ จึงได้รับเกียรติจากทุกนิกายว่าเป็นเสมือนหนึ่งพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของเขา บางประเทศได้ถวายสมณศักดิ์เกียรติคุณอย่างสูง อาทิ

พ.ศ. 2520 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศบังกลาเทศ ที่พระศาสนธชมหาปัญญาสาระ
พ.ศ. 2524 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายอมรปุรนิกาย ที่ พระชินวรศาสนโสภณเตปิฏกวิสารทคณปาโมกขาจริยะ
พ.ศ. 2525 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามวงศ์ ฝ่ายอัสสคิริยะ ที่ พระศาสนโชติกสัทธัมมวิรทวิมลกิตติสิริ และได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกาสยามวงศ์ ฝ่ายมัลลวัตตะ ที่ พระธรรมกิตติสิริเตปิฏกวิสารโท

พ.ศ. 2526 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายรามัญวงศ์ ที่ พระติปิฏกบัณฑิตธัมมกิตติสสิริยติสังฆปติ
พ.ศ. 2526 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามวงศ์ ฝ่ายโกฏเฏ ที่ พระอุบาลีวังสาลังการะอุปัชฌายธรรมธีรราชมหามุนีเถระ
พ.ศ. 2558 รัฐบาลเมียนมา ถวาย “อัคคมหาบัณฑิต” ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. 2560 สมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาตั้ง เป็นประธานอำนวยการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หรือหมู่บ้านรักษาศีล 5

สมเด็จช่วงมรณภาพ
ส่วนสมณศักดิ์นั้น เริ่มจากเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี วันที่ 5 ธ.ค. 2499 จนกระทั่งคำพยากรณ์ว่าจะได้เป็นสมเด็จเป็นจริง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2538 ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ไพศาลหิตานุหิตวิธาน ปฏิภาณสุธรรมภาณีศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารนิวิฐ ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี” สอดคล้องกับปฏิปทาในความเป็นพระเถระผู้มีคุณแก่แผ่นดิน

สมเด็จช่วงมรณภาพ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews