ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้ทางรอดเดียว ที่จะต่อสู้กับ "โอไมครอน"

29 พฤศจิกายน 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยข้อมูลโควิดโอไมครอน (Omicron) สร้างความกังวลใจแก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก โดยมีการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้งในโปรตีนส่วนหนาม ย้ำ ไม่ว่าเชื้อกลายพันธุ์จะรุนแรงหรือไม่ ทุกคนยังคงต้องฉีดวัคซีนโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ภายหลังที่พบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ (สายพันธุ์ B.1.1.529) หรือ "สายพันธุ์โอไมครอน" ในแอฟริการใต้ และองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนพร้อมระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จัดอยู่ในกลุ่ม "สายพันธุ์ที่น่ากังวล"  (Variant of Concern) เนื่องจากเจ้าไวรัสตัวใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ถึง 32 ครั้งในโปรตีนส่วนหนาม ซึ่งอาจส่งผลให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้เร็วกว่าและเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนหรือยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน (Omicron) โดยระบุข้อความว่า ....

ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโอไมครอน 107 รายใน 4 ประเทศ โดยพบที่ประเทศแอฟริกาใต้ 100 ราย บอสวานา 4ราย ฮ่องกง 2 ราย และอิสราเอล 1 ราย มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ "สายพันธุ์โอไมครอน" มีลักษณะการกลายพันธุ์ที่น่ากลัว แบบที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ การกลายพันธุ์ในโปรตีนส่วนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง ยิ่งกว่านั้น ยังมีการกลายพันธุ์ที่เอนไซม์ ทำหน้าที่ตัดทะลวงเข้าเซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อถึง 2 จุด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พบการกลายพันธุ์ 2 จุด ในเชื้อตัวเดียว สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้คือ เชื้อตัวใหม่นี้จะทให้เกิดการแพร่ระบาด สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้ก็คือเชื้อตัวใหม่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างหรือจะเป็นแค่คลัสเตอร์ในวงจำกัด

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้ทางรอดเดียว ที่จะต่อสู้กับ "โอไมครอน"


-หมอธีระ สรุปประกาศองค์การอนามัยโลก 5 ข้อ เกี่ยวกับ โควิด "โอไมครอน"
-ควันหลงเลือกตั้ง อบต. 2 คนดังโซเชี่ยล หมอลำคนแรกนั่งนายกอบต.
-หน่อง อรุโณชา เคลื่อนไหวเผยอาการล่าสุด “เบลล่า” หลังลือสนั่นเลิก เวียร์!

ไม่ว่าเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 จะกลายพันธุ์กี่ครั้ง หรือตัวล่าสุดนี้จะทำให้เกิดการระบาดรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ สิ่งที่ยังคงต้องดำเนินการต่อไปคือการกระจายวัคซีนทั้งปฐมภูมิและกระตุ้นภูมิให้ครอบคลุมและรวดเร็ว เพื่อให้ทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันในตัวที่พอดี ทั่วทั้งประเทศและทั่วทุกประเทศ มิฉะนั้น เจ้าเชื้อไวรัสก็จะสามารถแอบไปกลายพันธุ์ในกลุ่มประชากรที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไป


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews