สธ.แถลงแล้ว โควิดเดลต้าพลัสในไทย เป็นคนละตัวกับอังกฤษ

26 ตุลาคม 2564

สธ.เผยสายพันธุ์เดลตาพลัส AY.1 ที่พบ 1 รายในกำแพงเพชร ไม่มีข้อมูลว่ารุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตาเดิม ส่วนสายพันธุ์เดลตาพลัส A.4.2 ที่ระบาดในอังกฤษ ระบาดเร็วขึ้น 10-15% ยังไม่พบในประเทศไทย ไม่มีนัยสำคัญที่ต้องทบทวนการเปิดประเทศ

ข่าววันนี้ 26 ต.ค. 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการเฝ้าระวังเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ว่า การติดตามความคืบหน้าการตรวจสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในประเทศ กรมวิทย์ ได้ติดตามและเก็บตัวอย่างและมีการตรวจสอบการติดเชื้อของผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมาตลอด และมีข้อมูลที่สามารถเปิดเผยและโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล กรมวิทย์ยังตรวจพบและส่งไปยังนานาชาติเพื่อให้ข้อมูลไปยังประชาชนทั่วโลก การกลายพันธุ์เป็นเรื่องปกติ ซึ่งกรมวิทย์ เก็บข้อมูลและเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง ขอให้ฟังข้อมูลจาก สธ.เป็นหลัก

 

ไวรัสกลายพันธุ์ของโรคโควิดเป็นเรื่องปกติ แต่ในหลักการถ้ามีการกลายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญ คือ อาการโรครุนแรงขึ้น ติดต่อง่ายขึ้น เหมือนอัลฟาเป็นเดลตา ถ้าดื้อยารักษาหรือวัคซีนมากขึ้น เป็นต้น แต่ขณะนี้ที่พบสายพันธุ์ย่อยๆในประเทศไทย ยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญที่ต้องทบทวนเรื่องการเปิดประเทศ และองค์การอนามัยโลกยังไม่จัดให้ต้องจับตาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส เข้าถึงได้ ช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น” นายสาธิตกล่าว

นายสาธิต กล่าวว่า รัฐบาลแน่วแน่ที่จะเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา ตามที่นายกฯ ประกาศกรณีเปิดประเทศ 45 ประเทศ 1 เขตบริหารพิเศษ ไม่ต้องกักตัว มีหลักการ 4 ข้อ คือ 1.ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 2.ตรวจ RT-PCR ผลลบก่อนเดินทาง 3.มาถึงแล้วต้องนอน รร. 1 คืนรอผลตรวจซ้ำ ถ้าลบเดินทางได้ทุกที่ในประเทศไทย 4 รร.ที่รับนักท่องเที่ยวเป็นซีลรูท โรงแรมถึงสนามบินนานาชาติ ไม่ไกลเกิน 2 ชั่วโมง เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ ส่วนเด็กตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อเดินทางมากับผู้ปกครอง พบบวกบ้าง หากบวกจะนำเข้าสู่การรักษา เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดคนในประเทศ

โควิดเดลต้าพลัส หมายถึงมีส่วนของสายพันธุ์เดิมและมีการเติมการกลายพันธุ์บางอย่างขึ้น เช่น ที่เราตรวจพบ อัลฟาพลัส หมายถึงการกลายพันธุในตำแหน่ง E484K คือหลบภูมิได้ อาการอาจมากกว่าเดิม อยู่ในระบบเฝ้าระวัง โดยพบผู้ติดเชื้อผู้ต้องขังเชียงใหม่ 2 ราย เก็บตัวอย่าง 27 ก.ย. กำลังสอบสวนโรค ตรวจ 1119 ตัวอย่าง พบ 16 ราย ในจันทบุรี ตราด เป็นล้งผลไม้ แรงงานกัมพูชา 12 คน ไทย 4 คน ล้งลำใย อัลฟาพลัสระบาดมากในกัมพูชา

  สธ.แถลงแล้ว โควิดเดลต้าพลัสในไทย เป็นคนละตัวกับอังกฤษ

-ทำความรู้จัก โควิดสายพันธุ์ เดลตาพลัส หลังพบรายแรกในไทย แพร่เชื้อเร็วขึ้น
-แจงแล้ว "โควิดเดลต้าพลัส" โผล่ไทย สธ.ยันพบผู้ป่วยเเค่1ราย
-"โควิดเดลต้าพลัส"โผล่ประเทศไทยเเล้ว 1 ราย

สายพันธุ์ย่อยมีในประเทศไทย ระบบเราตรวจจับได้ AY.23 จำนวน 12 ราย AY.30 จำนวน 1341 ราย AY.39 จำนวน 83 ราย ส่วน AY.4.2 ที่พบในอังกฤษและยุโรป เดลตาที่มีการกลายพันธุ์ตำแหน่ง Y145H และ A222V อำนาจการพร่กระจายเพิ่มขึ้น 10-15% หรือเร็วกว่าเล็กน้อย แต่ยังไม่พบในประเทศไทยเลย แต่อนาคตก็อาจพบได้

ส่วนกรณีเดลตาที่สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารตรวจพบ เมื่อเดือน ก.ย.จากการตรวจตัวอย่างที่กำแพงเพชร มีผู้ป่วยชาย 1 ราย ออกมาพบเดลตาพลัส AY.1 สายพันธุ์นี้เกิดการกลายพันธุ์ที่ K417N ยังไม่มีข้อมูลในโลกนี้ว่า ตำแหน่งที่กลายพันธุ์ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชอะไรมากกว่าเดลตาเดิมหรือไม่ ยังไม่ถูกขึ้นบัญชีว่าจะมีปัญหา ขณะนี้เพียงแต่เรากลัวว่าตำแหน่งกลายพันธุ์นี้มีอยู่ในเบตาด้วย ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดู ซึ่งผู้ป่วยรายนี้เข้า รพ.สนาม รักษาหายดี ไม่มีปัญหาอะไร แต่ต้องเก็บตัวอย่างคนที่มีความสัมพันธ์มาตรวจเพิ่มเติม

“ขณะนี้ไทยพบอัลฟาพลัส 18 ราย เดลตาพลัส AY.1 1 ราย 4.2 ยังไม่พบ เราตรวจ 400-500 ตัวอย่างส่งไปที่GISAID จากข้อมูลของ GISAID พบว่า อัลฟาพลัส ระบาดมากในกัมพูชา การที่มีการกลายพันธุ์ตำแหน่ง E484K พบได้ในเบตาและแกมมาเช่นเดียวกัน ซึ่งมีปัญหาเรื่องการหลบภูมิ เพราะฉะนั้นอิทธิฤทธิ์ของอัลฟาพลัส จึงอยู่ระหว่างอัลฟา กับเบตา และแกมมา หากมีเยอะในบ้านเราก็อาจหลบภูมิได้บ้าง แต่โชคดีที่ตัวอัลฟา ถูกเบียดโดยเดลตา อำนาจในการแพร่กระจายจึงไม่สูง อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมว่า มีที่อื่นด้วยหรือไม่อย่างไร และอัลฟาพลัสไม่ได้เชื้อใหม่ พบที่อังกฤษ เป็นประเทศแรกตั้งแต่ปลาย ธ.ค. 2563 “ นพ.ศุภกิจ กล่าว



สธ.แถลงแล้ว โควิดเดลต้าพลัสในไทย เป็นคนละตัวกับอังกฤษ

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า การเฝ้าของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เชื่อว่า ขณะนี้ โควิดเริ่มแผ่วลง การปรับตัวของเชื้อส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ ความรุนแรงเริ่มลดลงแม้จะแพร่ได้ก็ตาม เป็นสัญญาณค่อนข้างดี สุดท้ายจะเป็นโรคประจำถิ่นป่วยได้บ้าง ส่วนค่าตรวจ RT-PCR ลดลงเรื่อยๆ จาก 2.3 พันบาท สปสช.ให้เบิก ค่าตรวจ 1,600 ดำเนินการ 700 เหลือ ค่าตรวจ 1,300 บาท ค่าดำเนินการ 100-300 บาท คือ ไม่เกิน 1,600 บาท ซึ่งในอนาคตจะต่ำลง เพื่อช่วยให้การเปิดประเทศค่าใช้จ่ายถูกลง ATK ที่อภ.จำหน่าย 40 บาท อุปสรรคก็จะน้อยลงทำให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ เมื่อความจำเป็นการตรวจน้อยลงอาจไม่ต้องตรวจก็ได้ ต้องดูสถานการณ์ข้อเท็จจริง

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews