จากกรณี วันนี้ (10 ต.ค.2564) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วม 2564” โดยสำรวจเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จำนวนทั้งสิ้น 569 ครัวเรือน ระหว่างวันที่ 4-7 ตุลาคม 2564 พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของน้ำท่วมครั้งนี้ คือ
-ร้อยละ 70.49 ระบุ เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้
-รองลงมา ร้อยละ 69.61 ระบุ ที่ผ่านมาไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
-ร้อยละ 65.90 ระบุ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกภัย
เมื่อถามถึงสิ่งที่ควร “ตระหนักและให้ความสำคัญ” กับปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ พบว่า
-ร้อยละ 77.03 ระบุ ควรมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
-รองลงมา ร้อยละ 71.91 ระบุ รัฐบาลให้ความสำคัญและแก้ไขอย่างจริงจัง
-ร้อยละ 70.67 ระบุ มีวิธีการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว
ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พบว่า
-ร้อยละ 86.62 ระบุ กระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน
-รองลงมา ร้อยละ 83.10 ระบุ พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
-ร้อยละ 78.35 ระบุ บ้านเรือนเสียหาย ต้องซ่อมแซมบ้านเรือน
เมื่อถามถึง สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการโดยเร่งด่วน พบว่า
ร้อยละ 87.35 ระบุ ช่วยเหลือประชาชนที่น้ำท่วม เช่น เรือ ห้องน้ำ ที่พักชั่วคราว ถุงยังชีพ รองลงมา
ร้อยละ 83.48 ระบุ ให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับประชาชน แจ้งเตือนรวดเร็ว
ร้อยละ 74.52 ระบุ เร่งสำรวจความเสียหายพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
- ลุ้นตัวเกร็งกลางดึก พบกล่องต้องสงสัย วางตะแคงริมฟุตบาทหน้าร้านอาหารเจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง ความเชื่อมั่นต่อการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล พบว่า
ร้อยละ 44.17 ระบุ ไม่น่าจะป้องกันได้ รองลงมา
ร้อยละ 28.62 ระบุ ป้องกันไม่ได้
ร้อยละ 23.68 ระบุ น่าจะป้องกันได้
ร้อยละ 3.53 ระบุ ป้องกันน้ำท่วมได้แน่นอน
ด้าน ผศ.ดร.พุทธิธร แสงรุ่งเรือง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และคณะจัดตั้งหลักสูตรสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยวและธุรกิจสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า
"ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเกษตร สังคม และสิ่งแวดล้อม สาเหตุของน้ำท่วมเกิดได้จากภาวะโลกร้อน ส่งผลต่อปริมาตรน้ำทะเลที่มากขึ้น การขัดขวางช่องทางการระบายน้ำและการซึมของน้ำลงสู่ผิวดิน เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้าง การตกตะกอนจากพื้นที่ที่ไม่มีพืชปกคลุม
นอกจากนี้ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีผลกระทบจากลมมรสุมและพายุ จึงทำให้น้ำท่วมทวีความรุนแรง การแก้ปัญหาคือการวางแผนในระยะยาว การป้องกัน ความพร้อมในการรับมือ ความแม่นยำของข้อมูลเพื่อนำมาใช้ตัดสินใจ รวมถึงการถอดบทเรียนจากต่างประเทศมาเป็น Best Practice
การร่วมมือกันในชุมชนและการประสานหน่วยงานในการแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมได้ รับการบรรเทา ซึ่งใช่ว่าน้ำท่วมจะมีแต่ผลเสีย ผลดีคือช่วยเติมระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ดังนั้นการมองเชิงบวกและร่วมกันแก้ไขปัญหา จะทำให้เราฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ในช่วงเวลานี้และในอนาคต"
ที่มา : สวนดุสิตโพล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews