สังคม

heading-สังคม

กางสถิติเทียบชัดๆปริมาณน้ำฝนปี 64 กรมอุตุฯ ยันไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 54

30 ก.ย. 2564 | 10:34 น.
กางสถิติเทียบชัดๆปริมาณน้ำฝนปี 64  กรมอุตุฯ ยันไม่เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 54

เปิดสถิติเปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนปี 2564 ยืนยันน้ำไม่ท่วมซ้ำรอยปี 2554 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำ ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์

วันนี้ 30 ก.ย. 64 อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา  ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ เผยว่าจากสถานการณ์อุทกภัยรุนแรงที่หลายจังหวัดกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง นั้น หลายคนมีความกังวลว่าจะมีน้ำท่วมหนักเหมือนปี 2554 หรือไม่ ทั้งนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาขอยืนยันว่า สถานการณ์อุทกภัยดังกล่าวมีความแตกต่างจากปี 2554

 

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา  ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1. หากวิเคราะห์จากสถิติข้อมูลอุตุนิยมวิทยา พบว่าภาพรวมของการเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 กับปี 2564 จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนที่ตกระหว่างเดือน มกราคม ถึงกันยายน พบว่าในปี 2554 ปริมาณฝนเกือบทุกภาคสูงกว่าปี 2564 ยกเว้นภาคตะวันออกที่ปี 2564 สูงกว่า ปี 2554 เล็กน้อย และในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปี 2554 มีฝนมากกว่า ปี 2564 ถึง 20%


2. เปรียบเทียบพื้นที่และการกระจายของฝน ตั้งแต่ช่วงก่อนและเข้าสู่ฤดูฝน พบว่า ในปี 2554 พื้นที่ที่มีฝนตกและตกต่อเนื่องได้แก่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคกลางตอนบน ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมเป็นจำนวนมากในลุ่มน้ำสายหลัก  รวมทั้งเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เต็มความจุตั้งแต่ต้นปี และในช่วงกลางฤดูฝนถึงปลายฤดูฝน การระบายน้ำสามารถทำได้น้อยเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน ขณะที่ในปี 2564 ช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เม.ย.- ต้น พ.ค.) การกระจายฝนดี แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนพบว่า ปริมาณฝนที่ตกน้อยลง โดยเฉพาะช่วงปลายเดือน พ.ค. ถึง มิ.ย.มีปริมาณฝนน้อยและบางพื้นที่มีฝนทิ้งช่วงหลายสัปดาห์


-เตือน 8 จังหวัดท้ายเขื่อน รวมกรุงเทพฯ ติดตามสถานการณ์น้ำเจ้าพระยา 1- 5 ต.ค.
-เขื่อนพระราม 6 ปักธงแดง เตือนประชาชนเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
-น้ำเต็มความจุ "เขื่อนป่าสักฯ" เร่งระบายเพิ่ม ให้รีบเก็บของขึ้นที่สูงด่วน
 

3. เปรียบเทียบอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนพบว่า ในปี 2554 เดือนมิถุนายน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย และในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “ไหหม่า” ในประเทศลาว ทำให้มีฝนตกหนัก หลายพื้นที่


ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2554  ฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “นกเตน” ที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่าน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากพายุอีก 3 ลูก ได้แก่ พายุ ไห่ถาง เนสาด และนัลแก ขณะที่ในปี 2564  ช่วงปลายฤดูฝน เดือน กันยายน มีพายุที่เข้าสู่ประเทศไทยเพียงลูกเดียวคือ พายุดีเปรสชั่น “เตี้ยนหมู่


ดังนั้น จึงมีโอกาสน้อยมากที่กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงจะเกิดน้ำท่วมแบบปี 2554 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและการระบายน้ำเป็นสำคัญ จึงขอให้ประชาชนอย่าได้ตระหนกและขอให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานของทางราชการ  เป็นระยะๆ  หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติม สามารถสอบถามได้ที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th

กรมอุตุฯ กางสถิติเทียบชัดปริมาณน้ำฝนปี 64 ยันน้ำไม่ท่วมซ้ำรอยปี 54


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

FCใจหาย "ไอดอลวงดัง" ประกาศ ยุบวง พร้อมเผยเหตุผลชัดเจน

FCใจหาย "ไอดอลวงดัง" ประกาศ ยุบวง พร้อมเผยเหตุผลชัดเจน

กรมอุตุฯ เตือน รับมืออากาศแปรปรวน วันที่ 9-14 พ.ค. ต้องระวัง

กรมอุตุฯ เตือน รับมืออากาศแปรปรวน วันที่ 9-14 พ.ค. ต้องระวัง

อยู่ดี ๆ ก็จะเป็นลม? ระวัง นี่อาจไม่ใช่แค่อากาศร้อนธรรมดา

อยู่ดี ๆ ก็จะเป็นลม? ระวัง นี่อาจไม่ใช่แค่อากาศร้อนธรรมดา

เปิด "5โรคร้าย" ที่คน นั่งห้องน้ำนาน ๆ ต้องระวัง หมอเจด เตือนเอง

เปิด "5โรคร้าย" ที่คน นั่งห้องน้ำนาน ๆ ต้องระวัง หมอเจด เตือนเอง

หมอช้าง เตือน 5 พฤษภาคมนี้ ดวงบางราศีถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่

หมอช้าง เตือน 5 พฤษภาคมนี้ ดวงบางราศีถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่