สธ.ประกาศ ใช้วัคซีนสูตรไขว้ "ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า" เป็นตัวหลัก

26 สิงหาคม 2564

จากกรณีการฉีดวัคซีนไขว้ครบ 2 เข็ม พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันสูงที่ 78.65 อยู่ในระดับเดียวกับการฉีดแอสตร้าเซนเนก้าครบ 2 เข็มที่ได้ภูมิคุ้มกัน 76.52 ขณะที่การฉีดซิโนแวค 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบว่า บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนมีภูมิคุ้มกันสูงถึง 271.17

จากกรณี นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงความคืบหน้าวัคซีนโควิด สูตรไขว้ ซิโนแวคเข็มแรก และแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 ว่า จากการศึกษาภูมิคุ้มกันต่อการยับยั้งเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา หลังฉีดวัคซีนไขว้ครบ 2 เข็ม พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันสูงที่ 78.65 อยู่ในระดับเดียวกับการฉีดแอสตร้าเซนเนก้าครบ 2 เข็มที่ได้ภูมิคุ้มกัน 76.52 ขณะที่การฉีดซิโนแวค 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้า พบว่า บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนมีภูมิคุ้มกันสูงถึง 271.17
 

 

ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้า จะเร่งส่งมอบวัคซีนให้ครบ 61 ล้านโดสภายในปีนี้ ไทยจึงนำเข้าซิโนแวคอีก 12 ล้านโดส นำมาเป็นสูตรไขว้ มีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 สัปดาห์ และใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ จะมีภูมิคุ้มกันระดับสูง ที่ต้านสายพันธุ์เดลตาได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ปรับมาใช้สูตรนี้ทั่วประเทศ เพื่อทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่อย่างรวดเร็ว และการฉีดที่ผ่านมายังไม่พบอาการพึงประสงค์ ไม่แตกต่างจากการฉีดวัคซีนตัวอื่น
 

 แอสตร้าเซนเนก้า

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับการตรวจสายพันธุ์ย่อยเดลตาในไทย ยังไม่ถือว่าเป็นสายพันธุ์ไทย เพราะมีรายงานตรวจพบในหลายประเทศอยู่ก่อนแล้ว เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา และยังไม่มีการจัดระดับความรุนแรงหรือความน่ากังวลของสายพันธุ์ย่อยนี้ ในไทยพบเพียง 7 รายเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรจะติดตามเฝ้าระวังเรื่องความรุนแรงของเชื้อเพื่อรับมือต่อไป

 

 ซิโนแวค