สปส. ย้ำ สมัคร ม.40 รีบจ่ายเงินสมทบ ก่อนพลาดสิทธิ รับเยียวยา 5 พัน ภายในวันนี้

10 สิงหาคม 2564

สำนักงานประกันสังคม ย้ำเตือน ผู้สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ให้รีบชำระเงินสมทบ ในวันนี้ 10 สิงหาคม 2564 เป็นรับสถานะความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมาย

จากมาตรการแจกเงินเยียวยา ให้กับแรงงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศล็อกดาวน์  ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , นครปฐม , ปทุมธานี , สมุทรปราการ , สมุทรสาคร, นราธิวาส , ปัตตานี , ยะลา , สงขลา , ฉะเชิงเทรา , ชลบุรี , และพระนครศรีอยุธยา

 

ประกันสังคม

 

 

สำหรับ "แรงงานอิสระ" สำนักประกันสังคม ผู้ที่เข้าเกณฑ์ สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่สมัครต้องชำระเงินงวดแรกในทันภายในวันนี้ 10 สิงหาคม 2564 เพื่อรับสถานะความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมาย พร้อมรับสิทธิเยียวยา โดยจะโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ***วิธีผูกพร้อมเพย์***

 

ม.40

 

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรี 
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ตู้บุญเติม
- ห้างเทสโก้โลตัส
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
- ช้อปปี้ เพย์

เมื่อสมัครและจ่ายเงินสมทบแล้ว สามารถเช็กสถานะความเป็นผู้ประกันตนได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th 

- เข้าหน้าเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th กดสมัครสมาชิก

 

ม.40

 

- อ่านข้อตกลงต่าง เมื่ออ่านเสร็จให้ กด ฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ และกดถัดไป

 

ม.40

 

ม.40

 

- กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดถัดไป

 

ม.40

 

- ยืนยันตัวตน
เมื่อยืนยันตัวตนแล้วก็จะมาที่หน้า ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ซึ่งด้านล่างจะมี สถานะบอกว่าคุณได้เป็นผู้ประกันตนแล้วหรือไม่

 

ม.40

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 42 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

 

ม.40

 

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น

 

ม.40

 

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ พระนครศรีอยุธยา คาดว่าจะได้รับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564

 

ม.40