ไทม์ไลน์ โอนเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33 รอบตกหล่น ม.39 ม.40 ใน 13 จว. สีแดงเข้ม

09 สิงหาคม 2564

ไทม์ไลน์ วันโอนเงินเยียวยา ประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 39 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ที่ประกาศล็อกดาวน์ก่อนเข้าวันไหน

จากกรณีที่มีมาตรการแจกเงินเยียวยาของประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 39 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.นครปฐม 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.อยุธยา 8.ชลบุรี 9.ฉะเชิงเทรา 10.สงขลา 11.นราธิวาส 12.ยะลา 13.ปัตตานี

 

 

โดยของผู้ประกันตน มาตรา 33 นั้น ได้เริ่มทยอยโอนไปตั้งแต่วันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2564 พื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด ที่ประกาศก่อน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร  นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
และวันนี้ 9 สิงหาคม 2564 ก็ได้โอนในของส่วน 3 จังหวัด ที่ประกาศเพิ่มเติม ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และอยุธยา

ทางด้าน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้แจ้งว่า ผู้ประกันตน ม.33 ที่ตกหล่นเงินเยียวยารอบแรก จะมีการโอนเงินอีกรอบวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ขอให้ท่านเร่งตรวจสอบข้อมูลตนเอง หากเช็กแล้วว่าเงินยังไม่เข้าบัญชี ให้รีบไปติดต่อธนาคารด่วน ท่านที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน โดยสามารถทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ของธนาคารที่ท่านมีบัญชีอยู่ หรือบัญชีปิด/ไม่เคลื่อนไหวแล้ว ให้ดำเนินการเปิดบัญชี และผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนให้แล้วเสร็จ ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เพื่อรอรับเงินช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งสำนักงานประกันสังคม จะโอนให้อีกรอบ ในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม

 

ม.33

ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เปิดให้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้ที่ https://www.sso.go.th/eform_news/

 

ม.33

 

สปส.จะแจ้งสาเหตุของกลุ่มที่ตกหล่น ว่าเหตุใดจึงโอนเงินเข้าบัญชีไม่ได้

 

ในส่วนของผู้ประกันตน มาตรา 39 นั้น

สำหรับคุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ประกันตนมาตรา 39 ดังนี้
- ลาออกจากการเป็นพนักงานเอกชนแล้ว
- เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

เงินสมทบ
- 432 บาท/เดือน

ในส่วนของผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำงานไม่มีนายจ้าง สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม   https://www.sso.go.th/   โดยทางสำนักงานประกันสังคมเน้นย้ำว่าผู้ที่สมัครต้องรีบชำระเงินสมทบ ภสยในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เพื่อรับสถานะความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมาย พร้อมรับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 42 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น

 

ม.40

 

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ พระนครศรีอยุธยา จะได้รับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564