หัวหน้าอช.แก่งกระจานคนแรก เปิดใจทั้งน้ำตา หลังยูเนสโกยกให้เป็น "มรดกโลก"

28 กรกฎาคม 2564

จากกรณียูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยประเทศไทยได้พยายามผลักดันต่อเนื่องมาตลอดหลายปี เพื่อให้เป็นกลไกหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

28 ก.ค.64 นายสามารถ ม่วงไหมทอง อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคนแรก และเป็นหัวหน้าทีมชุดสำรวจและจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อปี พ.ศ.2524 ได้แสดงความยินดีจนน้ำตาไหลคลอเบ้า ขณะเผยความรู้สึกที่ทราบว่า อช.แก่งกระจานได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแล้ว

นายสามารถ ม่วงไหมทอง อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคนแรก

 

“ก็ดีใจ น้ำตาไหล แฟนเล่าให้ฟัง น้ำตาไหล ทุ่มเทเวลามาเยอะ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เกิดมาจากพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ท่านทรงเรือใบมาขึ้นที่ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และทรงมีรับสั่งให้รักษาป่าต้นน้ำผืนนี้ไว้ ผมยังจำได้ พื้นที่จรดชายแดนประเทศพม่า แรกๆผมเป็นคนเดินสำรวจด้วยตัวเอง น้ำตกกี่แห่งๆ รู้หมด ผาน้ำหยด น้ำตกปราณบุรี น้ำตกทอทิพย์ เขาปะการังที่ยอดเขาเหมือนปะการัง จึงตั้งชื่อว่า เขาปะการัง ความหลากหลายนั้นพร้อม อยู่ที่อช.แก่งกระจานมา 18 ปี 

วันนี้สำเร็จแล้วในการเป็นมรดกโลก สิ่งที่ห่วงใยคือ เป็นห่วงสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง อยากให้รักษาไว้ เช่น เกาะพลับพลา ยังจำเกาะได้ มันเหมือนกับเป็นชายหาดน้ำจืด ซึ่งอยู่ในเขื่อนแก่งกระจาน ทรงมาประทับอยู่หลายครั้ง ตอนนั้นสร้างอาคารไว้หนึ่งหลัง มีระเบียง แล้วก็มีการสร้างพลับพลาที่ประทับ ที่สมเด็จพระเทพฯเคยเสด็จประทับ เคยร่วมถวายการต้อนรับหลายครั้ง รวมทั้งเมื่อครั้งที่เสด็จซับชุมเห็ด ทรงประทับค้างแรมที่นั่น ทรงรับสั่งถามว่า หน่อไม้ทานได้ไหม ผมยังจำได้” อดีตหัวหน้าอช.แก่งกระจานกล่าว

นายสามารถ ม่วงไหมทอง อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคนแรก

ต้องขอขอบคุณ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยกันมาตลอด จากนี้จะต้องช่วยกันดูแลรักษามากขึ้น เราต้องทำงานหนักกว่าเดิม เพราะกว่าจะได้เป็นมรดกโลกว่ายากแล้ว การรักษาไว้ยิ่งยากกว่า พวกเราคนไทยทุกคนต้องร่วมมือกันดูแล ปกป้องและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าแห่งนี้ไว้ชั่วลูกหลานสืบต่อไป

นายสามารถ ม่วงไหมทอง อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคนแรก

นายสามารถ ม่วงไหมทอง อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคนแรก