ศบค. สั่งเยียวยา ก่อสร้าง-ร้านอาหาร 6จว. สีแดง สูงสุด 7,500

28 มิถุนายน 2564

ศบศ มีมติ ให้ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนด ฉบับที่ 25 ใน 6 จังหวัดประกอบด้วย กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ในกลุ่มธุรกิจ ก่อสร้าง ไซด์งาน ร้านอาหารต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ สั่งควบคุม เป็นเวลา 1 เดือน

วันนี้ (28 มิ.ย.2564) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าที่ประชุม ศบค. มีมติ ให้ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนด ฉบับที่ 25 ใน 6 จังหวัดประกอบด้วย กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ในกลุ่มธุรกิจ ก่อสร้าง ไซด์งาน ร้านอาหารต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ สั่งควบคุม เป็นเวลา 1 เดือนโดยเฉพาะในแรงงานสัญชาติไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม กระทรวงแรงงานจะจ่ายชดเชยในเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน แต่สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และรัฐให้เงินชดเชยเพิ่มอีก 2,000 บาท เนื่องจากบางบริษัทถูกลดค่าจ้าง รวมเป็นเงิน 9,500 บาท โดยจากการสำรวจที่รัฐบาลต้องเยียวยา มีแรงงานในระบบกว่า 690,000 คน ส่วนนอกระบบ ยังไม่การคาดการณ์

 

ขณะที่แรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนกับรบบประกันสังคมของไทย จะได้รับเงินชดเชยเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 50 เท่านั้น ส่วนการช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิด 200 คน พร้อมย้ำว่า คนที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องอยู่ในระบบประกันสังคม เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทำงานประเภทไหน

โดยมาตรการดังกล่าวนี้ ใช้งบประมาณจากระทรวงแรงงาน 3,500 ล้านบาท และจากงบเงินกู้ อีก 4,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 7,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ยืนยันไม่มีการเลื่อนโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ยังคงเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ก.ค.นี้
 

ขณะที่นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสริมว่าผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ก็จะมีข้อมูลในกลุ่มที่ลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่นถุงเงิน ซึ่งจะดำเนินการแบ่งเป็นสองแบบ คือ ถ้าผู้ประกอบการยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จะเปิดให้มาขึ้นทะเบียน หลังจากนี้ ก็จะเข้าสู่มาตรการการเยียวยาต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้างไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ขอให้เข้าไปลงทะเบียนในแอพถุงเงิน เพื่อเข้าสู่โครงการคนละครึ่ง ที่เปิดให้ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร และ เครื่องดื่ม จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 เช่นกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยไปสำรวจ ในการลงทะเบียนของผู้ประกอบการ โดยการจ่ายเงินกองทุนประสังคมทำได้ทันที แต่เงินเยียวยาอีก 2,000 ต้องให้ ครม.เห็นชอบ ภายในสัปดาห์หน้า

พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานจะประสานสาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยที่มีคนงานในสามคมกว่า 1 แสน ซึ่งทางสมาคมจะดูแลเอง เพราะต้องการให้อยู่กับที่ไม่เกิดการเคลื่อนย้าย ย้ำกระทรวงแรงงานเดินหน้าตรวจเชิงรุก และกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง พร้อมทั้งได้ประสานโรงงานผลิตอาหารเพื่อสนับสนุนอาหาร ให้คนงาน เพื่อควบคุมการระบาดในกรอบ 1 เดือนนี้ ยอมรับมีแรงงานหลบหนีจากพื้นที่ควบคุม แต่ผู้ประกอบการต้องช่วยกันดูแล