อียูฟ้อง แอสตร้าเซนเนก้า จี้ส่งมอบวัคซีนเพิ่มอีก 90 ล้านโดสก่อนเดือนก.ค.

26 พฤษภาคม 2564

อียู-แอสตร้าเซนเนก้า พบกันในศาลคดีอียูฟ้องร้องฝ่ายผู้ผลิตวัคซีนละเมิดเงื่อนไขสัญญา ส่งมอบวัคซีนได้น้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ อียูลั่นถ้าไม่ได้เพิ่มอีก 90 ล้านโดสก่อน ก.ค.นี้

วันนี้ ( 26 พ.ค.2564) คณะกรรมาธิการยุโรป และ แอสตร้าเซนเนก้า มีกำหนดเผชิญหน้ากันในศาลที่ประเทศเบลเยี่ยม ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหภาพยุโรป (อียู) 

โดยฝ่าย อียูเป็นผู้ฟ้องบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ว่า ทำผิดสัญญา โดยส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้อียูน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ ส่งผลกระทบต่อโครงการฉีดวัคซีนให้ประชาชนของประเทศสมาชิกอียูที่มีความคืบหน้าล่าช้ากว่าเป้าหมาย ทนายของทั้งสองฝ่ายจะพบกันในศาลวันนี้ และอีกครั้งในวันศุกร์ (28 พ.ค.) เป้าหมายของอียูคือต้องการให้แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบวัคซีนให้อีก 90 ล้านโดสก่อนเดือนก.ค.นี้

 

โดยฝ่าย อียูเป็นผู้ฟ้องบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ว่า ทำผิดสัญญา โดยส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้อียูน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ ส่งผลกระทบต่อโครงการฉีดวัคซีนให้ประชาชนของประเทศสมาชิกอียูที่มีความคืบหน้าล่าช้ากว่าเป้าหมาย ทนายของทั้งสองฝ่ายจะพบกันในศาลวันนี้ และอีกครั้งในวันศุกร์ (28 พ.ค.) เป้าหมายของอียูคือต้องการให้แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบวัคซีนให้อีก 90 ล้านโดสก่อนเดือนก.ค.นี้

คณะกรรมธิการยุโรปเผยว่า ข้อตกลงที่ทำกันไว้มีกำหนดเส้นตายภายในช่วงกลางเดือนก.ค. ถ้าหากว่าบริษัทไม่สามารถส่งมอบวัคซีนได้ภายในเส้นตายดังกล่าวก็จะต้องจ่ายค่าปรับให้กับอียูทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564  แอสตร้าเซนเนก้าเพิ่งส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้อียูได้เพียง 30 ล้านโดสจากที่ตกลงกันไว้ 120 ล้านโดส และในไตรมาสปัจจุบันซึ่งเป็นไตรมาสที่สองและจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิ.ย. บริษัทมีแผนส่งมอบให้อียูได้เพียง 70 ล้านโดสจากที่ตกลงกันไว้ 180 ล้านโดส   

แหล่งข่าวในคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งใกล้ชิดกับประเด็นนี้เปิดเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ตอนนี้แอสตร้าเซนเนก้าสามารถส่งมอบวัคซีนให้อียูในอัตราเพียง 10 ล้านโดสต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าที่วางแผนเอาไว้อยู่มาก บริษัทปฏิเสธว่าไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขสัญญา ทนายความของแอสตร้าฯ คนหนึ่งเปิดเผยว่า ทางอียูได้รับแจ้งเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการส่งมอบวัคซีนได้ล่าช้าตั้งแต่เดือนก.พ.แล้ว จึงรู้สึกว่าน่าแปลกใจทำไมอียูถึงรอเวลาอยู่อย่างน้อยถึงสองเดือนจึงคิดจะยื่นฟ้องต่อศาลนอกจากนี้ อียูยังกล่าวหาด้วยว่าแอสตร้าเซนเนก้า บริษัทยาสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ซึ่งพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ร่วมกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ให้ความสำคัญกับการส่งมอบวัคซีนให้ประเทศอังกฤษมากกว่า (ซึ่งปัจจุบันอังกฤษไม่ได้เป็นสมาชิกอียูแล้ว) เนื่องจากอังกฤษเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของแอสตร้าเซเนก้า  

ข่าวระบุว่าในตอนแรกนั้น อียูตั้งใจจะใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนตัวหลักในการฉีดป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชน แต่เนื่องจากปัญหาความล่าช้าและปริมาณวัคซีนที่ได้รับน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งทำหน้าที่จัดหาและจองซื้อวัคซีนต้านโควิดสำหรับประเทศสมาชิกทุกประเทศ เบนเข็มมาพึ่งวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-บิออนเทค เป็นหลักทั้งนี้ ราฟาเอล จาฟเฟอราลี ทนายความของอียูคนหนึ่งกล่าวต่อศาลว่า แอสตร้าเซนเนก้าเป็นฝ่ายละเมิดเงื่อนไขสัญญาที่มีการจองซื้อวัคซีนไว้ล่วงหน้า และการละเมิดนี้ส่งผลกระทบทั้งต่อการผลิตและการส่งมอบวัคซีน   ความขัดแย้งระหว่างอียูและแอสตร้าเซนเนก้าในครั้งนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อวัคซีนของบริษัท ซึ่งได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากข่าวด้านลบที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์อย่างเช่นการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนบางรายช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เดนมาร์กเป็นประเทศแรกในอียูที่ประกาศเลิกใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จากนั้นก็ตามมาด้วยนอร์เวย์และออสเตรีย ประเทศส่วนใหญ่ในอียูใช้วัคซีนของแอสตร้าฯกับประชากรผู้สูงวัย เช่นที่ฝรั่งเศสจะใช้แอสตร้าเซนเนก้ากับประชากรกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น