นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

23 พฤษภาคม 2564

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน รายงานว่า เจ้าหน้าที่จากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เปิดตัวเครื่องทำฝนเทียมรูปแบบใหม่

การยิงจรวดปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ ลงในก้อนเมฆ ทำให้เมฆตกลงมาเป็นฝน เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้ง และภัยจากลูกเห็บให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาภัยแล้ง

 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนและคณะฯ  ได้เดินทางลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแม่หละ หมู่ 15 บ้านผาลาด ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน  เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่จากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  (สทป.) และเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร  ซึ่งได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.64 และจะปฏิบัติงานถึง วันที่  6 มิ.ย.64  เพื่อทำการทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บด้วยการยิงจรวด ปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ลงในก้อนเมฆ  ทำให้เมฆตกลงมาเป็นฝน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และยังช่วยทำให้กลุ่มเมฆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นเป็นลูกเห็บขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นฝน  บรรเทาภัยที่อาจจะเกิดจากลูกเห็บให้กับประชาชน  บ้านเรือน และผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้รับความเสียหาย
 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

นาวาอากาศโท ไพศาล บุญยะรัตน์  ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  กล่าวว่า การทดลอง ด้วยการยิงจรวดดังกล่าว เป็น Platform ทางเลือกในการนำสารซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่ก้อนเมฆที่ความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว สารซิลเวอร์ไอโอไดด์จะทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของอนุภาคน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียล ทำให้เกิดการพัฒนาตัวอย่างรวดเร็วและตกลงมาเป็นฝน โดยปกติกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะใช้เครื่องบินในการปฏิบัติการ แต่สำหรับในกรณีที่สภาพอากาศแปรปรวนเครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินเข้าโจมตีเมฆเย็นได้จะดำเนินการอย่างไร จึงเกิดแนวความคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กำหนดความต้องการทางเทคนิค ให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศออกแบบและผลิตจรวดเพื่อบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับทำฝน เพื่อใช้เสริมในภารกิจปฏิบัติการทำฝนหลวงเมฆเย็น และร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการใช้ในภารกิจยับยั้งพายุลูกเห็บหรือทดลองทำฝนจากเมฆเย็นในสภาพอากาศของประเทศไทย
 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

สำหรับผลการดำเนินการ นายกำพล เกษจินดา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร  กล่าวว่า  ได้เริ่มปฏิบัติการฯตั้งแต่ วันที่ 25 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน ได้ทำการยิงจรวดดัดแปรสภาพอากาศไปจำนวน 7 นัด ในการทดสอบจะใช้ข้อมูลจากเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย และโปรแกรมประยุกต์ TITAN ช่วยติดตาม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อกลุ่มเมฆเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในแนวยิงของจรวด ก็จะทำการยิงจรวดเข้ากลุ่มเมฆเป้าหมาย ดังกล่าว  โดยผลของการทดสอบ พบว่า หลังจากการยิงจรวด (ณ ตำแหน่งเวลา 0 นาที) ค่าคุณสมบัติทางกายภาพของเมฆ ได้แก่ ความสูง ปริมาตร มวล ค่าการสะท้อนสูงสุด และค่า VIL เริ่มคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างกลุ่มเมฆตัวอย่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ภายหลังยิงจรวดฯ ค่าโอกาสการเกิดลูกเห็บลดลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานการเกิดลูกเห็บ 

 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

นายวรยุทธ เนาวรัตน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน   กล่าวว่า  โครงการดังกล่าวนั้นถือเป็นนวัตกรรมที่ดี ต่อประชาชน และประเทศไทย  โดยพื้นที่ อำเภอลี้ ของจังหวัดลำพูน  จะเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นทุกปี การพัฒนายากลำบาก จะทำฝาย ขุดสระน้ำ เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่การเกษตรก็ไม่ได้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวน และป่าไม้ไม่อนุญาต  การทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บ ในพื้นที่จังหวัดลำพูน นั้นจะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งของพี่น้องประชาชน เกษตรกร มีน้ำ กิน น้ำใช้ อย่างเพียงพอ ต่อไป

 

นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ยิงสารทำฝนเทียมแบบจรวดขึ้นฟ้า บรรเทาภัยแล้ง

 

ขอบคุณข้อมูล : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน