ชาวอินเดียแห่อาบมูลวัวหวังรักษาโควิด แพทย์เตือนเสี่ยงแพร่เชื้อเร็วขึ้น

12 พฤษภาคม 2564

ชาวอินเดียหมดหนทาง แห่เอามูลวัวและปัสสาวะวัวมาทาตัว หวังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยป้องกันรักษาโควิด-19 ด้านแพทย์เตือนอย่าหาทำเสี่ยงแพร่เชื้อเร็วขึ้น

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 64 สำนักข่าวเดลิเมล์ รายงานว่า แพทย์อินเดียต้องออกมาเตือนประชาชนที่มีความเชื่อว่า ถ้าเอามูลวัวและปัสสาวะวัว มาทาตัวจะรักษาโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ได้ โดยระบุว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพดังกล่าวอีกทั้งยังเป็นของเสียจากวัวจะเสี่ยงต่อการแพร่โควิด-19 เร็วขึ้น

ชาวอินเดียแห่อาบมูลวัวหวังรักษาโควิด แพทย์เตือนเสี่ยงแพร่เชื้อเร็วขึ้น

 

ทั้งนี้ ชาวอินเดียหลายร้อยคนแห่เอามูลวัวและปัสสาวะวัว มาอาบแทนน้ำกันอย่างมากมาย เนื่องจากระบบสาธารณสุขเกินศักยภาพที่จะรับมือไหว และยอดติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งทะยานไม่มีหยุด ทำให้ประชาชนบางส่วนจากรัฐคุชราฏ นิยมจับกลุ่มกันเข้าไปในคอกวัว เพื่อหวังนำเอามูลวัวและปัสสาวของวัว มาทาอาบทั่วร่างกาย ด้วยความเชื่อว่ามูลจากวัวซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้

ชาวอินเดียแห่อาบมูลวัวหวังรักษาโควิด แพทย์เตือนเสี่ยงแพร่เชื้อเร็วขึ้น


นอกจากนี้ ในขณะที่กำลังรอให้มูลวัวและปัสสาวะวัวซึมซาบทั่วร่างกายนั้น ชาวบ้านจะเข้าไปกอดให้เกียรติแก่บรรดาวัวที่มอบมูลวัว-ปัสสาวะให้พวกเขาอาบ พร้อมกับฝึกโยคะเพื่อเสริมให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มที่ ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยนำนมวัวมาชะล้างร่างกายให้สะอาด

พิธีกรรมดังกล่าวสร้างความกังวลใจต่อบรรดาแพทย์และพยาบาลอย่างมาก โดย ดร. เจ.เอ. จายาลัล ประธานสมาคมแพทย์อินเดีย ได้เผยว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม ยืนยันว่ามูลและปัสสาวะของวัวจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 แต่เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น โดยพยายามไปทำความเข้าใจกับบรรดาประชาชนว่า มันไม่มีวิธีอื่นที่จะช่วยรักษาโควิด-19 นอกจากการกักตัวและให้วัคซีน พร้อมกันนี้ยังเตือนว่าการทาและบริโภคมูลหรือปัสสาวะของวัวยังทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคอื่นๆจากสัตว์มาสู่คนอีกด้วย 

ชาวอินเดียแห่อาบมูลวัวหวังรักษาโควิด แพทย์เตือนเสี่ยงแพร่เชื้อเร็วขึ้น

ขอบคุณ dailymail