อ.เจษฎา จวกยับ "ทหารพราน" ไปพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ตามแนวชายแดน

14 เมษายน 2564

"อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" ได้ออกมาโพสต์ข้อความหลัง PRD กรมประชาสัมพันธ์ โพสต์ข้อความพร้อมภาพ "ทหารพราน"ไปพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ตามแนวชายแดน ชี้ ไม่ได้ผล แถมยังสิ้นเปลืองงบประมาณ

"อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" ได้ออกมาโพสต์ข้อความหลัง PRD กรมประชาสัมพันธ์ โพสต์ข้อความระบุ "ชายแดนก็ต้องปลอดโควิด ทหารพราน 36 ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 5 พื้นที่รองรับ ภายหลังผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาเดินทางกลับยังภูมิลำเนา"

 

อ.เจษฎา จวกยับ "ทหารพราน" ไปพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ตามแนวชายแดน โดยทาง อ.เจษ ได้พูดถึงภาพดังกล่าวว่า ยังมีอยู่เรื่อยๆ นะครับ ที่มีการเอาสารเคมียาฆ่าเชื้อ มาฉีดพ่นตามถนน ตามที่สาธารณะ ด้วยความที่เชื่อกันว่าป้องกันโรคโควิด-19 ได้ (อย่างล่าสุดนี่ ถึงขนาดเอาไปพ่นกันตามป่าตามเขาเลย) ซึ่งก็เตือนอยู่ตลอดว่า ไม่ควรทำนะครับ !

เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลอะไรในการควบคุมโรค (แหล่งแพร่เชื้อโรคคือร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ควรควบคุมตรงการคลุกคลีกันระหว่างผู้คนมากกว่า )

ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะเชื้อไวรัสสามารถตายได้โดยไม่ยาก ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด

และที่สำคัญคือ ทำให้หลงเข้าใจผิดว่าป้องกันโรคได้ ทำให้คนในชุมชนอาจไม่ระมัดระวังตนเองเพียงพอ หลังจากเคยมีการฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อไปแล้ว (มันเป็นการฆ่าเชื้อโรค ไม่ใช่เป็นการป้องกันเชื้อมาปนเปื้อนในบริเวณนั้น)

แถมจะมีอันตรายแก่ประชาชนและสัตว์เลี้ยง ที่สูดดมหรือสัมผัสสารเคมีเข้าไปได้ด้วยนะครับ

วิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมโรค covid 19 นี้ ก็คือ การควบคุมระยะห่างจากสังคม ลดกิจกรรมที่จะมีการรวมกลุ่มของผู้คน ดูแลสุขอนามัยในการอยู่ร่วมกัน แค่นั้นก็เพียงพอแล้วครับ

อ.เจษฎา จวกยับ "ทหารพราน" ไปพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ตามแนวชายแดน

ทางสมาคมโรคติดเชื้อได้อธิบายถึง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัส ดังนี้

1.การฉีดพ่นทำลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหาย ใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในสักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้ นอกจากนี้ ยาฆ่าเชื้อยังอาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้ จึงไม่ควรทำโดยเด็ดขาด การป้องกันการแพร่เชื้อที่ถูกต้องคือ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และการรักษาความสะอาดของมือ

2. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ หรืออบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีต่างๆ บนถนน สถานที่สาธารณะ หรืออาคารบ้านเรือนใดๆ ไม่ว่าในสถานที่นั้นจะมีผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่ การปฏิบัติดังกล่าวเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแต่ประการใด

นอกจากนี้ หากในบริเวณนั้นมีเสมหะ หรือสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่ยังไม่แห้ง การฉีดพ่นน้ำยา อาจทำให้เชื้อฟุ้งกระจายขึ้นมา เป็นอันตรายได้ หากจะทำความสะอาดในกรณีที่มีผู้พักอาศัยหรือผู้ใช้บริการป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ใช้วิธีเช็ดถูด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และยังมีคำแนะนำอื่น ตามรายละเอียดนี้ (คลิก)