เปิดภาพ "นกกระแตหาด" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

17 กรกฎาคม 2566

ทำความรู้จัก "นกกระแตหาด" และร่วมอนุรักษ์ ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่ แหล่งวางไข่ ส่งผลให้นกกระแตหาดมีจำนวนลดลง

นกกระแตหาด (River Lapwing) มีลักษณะใบหน้าสีดำ หงอนที่ชี้ไปด้านหลัง แต่เมื่อตกใจหงอนจะตั้งฟูขึ้น

เปิดภาพ "นกกระแตหาด" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

นกกระแตหาดเป็นนกประจำถิ่น ที่พบได้ไม่มากในพื้นที่ จะพบได้มากทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งเราสามารถพบนกชนิดนี้ได้ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่

นกกระแตหาดจะชอบหากินโดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็กๆ ไม่พบเป็นฝูงใหญ่แบบนกกระแตชนิดอื่น

เปิดภาพ "นกกระแตหาด" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

จากการสำรวจเจ้าหน้าที่ได้พบนกชนิดนี้ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาเขียว บริเวณจุดดูนกริมอ่างเก็บน้ำบางพระ 

เปิดภาพ "นกกระแตหาด" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

ในปัจจุบันนกกระแตหาดมีสถานภาพระดับโลกใกล้ถูกคุกคาม (NT: Near-threatened) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูญเสียถิ่นอาศัย แหล่งทำรังวางไข่ และแหล่งอาหารริมแม่น้ำหลายแห่งถูกรบกวนโดยตรงจากมนุษย์ แน่นอนว่าในไม่ช้าแหล่งวางไข่ของนกกระแตหาดจะเหลือน้อยลงไปเรื่อย ๆ

เปิดภาพ "นกกระแตหาด" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

📣 ตุลานี้เตรียมตัวให้พร้อม กับงานสุดยิ่งใหญ่สำหรับน้องหมาน้องแมว 🐕❤️🐈
ในงาน PetพาเพลินFair2023 26-29 ตุลาคมนี้ ที่ เวสต์เกตฮอล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวสต์เกต ที่เดิม แล้วเจอกันจ้า !!
#Petพาเพลิน #PetพาเพลินFair2023

เปิดภาพ \"นกกระแตหาด\" ร่วมอนุรักษ์ก่อนสูญเสียถิ่นที่อยู่

หมายเหตุ : จากการสำรวจพบนกกระแตหาดจำนวน 1 คู่ ในพื้นที่

ภาพถ่ายโดย : นายจำนงค์ อินหนน พนักงานพิทักษ์ป่า ระดับ ส 2

ที่มา : ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาเขียว จ.ชลบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)