ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลงจำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านบึงตะคต

24 มกราคม 2567

แมวดาวไม่ควรนำมาเลี้ยงดูเพราะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ที่กินเนื้อจะมีความดุร้ายเมื่อโตเต็มวัย กรงเล็บอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บและติดเชื้อได้

เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือประชาชนด้านสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รับแจ้งจากประชาชนพบลูกแมวดาว จำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านบึงตะคต ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จึงได้รับมาอนุบาลที่คลีนิคสัตว์ป่า เพื่อตรวจสุขภาพ และอนุบาลดูแลจนกว่าจะเติบโตแข็งแรง ก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลงจำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านบึงตะคต

แมวดาวมีขนาดเท่ากับแมวบ้าน แต่มีความเพรียวมากกว่า ขนมีสีซีดสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องสีขาว มีลายคล้ายดอกกุหลาบบริเวณลำตัวและหาง ส่วนปลายหางเป็นปล้อง มีแถบดำสี่แถบพาดขนานจากหน้าผากไปยังบริเวณคอ แมวดาวมีหัวขนาดเล็ก ปากสั้น และหูกลม

ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลงจำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านบึงตะคต

แมวดาวอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขตร้อน และพื้นที่เพาะปลูก ป่าผลัดใบเขตร้อน และป่าสน เชิงเขาเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร แมวดาวกระจายทั่วไปในเอเชีย ภาคตะวันออกของอัฟกานิสถานและภาคเหนือของปากีสถาน และชายฝั่งทางตอนเหนือของอินเดีย พม่า ลาว ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไต้หวัน สุมาตรา ชวา บาหลี เกาะบอร์เนียวเนปาล เกาหลี กัมพูชา บางส่วนของฟิลิปปินส์ และภาคตะวันออกของจีน

หากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรงบางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง

จัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least concern; LC) ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Red List, 2008) และเป็นชนิดพันธุ์ที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีสัตว์หมายเลข 2 ของอนุสัญญาการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ (CITES)

ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลงจำนวน 2 ตัว บริเวณบ้านบึงตะคต

แมวดาวไม่ควรนำมาเลี้ยงดูเพราะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ที่กินเนื้อจะมีความดุร้ายเมื่อโตเต็มวัย กรงเล็บอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บและติดเชื้อได้

ที่มา : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)