สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

แพทย์แนะสังเกต 3 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก

15 ก.ย. 2565 | 18:25 น.
แพทย์แนะสังเกต 3 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะสังเกต 3 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก เพื่อได้รับการรักษาทันท่วงที

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลว่าโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นในเด็กทุกกลุ่มอายุ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กโรคหัวใจควรทราบถึงชนิดของโรคหัวใจชนิดนั้นๆ รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในยาที่เด็กได้รับ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนและสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพามาพบแพทย์

แพทย์แนะสังเกต 3 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจในเด็กสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง

โดยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพบในเด็ก 8 คน จาก 1,000 คน ซึ่งเด็กเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางคนทราบตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ส่วนใหญ่ตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด ส่วนน้อยที่อาการไม่ชัดเจนอาจตรวจพบในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ ซึ่งบางโรคแสดงอาการตั้งแต่เป็นเด็กแรกเกิดหรือบางกลุ่มโรคเด็กมีอาการตอนโต

สำหรับโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง มีสาเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น โรคหัวใจรูมาติก เกิดจากไข้รูมาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียน โรคคาวาซากิ มักพบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปี อาจพบการโป่งพองของเส้นเลือด เกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจวายจากการขาดวิตามินบี 1 ซึ่งหากรับประทานอาหารครบหมู่จะสามารถป้องกันโรคหัวใจนี้ได้

 

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็กนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัย แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตอาการดังต่อไปนี้

1. อาการหายใจหอบเหนื่อยง่าย

2. อาการเล็บหรือตัวเขียว

3. อาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ

ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแต่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติก็ควรได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ ทั้งนี้ โรคโดยส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) เมื่อกุมารแพทย์โรคหัวใจตรวจวินิจฉัยพบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจชนิดใดแล้ว จะสามารถวางแผนการรักษาโดยการให้ยารักษา การทำหัตถการเพื่อซ่อมแซมความผิดปกติ หรือการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาเด็กที่เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น ผลการรักษาดีขึ้น

แพทย์แนะสังเกต 3 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจในเด็ก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

แมลงสาบชอบกินอะไร  เผยอาหารยอดฮิตที่ดึงดูดแมลงสาบให้บุกบ้าน

แมลงสาบชอบกินอะไร เผยอาหารยอดฮิตที่ดึงดูดแมลงสาบให้บุกบ้าน

ใครชอบกินระวัง แตงกวามีทั้งประโยชน์และโทษ ที่คุณไม่เคยรู้

ใครชอบกินระวัง แตงกวามีทั้งประโยชน์และโทษ ที่คุณไม่เคยรู้

เตือน! แกงถุงควรกินให้หมดครั้งเดียว หลีกเลี่ยงอันตรายจากการอุ่นซ้ำ

เตือน! แกงถุงควรกินให้หมดครั้งเดียว หลีกเลี่ยงอันตรายจากการอุ่นซ้ำ

หมอปลาย เตือนปีชง ครึ่งปีนี้แรง ต้องระวัง อาจถึงขั้นต้องขึ้นศาล

หมอปลาย เตือนปีชง ครึ่งปีนี้แรง ต้องระวัง อาจถึงขั้นต้องขึ้นศาล

ขึ้นทางด่วนฟรี วันหยุดกรกฎาคม 2568 ยกเว้นค่าทางด่วน 3 สาย

ขึ้นทางด่วนฟรี วันหยุดกรกฎาคม 2568 ยกเว้นค่าทางด่วน 3 สาย