เปิดประวัติ วันสารทไทย วันสารทเดือนสิบ มีความเป็นมาอย่างไร

25 กันยายน 2565

วันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ เป็นเทศกาลทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ วันสารทไทย 2565 ตรงกับวันไหน และมีความสำคัญอย่างไร ไปดูกันค่ะ

วันสารทไทย หรือ ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็น ประเพณีไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันหาดูได้ไม่มาก เป็นประเพณีทางภาคใต้ของไทย ที่จัดขึ้นในช่วงเดือนที่ตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือ แรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นเองคะ 

เปิดประวัติ วันสารทไทย วันสารทเดือนสิบ มีความเป็นอย่างไร

สารทไทยมีอะไรบ้าง

กิจกรรมวันสารทไทย ก็คือ การนำข้าวปลาอาหาร ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการตักบาตรจะแต่งต่างกันแล้วแต่ท้องถิ่น เช่น ตักบารตน้ำผึ้ง ที่มีเฉพาะชาวไทยมอญ การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้นมีความเชื่อว่าเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นก็คือมีการถือศีล ฟังธรรมเทศนา ปล่อยนกปล่อยปลา

วันสารทไทยวันไหน

วันสารทไทย 2565 หรือ ประเพณีสารทเดือนสิบ ในปี 2565 นี้ ตรงกับ วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน 2565

ประเพณีสารทคนไทยนิยมทำอะไร

วันสารท เป็นวันที่ถือความเชื่อกันว่า ต้องทำบุญให้ญาติผู้ล่วงลับจะมีโอกาสได้กลับมารับบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นหากมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้นั้นผู้ล่วงลับจะได้รับบุญเต็มๆ และมีโอกาสหมดหนี้กรรมและได้ไปเกิดหรือมีความสุขต่อไป

สารทไทยมีอะไรบ้าง วันสารทไทยวันไหน เปิดประวัติ วันสารทไทย วันสารทเดือนสิบ มีความเป็นอย่างไร

ชิงเปรตเพื่ออะไร

ชิงเปรต” เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันใน วันสารท เดือน 10 เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันใน ประเพณีสารทเดือน 10 นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ 

ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

พุทธศาสนิกชนทางภาคใต้ จะมีการนำ ขนมเดือนสิบ เข้าวัดทำบุญตาม “ประเพณีวันสารทเดือนสิบ” บุญแรก เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ วันนี้ถือเป็นวันรับตายาย วันนี้ ที่ 25 กันยายน 2565 บรรยากาศตามวัดต่างๆ ในทางภาคใต้ จะเป็นไปอย่างคึกคัก พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสืบสาน งานบุญสารทเดือนสิบ ตามประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อร่วมทำบุญครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี หรือที่เรียกว่า รวมญาติสารทไทย โดยการจัดข้าวของต่างๆ ทั้งอาหรคาวหวานไปทำบุญละการจัดหมุรับหรือสำรับที่ทำจากขนม 5 อย่างที่ขาดไม่ได้ ประกอบด้วย 

  • ขนมพอง 
  • ขนมลา 
  • ขนมกง หรือ นมไข่ปลา 
  • ขนมดีซ้ำ 
  • ขนมบ้า 

นอกจากนั้น ยังได้มีการแยกสำหรับอาหารสำหรับถวายพระและสำหรับตั้งที่ชิงเปรต เพื่อนำไปวางไว้ที่ศาลาเปรต หรือหลาเปรต ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์แล้ว เพื่อให้ชาวบ้านและเด็กๆ ร่วมกันทำกิจกรรม ชิงเปรต ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่สร้างความสนุกสนานอย่างมาก

สารทไทย วันสารทไทย2565 สารทเดือนสิบ2565 ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ประเพณีชิงเปรต